svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ "14​ ตุลา 16"

14 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คนเดือนตุลา รัฐบาล ฝ่ายค้าน ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ "14​ ตุลา 16" จุดเริ่มต้นของ​ "ประชาธิปไตย" ชลน่าน รับผ่านมา 49 ประเทศไทยยังไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง

14 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า​ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา​ ที่​บริเวณอนุสรณ์สถาน​ 14​ ตุลา​  แยกคอกวัว​ ถ.ราชดำเนิน​ กรุงเทพฯ​ ได้มีการจัดกิจกรรมรำลึกในโอกาส ครบรอบ 50​ ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 16  โดยในเวลา 07.30 น. มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 14 รูป​  จากนั้นในเวลา 08.30​ - 09.00 น. เป็นพิธีกรรมศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม​

 

และในเวลา 09.00​ -​ 10.00 น. เป็น​พิธีวางพวงมาลา - กล่าวรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  โดยมี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้แทนญาติวีรชน 14 ตุลา ผู้แทนฝ่ายประชาธิปไตยและแรงงาน ผู้แทนชาวบ้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน ผู้แทนเยาวชน นิสิต จุฬา​นักศึกษา เข้าร่วม
 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : "ภูมิธรรม"โพสต์รำลึกวีรชน 14 ตุลาฯ จุดเริ่มการต่อสู้เพื่อ ปชต. 

 

 

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ \"14​ ตุลา 16\"

 

 

จากนั้นเวลา 10.45​ - 11.35 น. จะเป็นอ่านบทกวี “50 ปี 14 ตุลา” โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา ตามด้วยปาฐกถา 14 ตุลาประจำปี 2565 ครั้งที่ 21 หัวข้อ “14 ตุลา 16 ปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์สังคมไทยได้แค่ไหน” โดย พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกล และปิดท้าย ปัจฉิมกถา นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิ 14 ตุลา 

 

 

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ \"14​ ตุลา 16\"

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี มอบพวงมาลาและกล่าวรำลึก กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์อันสำคัญ ระบอบการปกครอง ที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีสิทธิเสรีภาพ เสมอภาพ และภราดรภาพ และการมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น เคารพการเห็นค่าในการพยายามให้ได้มา ซึ่งประชาธิปไตยของปวงชน จากวันนั้น ถึงวันนี้ครบรอบ 49 ปี 14 ตุลาฯ ถือเป็นโอกาสอันดี ที่เราทั้งหลายได้ระลึก เหตุการณ์ดังกล่าว ทำอย่างไรให้ใช้สิทธิเสรีภาพ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และประเทศชาติให้ยั่งยืน และขอรำลึกถึงวีรชน 2516 และสืบสานอุดมการณ์อันแน่วแน่ของประชาธิปไตย

 

ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ยกคำพูดของ นายภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ที่กล่าวว่า 14 ตุลาฯ วันประชาธิปไตย วันแห่งชัยชนะของพี่น้องประชาชน ขอคาราวะ การต่อสู้ของพวกท่าน ที่เป็นจุดเริ่มต้น ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งมีประชาชนทั้งประเทศ เข้ามาร่วมต่อสู้ ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจไม่รู้ลืม เพราะการต่อสู้ 14 ตุลาฯ ในวันนั้น เป็นไปเพื่อใฝ่หาประชาธิปไตย ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง 

 

นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ขอน้อมรำลึกถึงประติมากรรมอันล้ำค่า อนุสรณ์ และขอรำลึกถึงรูปลักษณ์ประชาธิปไตยอันมี จะเป็นเพียงรูปแบบทางการสรรค์สร้างว่า เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเรารู้อยู่แกใจว่า ยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่การต่อสู้ 49 ปี เชื่อมั่นว่า ทุกอนูของหัวใจพี่น้องคนไทย ได้ถูกฝังแน่น ครบรอบ 50 ปี ในปีหน้า วันแห่งประชาธิปไตย การรำลึกถึงอนุสรณ์สถาน จะมีขึ้นในทุกที่ เพื่อมารำลึกถึงสมบัติชาติของทุกคน เป็นการต่อสู้ที่ไร้ความรุนแรง เพื่อสิทธิเสรีภาพ

 

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ \"14​ ตุลา 16\"

สำหรับเหตุการณ์ 14​ ตุลา 16 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ตัวอย่างแห่งการต่อสู้กับเผด็จการ เพื่อเรียกร้องให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย โดย 14 ตุลา 16 เป็นเหตุการณ์การต่อสู้ ของกลุ่มนักศึกษา และประชาชน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อ 49 ปีก่อน

 

เริ่มต้นจาก 5 ตุลาคม 2516 สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ราว 20 คน แถลงข่าวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่สนามหญ้าอนุสาวรีย์ทหารอาสา โดย นายธีรยุทธ์ บุญมี เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ขณะนั้น แจงถึงวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ผ่าน 6 โครงการรรณรงค์ เพื่อให้รัฐบาลออกรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน

 

6 ตุลาคม 2516 กลุ่มนักศึกษาชุมนุม ที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา เริ่มเดินแจกใบปลิว เรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน ขณะเดินแจกใบปลิวอยู่ที่ประตูน้ำ ตำรวจนครบาลและตำรวจสันติบาล ได้จับกุมกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จำนวน 11 คน ประกอบไปด้วย อาจารย์ กลุ่มนิสิต นักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ และนักการเมือง ข้อหา มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน ตามประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 4 นำไปคุมขังที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน ตำรวจไม่ให้ประกันและห้ามเยี่ยม

 

7 ตุลาคม 2516 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) แถลงการณ์คัดค้านการจับกุม บ่ายวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้จับกุม นักศึกษา ม.รามคำแหง เป็นผู้ต้องหารรายที่ 12 และแจ้งข้อหาเช่นเดียวกับ 11คน ที่ถูกจับกุมไปก่อน ศนท. ได้เจราจาต่อรองเพื่อให้มีการปล่อยตัวทั้งหมด แต่ได้รับการปฎิเสธ

 

8 ตุลาคม 2516 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรง เรียกร้องให้นักศึกษา ออกมาชุมนุมในเวลา13.00 น. เพื่อไปเยี่ยมผู้ถูกจับกุม วันเดียวกันตำรวจสันติบาล ออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.นครพนม ในข้อหาอยู่เบื้องหลังกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ อ้างว่า พบเอกสารลัทธิคอมนิวนิสต์ ยุยงให้ประชาชนล้มล้างรัฐบาลจอมพลถนอม

 

9 ตุลาคม 2516 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโปสเตอร์ ประกาศงดสอบ ชักชวนให้ชุมนุมที่ลานโพธิ์ ประณามการกระทำของรัฐบาล ศ.สัญญา ธรรมสักดิ์ อธิการบดี เรียกประชุมคณาจารย์ พิจารณาข้อเรียกร้องให้เลื่อนสอบออกไปก่อน มหาวิทยาหลายแห่งออกมาเคลื่อนไหว ทั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาแพทยศาสตร์ศิริราช

ช่วงเวลา 2 ทุ่ม จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครอง ควบคุมผู้ถูกจับ 13 คน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ของรัฐบาลว่า ทั้งหมดกระทำการอันเป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชน

 

ในช่วง 10 - 13 ตุลาคม 2516 นักเรียน นักเรียนอาชีวะ นักศึกษา นิสิต ในกรุงเทพฯจากหลายสถาบัน ทยอยมาชุมนุมที่ลานโพธิ์ ในต่างจังหวัดมีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล เรียกร้องให้ประชาชนผนึกกำลังกัน เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คนเป็นอิสระ

 

สถานการณ์ ชุมนุมตลอดทั้ง 4 วัน การจราจรในกรุงเทพฯ ติดขัดอยางหนัก โดยเฉพาะเส้นทางที่จะมุ่งหน้าสู่ธรรมศาสตร์ เพราะคลาคล่ำไปด้วยขบานของนักเรียนและนักศึกษา ที่ในสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ มีผู้มาชุมนุมเป็นเรือนแสน

 

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ \"14​ ตุลา 16\"

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ \"14​ ตุลา 16\"

 

 

14 ตุลาคม 2516 นักเรียน นิสิต นักศึกษา เคลื่อนขบวนจากลานพระรูปทรงม้าไปรวมตัวกันที่ธรรมศาสตร์ ผู้ชุมนุมเข้ายึดกรมประชาสัพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติราชการ (ก.ต.ป.) ขณะจอมพลถนอม อ่านแถลงการณ์ผ่านวิทยุกระจายเสียง เจ้าหน้าที่จะเข้าระงับสถานการณ์อย่างเด็ดขาด และในธรรมศาสตร์มีการซ่องสุมอาวุธ การจราจลเป็นไปตามแผนการคอมนิวนิสต์ สถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน ช่วง 10.00-17.00 น. ตลอดถนนราชดำเนินและบางลำภู

 

เวลา 17.20 น. จอมพลถนอม ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการแถลงผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ทุกช่อง ฝ่ายนักศึกษาได้ทยอยมาชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ราว 3 หมื่นคน ซึ่งผลจากเหตุการณ์มีผู้เสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857 คน ข่าวการต่อสู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยในครั้งนั้น สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก และเป็นตัวอย่างการต่อสู้กับเผด็จการจากขบวนการนักศึกษาในหลายประเทศ
 

 

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ \"14​ ตุลา 16\"

คนเดือนตุลา รัฐบาล ร่วมจัดงานรำลึก​ครบรอบ 49 ปี เหตุการณ์ \"14​ ตุลา 16\"

logoline