svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"อภิสิทธิ์-เจษฎ์-สมชัย" ยากคาดเดา"ศาลรธน."ชี้ชะตา "พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส."

29 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"อภิสิทธิ์-เจษฎ์-สมชัย"ไม่ฟันธงผลคำวินิจฉัยศาลรธน."ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง" ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ มองปัญหาเกิดจากเนื้อหาไม่ชัดเจน สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบให้พรรคการเมือง

 

29 พฤศจิกายน 2565  สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้กำกับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประเทศไทย จัดโครงการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารทางการเมืองเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นการเสวนาในเรื่อง "กติกาเลือกตั้งใหม่ ใครได้ประโยชน์" โดยมี "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี , "นายสมชัย ศรีสุทธิยากร" อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.),  "นายเจษฎ์ โทณะวณิก" ประธานคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ ซึ่งในวงเสวนามีการพูดถึงการคาดเดาผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลคำวินิจฉัยออกมาในวันที่30 พ.ย.นี้ 

 

โดย "นายอภิสิทธิ์" กล่าวว่า ไม่อยากคาดเดา เพราะเนื้อหาในร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มีทั้งส่วนที่ขัดและไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่หากจะราบรื่นที่สุดคือชี้ว่าไม่ขัดแล้วเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง แต่คำวินิจฉัยต้องมีความชัดเจน เพราะหลายเรื่องที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีการถกเถียงมาตั้งแต่ต้น

 

 

เช่น การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก่อนร่างต้องมีโจทย์ว่าจะแก้ปัญหาอะไร ยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ถูกออกแบบมาให้พรรคการเมืองกับรัฐบาลเข้มแข็ง , ฉบับปี 50 ให้มีองค์กรอิสระควบคุม แต่รธน.ฉบับปี 60 ตั้งใจให้พรรคการเมืองเป็นเบี้ยหัวแตก และการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อบิดเบี้ยว ทางแก้ปัญหาคือ ต้องให้ ส.ส.ในสภาฯยืดหยุ่น และการคำนวณต้องเที่ยงตรง

 

อย่างไรก็ตาม แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่า ร่างดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นด้วยให้ใช้ทางออกด้วยการให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.เพื่อแก้ปัญหา เพราะอำนาจการออกกติกานี้ ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนด

 

ด้าน "นายเจษฏ์" กล่าวว่า การปรับแต่งระบบเลือกตั้งมันต้องคิดว่าเราจะเอาอะไร และต้องคิดให้อย่างรอบคอบว่าตอบสนองอะไร พอเริ่มแบบนี้มันจะเห็นภาพ ถ้าจะแก้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมต้องไปดูว่าอยู่ในมาตราไหนบ้าง และถ้าเห็นว่าร่างนั้นไม่สมบูรณ์ สภาต้องมีหน้าที่แก้ไข แต่สภากลับไม่แก้ไข  พอมาถึงกลางทาง ปล่อยให้เกิดปัญหาคือ วาระแรกเอาสูตรหาร 100 วาระสองเอาสูตรหาร 500 และวาระ 3 ตัดสินใจไม่ได้ ส.ส. เลยไม่มาออกเสียง

 

"อภิสิทธิ์-เจษฎ์-สมชัย" ยากคาดเดา"ศาลรธน."ชี้ชะตา "พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส."

 

"แต่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญถ้าบอกว่าขัด ก็อาจจะบอกว่ามันขัดรายมาตราไหนบ้าง แต่นั่นไม่ใช่หน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญเองจะสามารถบอกได้ไหมว่า เพราะรัฐธรรมนูญมันขัดกันเองจึงต้องไปแก้ที่รัฐธรรมนูญ" นายเจษฎ์ กล่าว 

 

ด้าน"นายสมชัย  ศรีสุทธิยากร" อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า พรุ่งนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสิน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ให้ผ่านเหมือนกับพ.ร.ป.พรรคการเมือง คือผ่าน และดำเนินการต่อไปสู่การเลือกตั้ง หรือตัดสินเหมือนกันในเชิงเนื้อหาคือพ.ร.ป.พรรคการเมือง เป็นกฎหมายที่เอื้อกับพรรคเล็กและพรรคใหญ่ทำงานลำบาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ก็จะตัดสินให้เอื้อพรรคเล็กและให้พรรคใหญ่ทำงานลำบากนั้นก็คือไม่ผ่าน ถ้าผ่านพรรคการเมืองขนาดใหญ่ก็จะได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างแท้จริง อย่างพรรคเพื่อไทยจะได้บัญชีรายชื่ออย่างน้อย 30 คน ขึ้นไป

 

"อภิสิทธิ์-เจษฎ์-สมชัย" ยากคาดเดา"ศาลรธน."ชี้ชะตา "พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส."

 

พร้อมเสนอแนวทางให้นายกรัฐมนตรีถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ไม่ผ่านสิ่งแรกที่ต้องทำคือเชิญกกต.มาหารือว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร และต้องเสนอร่างกฎหมายใหม่โดยคณะรัฐมนตรี ในทันที และเป็นหน้าที่ของสภาฯต้องเร่งพิจารณาร่างกฎหมายให้เร็วที่สุดภายใน180 วัน แต่ถ้าสภาทำไม่เสร็จ ก็ต้องหาทางออกเช่น พ.ร.ก.หรือออกเป็นคำสั่งประกาศ ซึ่งถ้าออกประกาศคำสั่ง กกต.อาจจะต้องรับผลที่ตามมา แต่ถ้าวาระ1 รับหลักการแล้ว ก็เอาร่างในวาระหนึ่งมาใช้เป็นกติกาการเลือกตั้ง

logoline