svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไทยเตรียมประกาศปลอด "กาฬโรคแอฟริกาในม้า” ภายในปีนี้

08 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไทยเตรียมประกาศ “ปลอดกาฬโรคแอฟริกาในม้า” ยื่นเรื่องถึงองค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือ WOAH เพื่อประเมิน คาดรู้ผลภายในปี 2566

ไทยเตรียมประกาศปลอด "กาฬโรคแอฟริกาในม้า” ภายในปีนี้ 8 กุมภาพันธ์ 2566 จ่อประกาศ “ปลอดกาฬโรคแอฟริกาในม้า นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์การเกิดกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) ในปี 2563 และประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 ในพื้นที่ 17 จังหวัด มีสัตว์ป่วย 610 ตัว และตาย 568 ตัวนั้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
เชื้อที่ก่อให้เกิด "กาฬโรคแอฟริกาในม้า"

นางสาวรัชดา กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร รายงานความคืบหน้าการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness : AHS) ในไทย หลังจากที่ไม่มีรายงานพบกาฬโรคแอฟริกาในม้าในประเทศไทยมากว่า 2 ปีแล้ว ว่า ขณะนี้ กรมปศุสัตว์ กรมการสัตว์ทหารบก องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำข้อมูลเพื่อขอรับรองการปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) เรียบร้อยแล้ว 

ทั้งนี้ ยื่นเรื่องขอคืนสถานภาพปลอดโรค AHS เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งต้องรอให้คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ทางด้านโรคสัตว์ (Scientific committee) ของ WOAH ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร หากผ่านการพิจารณาประเทศไทยจะได้รับสถานะลอดกาฬโรคแอฟริกาในม้าอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2566 นี้ 
รัชดา ธนาดิเรก

“เมื่อไทยปลอดโรค AHS แล้ว จะส่งผลให้ไทยสามารถจัดการแข่งขันกีฬาขี่ม้าระดับนานาชาติรายการต่างๆ ได้ รวมทั้งกิจการการนำเข้า ส่งออกสัตว์กลุ่ม Equids จะสามารถดำเนินการได้ตามปกติภายใต้ข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ รวมถึงจะทำให้สามารถเคลื่อนย้ายม้าระหว่างประเทศได้ตามปกติ อันจะส่งผลต่อการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับบุคลากรทุกภาคส่วน” นางสาวรัชดา ย้ำ

แผนที่แสดงพื้นที่การระบาดของโรค African horse sickness ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548-ม.ค. พ.ศ.2554

สำหรับ โรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness : AHS) เกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม family Reoviridae genus Orbivirus เชื้อนี้ถูกยับยั้งได้ด้วยความร้อน มากกว่า 140°F สารละลายฟอร์มาลิน ß-propriolactone อนุพันธ์ของ acetylethyleneimine หรือ การฉายรังสีและถูกทำลายได้ด้วยความเป็นกรดด่างที่ pH น้อยกว่า 6 หรือมากกว่า 12 

นอกจากนี้สามารถใช้น้ ายาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น 2% กรดอะซิติก หรือ กรดซิตริก ในการฆ่าเชื้อโรคได้

สำหรับอาการแสดงของโรคกาฬโรคในม้า มี 4 รูปแบบ ดังนี้

  • แบบไม่รุนแรง สัตว์จะมีอาการซึม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้ต่ำๆ เป็นอยู่ประมาณ 2 – 3 วัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในม้าลาย หรือลาแอฟริกา การที่ไม่มีอาการแสดงออกที่ชัดเจนจึงทำให้เป็นพาหะในการแพร่เชื้อไปให้กับม้าตัวอื่นๆ ได้ แต่สัตว์ที่ป่วยแบบไม่รุนแรงมักจะหายจากอาการป่วยได้
  • แบบเฉียบพลันรุนแรง สัตว์จะมีไข้สูงได้ถึง 40 องศาขึ้นไป มีอาการหายใจลำบาก ไอ มีน้ำมูก เป็นฟองสีเหลืองขุ่นออกจากปากและจมูก  และจะเสียชีวิตได้ค่อนข้างไวภายในไม่กี่วัน
  • แบบกึ่งเฉียบพลัน สัตว์จะมีไข้สูง หายใจลำบาก จากนั้นจะเสียชีวิต แต่อาการป่วยจะช้ากว่าแบบเฉียบพลันรุนแรง
  • แบบเฉียบพลัน สัตว์จะแสดงอาการทั้งระบบทางเดินหายใจและปอด มีอัตราการตายค่อนข้างสูงถึง 100%

ไทยเตรียมประกาศปลอด "กาฬโรคแอฟริกาในม้า” ภายในปีนี้

ขอบคุณข้อมูล :

logoline