svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"โกดังพลุมูโนะ" บึ้ม วัตถุไวไฟซุกกลางชุมชน "5 หน่วยงานรัฐ" ยังเงียบ?

02 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายงานพิเศษ เหตุการณ์ "โกดังพลุมูโนะ" ระเบิด วัตถุไวไฟสุดอันตรายซุกกลางชุมชน "5 หน่วยงานรัฐ" ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ทำไมยังเงียบ ?

2 สิงหาคม 2566 เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ และจับตาเป็นอย่างมาก กรณีเหตุการณ์ "โกดังพลุระเบิด" พื้นที่ ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ บาดเจ็บ 121 ราย มีบ้านเรือนประชาชน เสียหาย 292 หลังคาเรือน เปรียบเสมือน "ระเบิดลูกใหญ่" ที่อยู่กลางประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

\"โกดังพลุมูโนะ\" บึ้ม วัตถุไวไฟซุกกลางชุมชน \"5 หน่วยงานรัฐ\" ยังเงียบ?
 

คำถามที่สังคมอยากรู้คือ ทำไมถึงปล่อยให้มีวัตถุอันตรายเช่นนี้อยู่กลางชุมชน? ชาวบ้านรู้แต่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองกลับไม่รู้ และใครบ้างที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้? 

ทั้งนี้ ไม่ว่าการเคลื่อนย้าย และเก็บวัตถุไวไฟอันตรายล็อตนี้ จะได้รับอนุญาตจากทางราชการ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงอย่าง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า หรือไม่ก็ตาม แต่หากพิจารณาระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ยืนยันได้เลยว่า พลุมรณะล็อตนี้ มีส่วนหนึ่งส่วนใดผิดกฎหมายอย่างแน่นอน 
\"โกดังพลุมูโนะ\" บึ้ม วัตถุไวไฟซุกกลางชุมชน \"5 หน่วยงานรัฐ\" ยังเงียบ?
 

คำถามคือใครต้องรับผิดชอบ?  

ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 กำหนดให้ “พลุ” “ดอกไม้ไฟ” หรือ “ดอกไม้เพลิง” เป็นวัตถุอันตราย โดยจัดเป็น วัตถุระเบิด ชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีดินปืนเป็นส่วนประกอบหลัก 

ฉะนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้สถานประกอบการ หรือโรงงานผลิตต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชม และได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยทุกขั้นตอน   

ที่สำคัญไม่อนุญาตให้ดัดแปลงที่พักอาศัยเป็นโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟ

ส่วนประกอบหลักของพลุและดอกไม้ไฟ เกิดจากการผสมกันของสารเคมีหลากหลายชนิด ที่สำคัญ หากมีความร้อนหรือประกายไฟเกิดขึ้น จะเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง

ตามประกาศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม (เป็น 5 หน่วยงานที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบและตรวจสอบ) เรื่อง หลักเกณฑ์การควบคุมและการกำกับ ดูแลการผลิต การค้า การครอบครอง การขนส่งดอกไม้เพลิงและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตดอกไม้เพลิง พ.ศ. 2547 ในส่วนของการผลิตมีข้อบังคับคือ
\"โกดังพลุมูโนะ\" บึ้ม วัตถุไวไฟซุกกลางชุมชน \"5 หน่วยงานรัฐ\" ยังเงียบ?  

- กำหนดลักษณะของอาคาร สถานที่ หรือบริเวณที่ผลิตดอกไม้ไฟ ต้องไม่ตั้งอยู่ในชุมชน กำหนดระยะห่างจากอาคารอื่นๆ และห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 20 เมตรโดยรอบ 

- ต้องเป็นอาคารเอกเทศชั้นเดียว 

- ต้องติดสายล่อฟ้าที่มีประสิทธิภาพ 

- อาคารต้องสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ มั่นคง แข็งแรง ป้องกันไฟจากภายนอก ลุกลามเข้าภายในได้ พื้นต้องเป็นวัสดุ ที่ไม่ก่อประกายไฟ ราบเรียบ ไม่ลื่น ไม่แตก ทำความสะอาดง่าย ไม่ดูดซับของเหลว หรือสารเคมี ต้องถ่ายเทอากาศได้ดีและกำหนด

- ห้ามทำการใดๆหรือกิจการใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดประกายไฟหรือความร้อน เช่น การปรุงอาหาร การจุดธูปเทียน การเจาะ การเชื่อมและประสานโลหะหรือสิ่งอื่นใด เป็นต้น
\"โกดังพลุมูโนะ\" บึ้ม วัตถุไวไฟซุกกลางชุมชน \"5 หน่วยงานรัฐ\" ยังเงียบ?

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพของกราฟิก สถานที่เก็บพลุ และดอกไม้ไฟ เหล่านี้ จะเห็นว่า ไม่เพียงจะผิดกฎหมายอย่างชัดเจนเท่านั้น

แต่ยังอยู่ไม่ไกลจากสถานที่ราชการอย่าง สถานีตำรวจ และที่ทำการ อบต. มากนัก

โดยเมื่อนับระยะด้วยการเดิน โกดังพลุที่ระเบิด อยู่ห่างจากโรงพัก สภ.มูโนะ แค่ 9 นาที เท่านั้น ส่วน อบต.มูโนะ ใช้เวลาเดินแค่ 4 นาที 
\"โกดังพลุมูโนะ\" บึ้ม วัตถุไวไฟซุกกลางชุมชน \"5 หน่วยงานรัฐ\" ยังเงียบ?
 

logoline