svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

จับตามกุฎราชกุมารซาอุฯ เยือนไทยระหว่างประชุมเอเปก

10 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จับตาการประชุมเอเปกที่จะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ เมื่อมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบียมาเยือนไทยในฐานะผู้สังเกตการณ์ แต่มีความหมายถึงการฟื้นฟูความสัมพันธ์ครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี

การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC 2022) ที่ประเทศไทย นอกจากจะมีไฮไลต์สำคัญคือการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำในวันที่ 18-19 พฤศจิกายนแล้ว ยังมีเหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ต้องจับตามอง คือการเสด็จเยือนในฐานะผู้สังเกตการณ์ของ "เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน อัล ซาอุด" มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งซาอุดิอาระเบีย ที่ถือเป็นการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบียในรอบกว่า 30 ปี 

 

เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน อัล ซาอุด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งซาอุดิอาระเบีย

 

แหล่งข่าวระบุว่าการเสด็จเยือนประเทศไทยครั้งนี้ มกุฎราชกุมารหรือที่รู้จักกันในพระนามย่อ MBS จะมีคณะผู้ติดตามมาเป็นจำนวนมากถึง 800 คน ทำให้ต้องเหมาโรงแรมถึง 3 แห่ง และนับเป็นการต่อยอดหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียเมื่อวันที่ 25-26 มกราคม ตามคำเชิญของ MBS โดยเป็นการเยือนระดับผู้นำของ 2 ประเทศ ครั้งแรกในรอบ 32 ปี เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้งทางการทูต การต่างประเทศ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยวและแรงงาน ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าในความพยายามของฝ่ายไทยมายาวนาน ที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบีย 

 

จับตามกุฎราชกุมารซาอุฯ เยือนไทยระหว่างประชุมเอเปก

ย้อนรอยความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน

 

สาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบียขาดสะบั้นลง มี 3 สิ่งที่สำคัญ คือ...

 

 

1.กรณีฆาตกรรมนักการทูตซาอุฯ ในประเทศไทย ที่มีต้นตอจากความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับซาอุฯ หลังจากซาอุฯ สลายม็อบในช่วงพิธีฮัจญ์เมื่อ ค.ศ. 1987 จนทำให้ชาวอิหร่านที่เป็นผู้ก่อม็อบประท้วงรัฐบาลสหรัฐฯ กับอิสราเอล เสียชีวิตกว่า 200 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก นำไปสู่การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ ในหลายประเทศรวมทั้งไทย 

 

มูฮัมมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุฯ - เชื้อพระวงศ์อัล-ซาอุด

 

2. กรณีการอุ้มฆ่า มูฮัมมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุฯ ที่เป็นเชื้อพระวงศ์อัล-ซาอุด ที่หายตัวไปอย่างลึกลับ ทำให้ซาอุฯ ไม่พอใจถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย และห้ามชาวซาอุฯ เดินทางมาประเทศไทย และ ลดระดับความร่วมมือระดับสูงทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุด

 

นายเกรียงไกร เตชะโม่ง

 

3. กรณีคนงานไทย นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ลักลอบโจรกรรมเพชรจากพระราชวังกลับมาไทย และตำรวจไทยไม่สามารถติดตามเพชรของกลางหลายรายการส่งกลับคืนให้ซาอุฯ ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดที่ชื่อว่า "บลูไดมอนด์" และแม้ตอนแรกทางซาอุฯ จะยอมรับเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่หละหลวมทำให้เพชรถูกขโมย แต่เมื่อพบว่า เพชรที่ติดตามมาได้ถูกนำไปปลอมก่อนส่งคืน กลายเป็นความผิดพลาดของฝ่ายไทยที่ "ไม่อาจให้อภัยได้"

 

จับตามกุฎราชกุมารซาอุฯ เยือนไทยระหว่างประชุมเอเปก

 

 

แต่ถ้าชั่งน้ำหนักดูแล้ว กรณีที่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุฯ ที่ชัดเจนที่สุดคือ กรณีของอัล รูไวลี่ เพราะเขาเป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์อัล-ซาอุด ที่ถือเป็นบุคคลสำคัญของประเทศ และตามธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่าอาหรับ การถูกทำร้ายจนตายต้องชดใช้ด้วยชีวิตหรือชดเชยเป็นสินไหม การหายตัวอย่างไร้ร่องรอยของอัล รูไวลี่ ย่อมสร้างความโกรธแค้นให้แก่ชนเผ่าของเขา ทั้งยังยุ่งยากในเรื่องหลักการศาสนาและพิธีการต่าง ๆ เพราะเมื่อไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาตายหรือยัง ทำให้ยากต่อการแบ่งมรดก และภรรยาของเขาก็ไม่สามารถแต่งงานใหม่ได้ จนกว่าจะถึงกรอบเวลาที่ศาสนากำหนด 

 

จับตามกุฎราชกุมารซาอุฯ เยือนไทยระหว่างประชุมเอเปก

logoline