svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

"ท็อป จรณ" เล่าถึงช่วงมรสุมชีวิตป่วยหนัก สภาพจิตใจแย่เกือบเป็นซึมเศร้า

08 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ระวังให้ดี! อย่าทำงานจนหักโหมจนทำสุขภาพพังจนเหมือนดาราหนุ่มคนดังอย่าง "ท็อป  จรณ" ล่าสุดมาเปิดใจเล่าช่วงชีวิตที่ทุ่มเทให้งานจนป่วยและต้องรักษาตัวนานถึงกว่า 2 เดือน

 นักแสดงหนุ่มมากความสามารถ ท็อป  จรณ โสรัตน์  ล่าสุดออกมาเปิดใจถึงชีวิตการทำงานหลังก้าวสู่บทบาทใหม่ในฐานะนักแสดงอิสระ พร้อมเล่าถึงช่วงมรสุมชีวิตที่ป่วยเป็น “โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทขั้นรุนแรง” ต้องรักษาตัวนานถึงกว่า 2 เดือน ส่งผลให้สภาพจิตใจย่ำแย่เพราะต้องพักงานแสดง ต้องงดออกกำลังกาย รวมทั้งต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ จนเกือบทำให้ หนุ่มท็อป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นมาอีกโรคหนึ่ง

 

\"ท็อป จรณ\" เล่าถึงช่วงมรสุมชีวิตป่วยหนัก สภาพจิตใจแย่เกือบเป็นซึมเศร้า

 

โดยเจ้าตัวได้เผยว่า.....อาการป่วยที่เกิดขึ้นกับตนนั้น เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำซีรีส์แอ็กชันเรื่องหนึ่งอยู่ โดยเริ่มมีอาการปวดบริเวณต้นคอ จึงทานยาคลายกล้ามเนื้อ และยังออกกำลังกายตามปกติหลังจากนั้นเกิดอาการปวดรุนแรง จึงรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที “คุณหมอแนะนำให้ผมหยุดออกกำลังกายทุกประเภทก่อน ตอนนั้นผมก็ยอมรับว่าเคว้งคว้างเหมือนกัน จนเกือบจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า เพราะไม่ได้ออกกำลังกายเลย แต่เพื่อสุขภาพที่ดี ผมก็ต้องปฏิบัติตัวตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดครับ 

 

\"ท็อป จรณ\" เล่าถึงช่วงมรสุมชีวิตป่วยหนัก สภาพจิตใจแย่เกือบเป็นซึมเศร้า

ด้านคุณชลัท วินมูน ศัลยแพทย์ชำนาญการโรคกระดูกและข้อเผยที่ว่าสาเหตุที่ทำให้กระดูกทับเส้นประสาทในส่วนคอประกอบด้วย 2 ปัจจัย  ได้แก่ หมอนรองกระดูกเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เสียความยืดหยุ่น และทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เร็วและรุนแรงเกินไปจากการเล่นกีฬา เป็นต้น อาจทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน รวมถึงไส้ในหมอนรองกระดูกฉีกขาดได้

 

  \"ท็อป จรณ\" เล่าถึงช่วงมรสุมชีวิตป่วยหนัก สภาพจิตใจแย่เกือบเป็นซึมเศร้า

 

โดยอาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทขึ้นอยู่กับการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก รวมถึงขนาดของโพรงประสาทของแต่ละคน หากเกิดภาวะกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวด หรือมีความรู้สึกชาบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ กรณีถ้าอาการหนักมากอาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และลีบเล็กลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพมักพบมากในกลุ่มผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป รวมถึงกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบรวดเร็วและรุนแรง ส่วนวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ หากผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้ยาบรรเทาอาการควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด แต่ถ้าคนไข้มีภาวะการกดทับ เส้นประสาทขั้นรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้คนไข้เข้ารับการผ่าตัด เพื่อนำเนื้อในส่วนที่ถูกกดทับเส้นประสาทออกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

\"ท็อป จรณ\" เล่าถึงช่วงมรสุมชีวิตป่วยหนัก สภาพจิตใจแย่เกือบเป็นซึมเศร้า

 

ที่มารายการ “Rise & Shine

logoline