svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สภาฯ ตุรกีผ่านกฎหมาย 'Fake news' เล่นงานสื่อ-โซเชียล

14 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาผู้แทนราษฎรของตุรกีลงมติผ่านกฎหมายก่อนการเลือกตั้ง ที่อาจจะเห็นผู้สื่อข่าวและผู้ใช้โซเชียลมีเดียต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 3 ปี โทษฐานเผยแพร่ 'Fake news'

ตุรกีได้ปรับแก้กฎหมายถึง 40 ฉบับ และแต่ละฉบับได้ลงมติแยกกัน แต่ทั้งหมดถูกเสนอโดยพรรคยุติธรรมและการพัฒนา (Justice and Development Party) หรือ  (AKP) ของประธานาธิบดีเรเซป ไทยิป เออร์ดวน ส่วนกฎหมายต่อต้านการเผยแพร่ 'Fake news' ถูกปรับแก้จากมาตรา 29 เดิม แต่จะรัดกุมมากกว่าเดิม โดยกำหนดบทลงโทษสูงสุด 3 ปี ต่อผู้สื่อข่าวและผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่เผยแพร่ 'Fake news'

 

สภาฯ ตุรกีผ่านกฎหมาย 'Fake news' เล่นงานสื่อ-โซเชียล

 

สภายุโรประบุว่าคำจำกัดความที่คลุมเครือเกี่ยวกับ "การบิดเบือนข้อมูล" ที่มาพร้อมกับคำขู่เกี่ยวกับ "โทษจำคุก" อาจส่งผลกระทบให้เกิดการ "เซ็นเซอร์ตนเอง" และความรู้สึกไม่แน่ใจว่าอะไรที่พูดได้ หรือพูดไม่ได้ และอะไรที่เขียนได้หรือเขียนไม่ได้ (chilling effect) อย่างน้อยก็ในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน ปี 2566 

 

สภาฯ ตุรกีผ่านกฎหมาย 'Fake news' เล่นงานสื่อ-โซเชียล

ส.ส. บูรัค เออร์เบย์ ของพรรคประชาชนสาธารณรัฐ (CHP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้ใช้ค้อนทุบโทรศัพท์มือถือทิ้งในสภาฯ เพื่อพิสูจน์เห็นว่าเสรีภาพการแสดงความเห็นได้ถูกทำลายไปแล้ว โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว ซึ่งเขาได้บอกก่อนการลงมติว่า

 

"ผมอยากจะประกาศต่อน้อง ๆ ที่อายุ 15,16 และ 17 ปี และคนที่จะตัดสินชะตากรรมของตุรกีในปี 2566 ว่า พวกคุณมีเสรีภาพอย่างเดียวที่เหลืออยู่คือโทรศัพท์มือถือในกระเป๋า ที่มี Instagram, YouTube และ Facebook ที่คุณสื่อสารได้ แต่ถ้ากฎหมายผ่านในสภาฯ คุณก็ทำได้แค่ทำลายโทรศัพท์ของคุณแบบนี้แหละ"

 

 

  สภาฯ ตุรกีผ่านกฎหมาย 'Fake news' เล่นงานสื่อ-โซเชียล

หลังการรัฐประหารที่ล้มเหลวเมื่อปี 2559 หนังสือพิมพ์และช่องข่าวโทรทัศน์ส่วนใหญ่ของตุรกี อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐบาลและพันธมิตรภาคธุรกิจของพวกเขา ส่วนเครือข่ายสังคมออนไลน์และสื่อทางอินเตอร์เน็ตที่ยังเสรี ที่สร้างความระคายเคืองให้ประธานาธิบดีเออร์ดวนอย่างมาก จนกระทั่งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการกำหนดบทลงโทษที่บีบให้ยักษ์ใหญ่ด้านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook กับ Twitter ต้องแต่งตั้งตัวแทนท้องถิ่นที่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งศาลเพื่อลบโพสต์ที่ขัดแย้งได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตอนนั้นประธานาธิบดีเออร์ดวนอ้างว่า เป็นเพราะตุรกีมีสังคมสองขั้วที่รุนแรงและเปราะบางต่อข่าวที่ชักนำไปในทางที่ผิด และ 'Fake news' และเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เขาก็บอกว่า โซเชียลมีเดียได้กลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามหลักต่อประชาธิปไตยในปัจจุบัน

 

สภาฯ ตุรกีผ่านกฎหมาย 'Fake news' เล่นงานสื่อ-โซเชียล

 

 

logoline