svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

เปิดจดหมายลับ 'ท้าวทองกีบม้า' เผย ทุกความทุกข์ยาก หลัง "ฟอลคอน" เสียชีวิตลง  

25 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เพจดังด้านประวัติศาสตร์ เปิดจดหมายลับ "ท้าวทองกีบม้า" ระบุว่าเป็น จดหมายฉบับจริง ที่ได้เขียนเล่าบรรยาย ระบายถึงทุกความทุกข์ยาก หลัง เจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอนเสียชีวิต ขอทวงเงินค่าหุ้นกับบริษัทฯ ที่สามีเคยร่วมลงทุน เรื่องนี้คอข่าวต้องไม่พลาด

กระแสแม่มาแรง แม่การะเกดยังปัง

สำหรับละครพีเรียดน้ำดีที่คอละครตั้งตารอชม "พรหมลิขิต" ชวนย้อนไปตอนที่ "ท้าวทองกีบม้า" หรือ "มารี กีมาร์" ที่แม่การะเกดเรียกติดปากว่า "แม่มะลิ" ในละครรับบทโดย "ซูซี่-สุษิรา แน่นหนา" ถูก "ก๊อต จิรายุ" ผู้ที่รับบท "กรมพระราชวังบวรฯ" หรือ พระเจ้าเสือ ที่มีพระประสงค์อยากได้นางมะลิมาเป็นภริยา แต่ทว่าท้าวทองกีบม้าไม่ยินยอม ทำให้พระเจ้าเสือสั่งขังนางที่คอกม้า

เปิดจดหมายลับ \'ท้าวทองกีบม้า\' เผย ทุกความทุกข์ยาก หลัง \"ฟอลคอน\" เสียชีวิตลง  
จากนั้น "ท้าวทองกีบม้า" หลบหนีออกจากคุก โดยได้รับการช่วยเหลือจากทหารฝรั่งเศส ที่สามีเธอเคยขอให้ช่วยเหลือไว้ แต่เธอก็ยังถูกขังในที่ๆ ทั้งชื้น เหม็น เต็มไปด้วยมูลสัตว์ โชคยังดีที่ "ขุนหลวงเพทราชา" มีใจสงสาร จึงปล่อยเธอไป เหตุการณ์นี้ทำให้ท้าวทองกีบม้า หรือ ม่มะลิ ได้กลับมาอยู่กับครอบครัว คือท่านพ่อ

เปิดจดหมายลับ \'ท้าวทองกีบม้า\' เผย ทุกความทุกข์ยาก หลัง \"ฟอลคอน\" เสียชีวิตลง  

ล่าสุด กระแสร้อนๆ บนโลกออนไลน์ 
เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม ได้มีการเปิดเผย จดหมาย ของ "ท้าวทองกีบม้า" (ฉบับจริง) ที่เล่าถึงเรื่องราวความทุกข์ยาก หลัง "ฟอลคอน" ตาย ลง 
โดยเนื้อหาในจดหมายระบุไว้ว่า

เปิดจดหมายลับ \'ท้าวทองกีบม้า\' เผย ทุกความทุกข์ยาก หลัง \"ฟอลคอน\" เสียชีวิตลง   จดหมายลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ค.ศ. ๑๗๐๖ (พ.ศ. ๒๒๔๙) ตรงกับรัชกาลของ ขุนหลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ เป็นจดหมายภาษาละตินที่ลงนามโดย D. Guimar de Pina นั้นคือชื่อของ มารี กีมาร์ หรือ ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เขียนถึงบาทหลวงฝรั่งเศสที่อยู่ ณ ประเทศจีนให้ได้ช่วยกราบบังคมทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ว่า

นับตั้งแต่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ถึงแก่กรรมแล้ว

ชีวิตของนางมีแต่ความทุกข์ยาก ไร้เกียรติและยากจนข้นแค้น จึงขอให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราชโองการให้บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสคืนเงินค่าหุ้นของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ที่ได้ลงทุนไว้กับริษัทให้กับตัวนาง

ต้นฉบับจดหมายฉบับนี้เก็บรักษาอยู่ ณ หอจดหมายเหตุกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ทางด้านอาจารย์ภูธร ภูมะธน ได้ขอสำเนามา เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗ 

ภาพสำเนาโดย อาจารย์ภูธร ภูมะธน (“ภาพจาก หนังสือการเมืองในประวัติศาสตร์ “ขนมหวาน” ของ ท้าวทองกีบม้า “มาดามฟอลคอน” “ขนมไทย” หรือ “ขนมเทศ” สำนักพิมพ์มติชน)

ชวนคอละครสายประวัติศาสตร์ มาย้อนอ่านประวัติเกร็ดชีวิต "ท้าวทองกีบม้า"

มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) หรือ "ท้าวทองกีบม้า" หรือ แม่มะลิ เธอเป็นสุภาพสตรี ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภรรยาของ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ตำแหน่ง "ท้าวทองกีบม้า" ว่ากันว่า นางได้ประดิษฐ์ขนมไทย ที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส ได้การยกย่องให้เป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าทำขึ้น ได้แก่ ทองม้วน, ทองหยิบ,ทองหยอด, ทองพลุ, ทองโปร่ง, ฝอยทอง, กะหรี่ปั๊บ, ขนมหม้อแกง, สังขยา, ขนมผิง, สัมปันนี, ขนมขิง, ขนมไข่เต่า, ลูกชุบ แต่ก็มีกระแสคัดค้านว่า ขนมโปรตุเกสเหล่านี้แพร่หลายมาพร้อมกับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า 150 ปีก่อนที่นางจะเกิดเสียอีก

เปิดจดหมายลับ \'ท้าวทองกีบม้า\' เผย ทุกความทุกข์ยาก หลัง \"ฟอลคอน\" เสียชีวิตลง  

"ท้าวทองกีบม้า"

เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส, เบงกอล และญี่ปุ่น เป็นธิดาคนโตของฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) บิดามีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว กับมารดาชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ ลูกหลานผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น

"ท้าวทองกีบม้า" ได้สมรสกับ "เจ้าพระยาวิชเยนทร์" (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชาวกรีก อันเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขณะนั้นที่นางมีอายุได้ 16 ปี บิดาไม่พอใจในพฤติกรรมและวัตรปฏิบัติของลูกเขยที่หลงลาภยศสรรเสริญและมักในโลกีย์นัก ฟอลคอน จึงแสดงความจริงใจด้วยยอมละนิกายแองกลิคันที่ตนนับถือ เปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตามมารีอา ฟานิกจึงเห็นแก่ความรักของคอนสแตนตินและยินยอมได้ทั้งสองสมรสกัน โดยมีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและขุนนางผู้ใหญ่เข้าร่วมงานมงคลสมรสดังกล่าวด้วย

 
"ท้าวทองกีบม้า" มีบุตรด้วยกันสองคน คือ "จอร์จ ฟอลคอน" (George Phaulkon) กับ "คอนสแตนติน ฟอลคอน" (Constantin Phaulkon) แต่ก่อนหน้านี้ ฟอลคอน มีบุตรสาวคนหนึ่งที่เกิดกับหญิงชาววังที่ได้รับพระราชทานจากกรมหลวงโยธาเทพเพื่อผูกมัดฟอลคอนไว้กับราชสำนัก โดยหลังสมรส ท้าวทองกีบม้า ส่งหญิงผู้นั้นไปยังเมืองพิษณุโลก และนำบุตรของหญิงผู้นั้นมาเลี้ยงเองเป็นอย่างดี นอกจากนี้ เธอและสามียังอุปถัมภ์เด็กเข้ารีตกว่า 120 คน

ตามหลักฐานระบุว่า ชีวิตรัก ชีวิตสมรส ชีวิตครอบครัวของ"ท้าวทองกีบม้า" ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก เหตุก็เพราะความเจ้าชู้ของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ที่นอกใจนางไปมีสัมพันธ์สวาทกับคลาร่า (Clara) นางทาสชาวจีนในอุปการะของเธอ มารีอาจึงขนข้าวของและผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยามาแล้วครั้งหนึ่ง

เปิดจดหมายลับ \'ท้าวทองกีบม้า\' เผย ทุกความทุกข์ยาก หลัง \"ฟอลคอน\" เสียชีวิตลง  

หลังจากที่ "เจ้าพระยาวิไชเยนทร์" หรือ "คอนสแตนติน ฟอลคอน" (สามีแม่มะลิ) ถูกประหารชีวิต และริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท้าวทองกีบม้าเจอมรสุมมากมาย จากที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์ มีสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องประสบเคราะห์กรรม และความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกขเวทนากับการถูกคุมขัง

จากนั้นถูกนำตัวไปเป็นคนใช้ในวัง ทั้งยังถูก "หลวงสรศักดิ์" พระโอรสใน "สมเด็จพระเพทราชา" พระเจ้าแผ่นดินใหม่ มีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นภริยา มีการส่งคนมาเกลี้ยกล่อมพร้อมคำมั่นนานัปการ หวังเอาชนะใจนาง เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็แปรเป็นความเกลียดชังและข่มขู่อาฆาต

"ท้าวทองกีบม้า" พยายามหาทางติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา "นายพลเดฟาร์ฌ" ที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ ที่บางกอก ได้ให้สัญญากับนางว่าจะพาออกไปพ้นกรุงสยาม แต่นายพลเดฟาร์ฌได้บิดพลิ้วต่อนาง แถมยังได้กักขังหน่วงเหนี่ยว จากนั้นประวัติของท้าวทองกีบม้าก็หายไปช่วงหนึ่ง และปรากฏอีกครั้งว่าท้าวทองกีบม้ากลับมายังกรุงศรีอยุธยา

หากมาดูในบันทึกของ "เมอซีเยอโชมง"

ชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาในปี พ.ศ. 2262-2267 ให้ข้อมูลว่าหลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าเสือ ชีวิตของ "ท้าวทองกีบม้า" กลับมาดีขึ้นโดยลำดับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้ เข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชากว่า 2,000 คน 

"ท้าวทองกีบม้า" ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต คืนเงินสู่ท้องพระคลังปีละครั้งมาก ๆ ทุกปี จนเป็นที่โปรดปรานในองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้ง "จอร์จ" บุตรชายของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดไว้ใกล้ชิดพระองค์ ดังปรากฏจากบันทึกของเมอซีเยอโชมง ความว่า


"...พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้หาจอร์จ บุตรของเมอซีเยอกงส์ต็องส์ แล้วโปรดให้แต่งตัวอย่างดี ๆ และรับสั่งให้นายจอร์จเรียนภาษาไทยเสียให้รู้ ได้โปรดให้เอานายจอร์จไว้ใช้ใกล้ชิดพระองค์ และได้โปรดเป็นครูด้วยพระองค์เอง สอนภาษาไทยให้แก่นายจอร์จ..."


ส่วนบุตรคนเล็กคือ "คอนสแตนติน" ได้สนองพระเดชพระคุณสร้างออร์แกนเยอรมันถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จากหลักฐานของมิชชันนารีฝรั่งเศส คอนสแตนตินถูกเรียกว่า ราชมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของชุมชนคริสตัง

ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศส ได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของ "ฟอลคอน" คืนแก่นางตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ ที่สุดหลังพ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย

ท้าวทองกีบม้า ได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลืออยู่ ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดโดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265

เปิดจดหมายลับ \'ท้าวทองกีบม้า\' เผย ทุกความทุกข์ยาก หลัง \"ฟอลคอน\" เสียชีวิตลง  
 

logoline