svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สรุปจบที่นี่ "การผลิตสุรา" ตามกฎกระทรวงล่าสุด เสรีแค่ไหน มีเงื่อนไขอย่างไร?

02 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปลดล็อก "การผลิตสุรา" ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (2 พ.ย.) เปิดโอกาสให้เข้าถึงการผลิตสุราได้มากขึ้น มีเงื่อนไขและรายละเอียดอย่างไร "เนชั่นออนไลน์"รวบรวมรายละเอียดไว้ที่นี่แล้ว

2 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ก่อนจะมีการประกาศ "กฎกระทรวง การผลิตสุรา พ.ศ. 2565" ลงในราชกิจจานุเบกษา ทันทีในช่วงค่ำวันเดียวกัน โดยกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ก่อนที่ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ

 

อ่านราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม : กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565

สรุปจบที่นี่ "การผลิตสุรา" ตามกฎกระทรวงล่าสุด เสรีแค่ไหน มีเงื่อนไขอย่างไร?

เมื่อพิจารณารายละเอียดระหว่าง กฎกระทรวงฉบับเดิม (พ.ศ.2560) และ ฉบับใหม่ พบว่าผู้ผลิตสุรารายใหม่ สามารถเข้าสู่ธุรกิจสุราได้ง่ายขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายเล็ก ปลดล็อกทั้งในเรื่องทุนจดทะเบียนและกำลังการผลิตขั้นต่ำ สามารถยกระดับสุราชุมชนจากขนาคเล็กไปสู่ขนาดกลาง ตามจุดประสงค์ของการแก้เงื่อนไขการผลิตสุราในครั้งนี้

เมื่อเปรียบเทียบกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 กับ พ.ศ.2565 พบว่า เดิมไม่มีการกำหนดกฎกระทรวงเพื่อใช้สำหรับ "การผลิตสุรามิใช่เพื่อการค้า" แต่ล่าสุด กฎกระทรวงพ.ศ. 2565 ระบุว่า "ใบอนุญาตผลิตสุราที่ไม่ใช่เพื่อการค้า ให้ผู้ได้รับอนุญาตสามารถผลิตสุราในครัวเรือนได้"

 

ในส่วนของ เบียร์ หรือ คราฟเบียร์ กฎกระทรวงฉบับใหม่ จะแบ่งเป็นโรงเบียร์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 

 โรงเบียร์ขนาดเล็ก กฎกระทรวงใหม่ ระบุว่า 

  • ยกเลิกทุนจดทะเบียน (กฎกระทรวงเดิมกำหนด ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท 
  • ยกเลิกกำลังการผลิต (กฎกระทรวงเดิมกำหนด กำลังการผลิต 1 แสนลิตร - 1 ล้านลิตรต่อปี)
  • เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ผลิตสุราที่มีมาตรฐานตามที่กรมสรรพามิตกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง (กฎกระทรวงเดิมกำหนด เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%)

 

 โรงเบียร์ขนาดใหญ่ กฎกระทรวงใหม่  ระบุว่า

  • ยกเลิกทุนจดทะเบียน (กฎกระทรวงเดิมกำหนด ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท 
  • ยกเลิกกำลังการผลิต (กฎกระทรวงเดิมกำหนดไม่ต่ำกว่า 10  ล้านลิตรต่อปี)
  • เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ใช้ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทางราชการ และจัดทำรายงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  (กฎกระทรวงเดิมกำหนด เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%)

สรุปจบที่นี่ "การผลิตสุรา" ตามกฎกระทรวงล่าสุด เสรีแค่ไหน มีเงื่อนไขอย่างไร?

 

ขณะที่ สุราแช่ขนาดใหญ่ กฎกระทรวงใหม่ระบุว่า 

  • เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง (กฏกระทรวงเดิมกำหนด เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ผู้ถือหุ้นสัญชาติไม่น้อยกว่า 51%) 

ในส่วนของ สุรากลั่นและสรุแช่ที่ไม่ใช่เบียร์ขนาดเล็ก กฎกระทรวงใหม่ระบุว่า 

  • โรงสุรากลั่นและสุราแช่ที่ไม่ใช่เบียร์ขนาดเล็กยังใช้หลักเกณฑ์เหมือนเดิมและถ้าผลิตสุรามาแล้ว 1 ปี โดยไม่มีการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพาสามิต สามารถขยายขนาดโรงงานไม่ต่ำกว่า 50 แรงม้า (กฏกระทรวงเดิมกำหนด ต้องเป็นสหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน/องค์กรเกษตรกร ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัท/ใช้เครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า) 

สรุปจบที่นี่ "การผลิตสุรา" ตามกฎกระทรวงล่าสุด เสรีแค่ไหน มีเงื่อนไขอย่างไร?

เมื่อกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ได้ปลดล็อกเงื่อนไขในการผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ หรือ “คราฟเบียร์เสรี” (Craft Beer) ด้วยการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุราพ.ศ. 2560 คำถามต่อมาเมื่อกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ที่ต้องการผลิต “คราฟเบียร์เสรี” ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขอะไร ถึงจะสามารถเป็นผู้ผลิตได้ โดยสาระสำคัญของกฎหมายได้ดังนี้..

 ผู้ประสงค์จะผลิตสุราเพื่อการค้า 

ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอต่ออธิบดี โดยผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิตสุราแช่เพื่อการค้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้..

1. กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์ หรือ “คราฟเบียร์” และสุราแช่ชนิดอื่น ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและต้องมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 

2. กรณีสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต้อง มีลักษณะดังนี้

  • เป็นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือ
  • เป็นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน หรือ
  • เป็นองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
  • เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท จำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
     

3. กรณีสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันที่ยื่นคำขอ 

 

ทั้งนี้ หากปรากฏว่าเคยมีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต จะขออนุญาตได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นโทษหรือวันที่ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบ แล้วแต่กรณี

 

สรุปจบที่นี่ "การผลิตสุรา" ตามกฎกระทรวงล่าสุด เสรีแค่ไหน มีเงื่อนไขอย่างไร?

 

 ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า  

ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งเอกสาร หรือหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอต่ออธิบดี โดยผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยคำขอรับใบอนุญาต อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เลขประจำตัวประชาชนหรือเลขทะเบียนนิติบุคคลของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
  • แผนที่หรือพิกัดแสดงที่ตั้งของสถานที่จะใช้ผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า
  • รายละเอียดของเครื่องกลั่นสำหรับผลิตสุรา ชนิดสุราที่จะผลิต ส่วนผสมหรือส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิต ขั้นตอนการผลิต และปริมาณการผลิต
  • คำยินยอมให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเข้าถึงข้อมูล
     

ทั้งนี้เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตซึ่งอธิบดีมอบหมายตรวจสอบรายละเอียดในคำขอ รวมทั้งเอกสารและหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบ

ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า คำขอรับใบอนุญาตเป็นไปตามข้อกำหนด และสถานที่ที่จะผลิตสุรามีพื้นที่เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรืออาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น และมิใช่สถานที่ผลิตสุราของผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรารายอื่น ให้มีคำสั่งอนุญาตและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบเป็นหนังสือ และให้มาชำระค่าธรรมเนียม

ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า คำขอไม่เป็นไปตามกำหนด ให้มีคำสั่งไม่อนุญาตและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ให้ระบุเหตุผลของการไม่อนุญาตรวมทั้งแจ้งสิทธิอุทธรณ์ การยื่นอุทธรณ์ และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบด้วย

ให้อธิบดีพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตและมีเอกสารและหลักฐานครบถ้วนแล้ว

หากผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้าผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราต่อเนื่องจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายใน 90 วันก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ

สรุปจบที่นี่ "การผลิตสุรา" ตามกฎกระทรวงล่าสุด เสรีแค่ไหน มีเงื่อนไขอย่างไร?

ขอบคุณข้อมูล : 

 

 

logoline