svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"วาริน สังข์ปล้อง" ต้นแบบ Smart farmer เพิ่มศักยภาพชาวนา สร้างรายได้สู่ชุมชน

21 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"วาริน สังข์ปล้อง" เกษตรกรต้นแบบบ้านเลม็ด เพิ่มศักยภาพอาชีพทำนา สร้างรายได้สู่ชุมชน ผลสำเร็จเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ Smart farmer

21 ธันวาคม 2565 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี นายสันติภาพ ทองอุ่น หัวหน้ากลุ่มถ่ายทอดวิทยาการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักเล็งเห็นความสำคัญ ในกลุ่มผู้ผลิตข้าวของ "กลุ่มลุงริน" ซึ่งเป็นจุดเรียนรู้ในเรื่องของการแปรรูป อาทิ เรื่องการเสริมสร้างองค์ความรู้ ในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดร่วมกัน ในพื้นที่ก็ดี หรืออาจจะเป็นตลาดนอกพื้นที่ก็ดี

เพื่อให้ข้าวของลุงริน ได้มีการจำหน่ายมีรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในของข้าวลุงรินเอง และในบริบทพื้นที่ชุมชนของลุงรินอีกด้วยเพื่อเพิ่มศักยภาพเกษตรกร ให้สามารถใช้นวัตรกรรมสำหรับการผลิต และการตลาด สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร 
"วาริน สังข์ปล้อง" ต้นแบบ Smart farmer เพิ่มศักยภาพชาวนา สร้างรายได้สู่ชุมชน

นายวาริน สังข์ปล้อง เกษตรกรปราดเปรื่อง ผู้ผลิตข้าวตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  กล่าวว่า ตนมีความเชี่ยวชาญด้านการปลูกข้าวมากกว่า 10 ปี ปัจจุบันปลูก ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมนิล ข้าวสังข์หยด ไว้จำหน่ายทั่วทุกภูมิภาค และรับประทานเองภายในชุมชน ภายใต้แบรนด์ "ข้าวลุงริน" ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยมีเทคนิคง่าย ๆ ในการปลูกข้าว จัดการนาข้าว เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณภาพสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีในทุก ๆ ปี ให้กับกลุ่มสมาชิกผู้ปลูกข้าวของลุงริน คือ หลังจากที่เกษตรกรชาวนา หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแล้ว จนครบระยะเวลา 100 วัน ซึ่งเป็นระยะข้าวออกรวงเต็มที่ ช่วงนี้ให้เริ่มทำการสังเกตต้นข้าว ถ้าต้นข้าวต้นไหน มีรวงสูงสุด และรวงต่ำสุด หรือมีต้นข้าวชนิดอื่นปนอยู่ด้วย ให้ทำการถอนออกให้หมด ให้เหลือไว้เฉพาะต้นข้าว ที่มีรวงเสมอกัน วิธีการนี้ก็จะทำให้เกษตรกร มีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ 

"วาริน สังข์ปล้อง" ต้นแบบ Smart farmer เพิ่มศักยภาพชาวนา สร้างรายได้สู่ชุมชน
 

นายวาริน กล่าวว่า และข้อดีของพื้นที่ อำเภอไชยา หรือ เรียกว่า บ้านทุ่งนาทราย เป็นลักษณะทุ่งนา พื้นนาเป็นทราย เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะพัดพาน้ำที่นำตะกอน ลงมาในนา จึงทำให้ดินในพื้นที่อำเภอไชยา อุดมสมบูรณ์ปลูกข้าว ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ

อีกทั้งลุงรินยังมีกระบวนการจัดการผลผลิตข้าว หลังการเก็บเกี่ยวอย่างทันสมัยและแม่นยำ โดยใช้เทคโนโลยีเก็บเกี่ยว และการนำเมล็ดข้าวอบลดความชื้น เพื่อให้ได้   14-15 % และเก็บสต็อกไว้ เมื่อถึงเวลานำทยอยออกมาแปรรูป เข้าสู่ขั้นตอนการสี ไม่ว่าลูกค้าต้องการเป็นข้าวขาว หรือข้าวกล้อง ก็สามารถสีให้ได้

อีกทั้งในขั้นตอนการจัดการผลผลิต ต้องพิถีพิถันในการคัดแยก เม็ดกรวดเม็ดทราย แยกเม็ดหักออก แล้วนำมาใช้บรรจุภัณฑ์ แพ็คสูญญากาศ ที่สามารถเก็บได้ในระยะ 1 ปี เพื่อนำมาจำหน่าย โดยมีสมาชิกกลุ่ม เมื่อว่างจากการทำนา ก็จะมาร่วมกิจกรรมช่วยกันทำการแปรรูปข้าวให้กับลุงริน  ซึ่งจะจัดทำให้ตามออร์เดอร์ ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ก็จัดทำทุกวันเพื่อบริการลูกค้า


"วาริน สังข์ปล้อง" ต้นแบบ Smart farmer เพิ่มศักยภาพชาวนา สร้างรายได้สู่ชุมชน  

นอกจากนี้ ลุงวาริน สังข์ปล้อง ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การทำนาข้าวให้ประสบผลสำเร็จนั้น ควรดูแล ทุกขั้นตอน เพื่อจะได้ผลผลิตของข้าวที่ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพตรงกับความต้องการของเกษตรกร จนได้รับการยอมรับจากตลาดจำหน่ายข้าว หรือความนิยมจากผู้บริโภค ซึ่งเกษตรกรชาวนา จำเป็นที่จะต้องดูแลเอาใจใส่นาข้าวเป็นพิเศษ เพื่อผลผลิตที่จะออกมาในอนาคต และนี้ก็คือ ความสำเร็จ ของคุณลุงวาริน ในอาชีพชาวนา หลังจากได้เข้าร่วม โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Smart farmer ด้วยการยกระดับข้าวไทย 

"วาริน สังข์ปล้อง" ต้นแบบ Smart farmer เพิ่มศักยภาพชาวนา สร้างรายได้สู่ชุมชน

logoline