svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ย้อนรอยคดี 12 ปี ซ้อมทรมาน"พลทหารวิเชียร" ศาลทหารพิพากษาตัดสิน

24 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การเสียชีวิตของ "พลทหารวิเชียร เผือกสม" เป็นคดีครึกโครมเมื่อปี 2554 ญาติต่อสู้ขอความเป็นธรรมมาอย่างยาวนาน ผ่านมาถึง 12 ปีเต็ม ความยุติธรรมคดีจะลงเอยอย่างไร "ศาลทหาร" มณทลทหารบกที่ 46 นัดฟังคำพิพากษาของคดี 25 ตุลาคมนี้

24 ตุลาคม 2566 เฝ้ารอความเป็นธรรมมา 12 ปี กับการเสียชีวิตจากการซ้อมทรมาน "พลทหารวิเชียร" นายวิเชียร เผือกสม ที่เพิ่งจบการศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สมัครทหารเกณฑ์ จากนั้น นายทหารยศร้อยโท พร้อมพวก รวม 10 นาย ซ้อมทรมาน จนเสียชีวิตระหว่างฝึกซ้อมทหารใหม่ใน ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2554

ล่าสุด  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก "Cross Cultural Foundation (CrCF)" ระบุว่า..

‘ความยุติธรรม’ กับคดีพลทหารวิเชียร เผือกสม จะได้รับมันหรือไม่? 
วันที่ 25 ตุลาคมที่จะถึงนี้ พวกเรามาร่วมกันฟังคำพิพากษาของคดี พลทหารวิเชียร เผือกสม พร้อมกัน ที่ ศาลมณทลทหารบกที่ 46 เวลา 09.00 น. ว่าพลทหารวิเชียร เผือกสม ครอบครัวและญาติของพลทหารจะได้รับความยุติธรรมหลังจากที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมตลอด 13 ปีที่ผ่านมาหรือไม่ 

ย้อนรอยคดี 12 ปี ซ้อมทรมาน\"พลทหารวิเชียร\" ศาลทหารพิพากษาตัดสิน
ที่มา >>

ย้อนรอยคดี 12 ปี ซ้อมทรมาน\"พลทหารวิเชียร\" ศาลทหารพิพากษาตัดสิน
    ย้อนรอยคดีซ้อมทรมาน "พลทหารวิเชียร"    
นายวิเชียร เผือกสม เคยอุปสมบทเป็น พระภิกษุ ศึกษาจนจบชั้นปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ผลการเรียนเกียตินิยมอันดับ 1 ต่อมา สำเร็จระดับปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผลการเรียนดีเยี่ยม

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 นายวิเชียร ได้สมัครเข้ารับการเกณฑ์ทหารและเข้าฝึกที่หน่วยฝึกทหารใหม่ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เริ่มต้นเส้นทาง "พลทหารวิเชียร" ผลัด 1/2554 นับตั้งแต่นั้น
วิเชียร เผือกสม
ต่อมา วันที่ 1 มิถุนายน 2554 "พลทหารวิเชียร" ได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยเจ้าหน้าที่ทหาร 10 นาย ยศตั้งแต่ "ร้อยโท" ลงมา ได้ร่วมกันทำร้ายร่างกาย โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้าย อ้างว่า พลทหารวิเชียร หลบหนีการฝึก กระทั่งวันที่ 5 มิถุนายน 2554 ได้เสียชีวิตที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส ด้วยวัยเพียง 26 ปี

การเสียชีวิตของนายทหารวิเชียร เป็นที่ข้องใจของทางครอบครัวอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพศพนั้นหน้าของทหารวิเชียรถูกกระแทกกับของแข็งจนฟันหักและซี่โครงเดาะ แพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจาก "ไตวายเฉียบพลัน จากกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง"

สภาพร่างของ พลทหารวิเชียร พบบาดแผลและความบอบช้ำตามร่างกาย ซึ่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายหลัง พบว่า เกิดจากการถูกตบหน้า ให้กินพริกสดกับข้าว ถูกกระทืบ ใช้เกลือทาแผล ให้นั่งบนก้อนน้ำแข็ง ใช้ผ้าขาวห่อตัวเหลือแค่ใบหน้าในลักษณะมัดตราสังข์เหมือนศพ ร่างกายถูกทำร้ายจนร่างกายบอบช้ำอย่างหนัก 
งานศพของ พลทหารวิเชียร เมื่อปี 2554

   "เมย์" ผู้ทวงถามความเป็นธรรมให้น้าชาย   
"เมย์" น.ส.นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ คือ ตัวละครที่ทำหน้าที่ทวงความยุติธรรมให้กับ "พลทหารวิเชียร" น้าชายแท้ๆ โดยเมื่อปี 2554 เมย์ ยังเป็นเพียงนักศึกษาปี 2 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่เดินสายไปยื่นหนังสือติดตามความคืบหน้าทางคดี ทวงความยุติธรรมให้กับน้าชายที่ถูกซ้อมทรมานในค่ายทหารจนเสียชีวิต 

เมย์ นริศราวัลย์ เดินหน้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ทั้งในกองทัพและบุคคลสำคัญ ทั้ง ผบ.พล.ร.15, แม่ทัพภาคที่ 4, ผบ.ทบ. เรื่องราวตกเป็นข่าวตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ

สุดท้ายคดีก็ไม่มีความคืบหน้า แต่กลับถูกดำเนินคดีจากคู่กรณี นายทหารยศ "ร้อยโท" ฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท และผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถูกนำหมายของศาลจังหวัดนราธิวาส บุกจับถึงที่ทำงานสังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเธอไม่เคยได้รับหมายเรียกก่อนแต่อย่างใด โดยสุดท้ายถูกยกฟ้องทั้งสองข้อหาในเวลาต่อมา

เมย์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า..

"ไม่ย่อท้อที่จะทำความจริงให้ปรากฏ ยืนหยัดในความเป็นจริง ยืนยันไม่ใช่เรื่องความแค้นส่วนตัว แต่ทำเพื่อให้ความยุติธรรมปรากฏ คนผิดต้องไม่ลอยนวลให้เติบโตในราชการ ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบต่อไปได้ รวมทั้งจะต้องไม่มีเหยื่อเพิ่มขึ้นมาอีก"

เดินหน้าทวงความเป็นธรรมให้น้าชาย กระทั่งถูกฟ้องดำเนินคดี
   ไทม์ไลน์ ทวงความยุติธรรม "พลทหารวิเชียร"   
เมย์ นริศราวัลย์ เดินหน้าทวงความเป็นธรรมให้ "พลทหารวิเชียร" กระทั่งวันที่ 8 กรกฎาคม 2558 คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้ส่งหนังสือแจ้งการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีการเสียชีวิตของ พลทหารวิเชียร เผือกสม ระบุว่า..

ระหว่างควบคุมของครูฝึกในหน่วยฝึกของค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ ในสังกัด ร.151 พัน.3 ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ร้อยโทหนึ่งนาย กับพวกรวม 10 คน ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และประมวลกฎหมายอาญาทหาร พ.ศ. 2473 มาตรา 30 (4) โดยจะมีการส่งสำนวนคดีไปยังพนักงานอัยการต่อไป

ข้อเท็จจริงตามบันทึกของหลานสาว ที่เกี่ยวกับอาการบาดเจ็บ และสาเหตุนั้นสอดคล้องกับรายงานผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกองทัพภาคที่ 4 ที่ กห 0448/2463 ฉบับลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 ดังนั้น มารดาของพลทหารวิเชียร ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดต่อหน่วยงานต้นสังกัด

เนื่องจากเป็นกรณีละเมิดในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยครูฝึก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของกองทัพบกได้ทำร้ายร่างกายพลทหารวิเชียร จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิต โดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาทนายความ และจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นทนายความโจทก์และดำเนินการร่วมกับโจทก์ตลอดมา

โดยเป็นคดีความแพ่ง คดีเลขดำที่ 2072/2555 ศาลแพ่ง ระหว่างนางประเทือง เผือกสม โดยนางสาวนริศราวัลณ์ แก้วนพรัตน์ ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ กับ กระทรวงกลาโหมที่ 1 กองทัพบก ที่ 2 สำนักนายกรัฐมนตรีที่ 3 เป็นจำเลย ข้อหาหรือฐานความผิดละเมิดเรียกค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  เป็นจำนวนทุนทรัพย์ 18,067,193 บาท 57 สตางค์ ลงวันที่ฟ้องเมื่อ 24 พฤษภาคม 2555 แต่ทั้งนี้คดีความแพ่งดังกล่าวสามารถไกล่เกลี่ยกันได้

ทั้งนี้ 21 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลแพ่ง ได้พิพากษาให้คดีความเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความคดีความหมายเลขแดง 596/2557 ตามที่กองทัพบกยอมจ่ายเงินค่าเสียหายจำนวน 7,049,213 บาท โดยหักเงิน 5 แสนบาทที่จ่ายไปก่อนหน้านี้ จ่ายเพิ่มประมาณ 6.5 ล้านบาท ให้กับครอบครัวของ พลทหารวิเชียร ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 
ย้อนรอยคดี 12 ปี ซ้อมทรมาน\"พลทหารวิเชียร\" ศาลทหารพิพากษาตัดสิน
   เดินหน้าฟ้อง คดีอาญา ทางความเป็นธรรม   
แม้ว่าจะได้รับความเป็นธรรมทางสินไหมทดแทนในคดีแพ่ง แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือ การดำเนินคดีอาญา กับ ข้าราชการทหาร โดยตลอดระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของพื้นที่ พนักงานอัยการทหาร 

ทั้งนี้มักจะมีเหตุอ้างว่า จำเป็นจะต้องรอการตรวจสอบ และชี้มูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการขัดขืน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติการส่งสำนวนการสอบสวนไปให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช.

นริสราวัลณ์ ขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. โอนคดีความดังกล่าวนี้ไปยัง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม หรือ ป.ป.ท. เนื่องจากตำแหน่งทางราชการของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งมีหน้าที่ทางราชการต่ำกว่ายศพันตรีลงมา อยู่ในอำนาจการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ท. จนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้โอนสำนวนคดีความดังกล่าวให้กับ ป.ป.ท. ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมาย และรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 หนังสือขอให้การเร่งรัดอีกฉบับได้ไปพร้อมกับเอกสารสำนวนคดีความกลับไปยังศาลมณฑลทหารบกที่ 42  ทั้งนี้เพราะในความผิดฐานร่วมกันฆ่าโดยมิได้เจตนา แต่ร่วมกันทำร้ายร่างกาย โดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290, 83 มีโทษสถานหนักกว่า ความผิดฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์การไต่สวน และชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ท.

ลักษณะของการร่วมกันทำร้ายร่างกายโดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย จนเป็นเหตุให้พลทหารวิเชียร เผือกสมถึงแก่ความตายนั้น ได้มีหลักฐาน พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานแวดล้อมและอื่นๆ ยืนยันการกระทำความผิดที่ชัดเจน อีกทั้งคดีความแพ่ง ทางครอบครัวได้รับเงินสินไหมทดแทน 7,049,213 บาท จากหน่วยงานต้นสังกัดแล้ว

แต่ในคดีทางอาญายังไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 10 นาย ยังคงโดนลงโทษแค่เพียงทางวินัย และได้กลับมาเป็นครูฝึกทหารเช่นเดิม มิหน้ำซ้ำผู้ถูกกล่าวหาบางนายยังได้เลื่อนขั้นตำแหน่งทางราชการในยศที่สูงขึ้นแล้วอีกด้วย แต่ทั้งนี้เนื่องจากกฏหมายที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ราชการจึงไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นจำเป็นจะต้องรอการดำเนินการชี้มูลความผิดในมาตรา 157 ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
ย้อนรอยคดี 12 ปี ซ้อมทรมาน\"พลทหารวิเชียร\" ศาลทหารพิพากษาตัดสิน
   9 ปีที่รอคอย ป.ป.ท. สรุปสำนวนส่ง อัยการศาลทหาร   
ในส่วนของคดีอาญา ใช้ระยะเวลาการดำเนินคดียาวนานมาก โดยคดีนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ ป.ป.ท. ซึ่งสรุปสำนวนส่งไปยังอัยการศาลทหาร รวมระยะเวลา 9 ปี ยื่นคำฟ้องต่อศาลทหาร เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 และยังคงอยู่ในกระบวนการดำเนินคดีมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 23–24 มิถุนายน 2565 ศาลมณฑลทหารบกที่ 46 ได้นัดสืบพยานในคดีดำที่ 41 ก./2563 คดี "พลทหารวิเชียร เผือกสม" ถูก ร้อยโทภูริ เพิกโสภณ กับเจ้าหน้าที่ทหารรวม 9 คน เป็นจำเลยกรณีรุมซ้อมทรมาน มีพยานบุคคลเข้าให้ถ้อยคำจำนวนมาก

สำหรับการสืบพยานทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย มีมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • วันที่ 23-24 มิถุนายน 2565 สืบพยาน จำนวน 4 ปาก
  • วันที่ 21-23 กันยายน 2565 สืบพยาน จำนวน 4 ปาก 
  • วันที่ 23–25 พฤศจิกายน 2565 สืบพยาน จำนวน 6 ปาก
  • วันที่ 25–27 มกราคม 2566 สืบพยาน จำนวน 5 ปาก
  • วันที่ 22-24 มีนาคม 2566 สืบจำเลยยศ "ร้อยโท" กับพวก และพยานโจทก์

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 ศาลมณฑลทหารบกที่ 46 ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ได้มีการสืบพยานโจทก์เพียงจำนวน 2 ปาก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญขึ้นเบิกความในนัดดังกล่าว เหตุเพราะพยานโจทก์อีก 3 ปาก ซึ่งเป็นทหารที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุนั้นไม่ได้เดินทางมาที่ศาลตามนัดและไม่สามารถติดต่อให้มาเบิกความที่ศาลได้ 

นอกจากนี้จำเลยที่ 1-3 ได้แก่ หัวหน้าครูฝึก 1 ปาก ผู้ช่วยครูฝึก 1 ปาก และครูนายสิบ 1 ปากตามลำดับ ได้นำส่งคำเบิกความก่อนวันนัดสืบพยานดังกล่าว
ย้อนรอยคดี 12 ปี ซ้อมทรมาน\"พลทหารวิเชียร\" ศาลทหารพิพากษาตัดสิน
ศาล แถลงว่า ได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว แต่เนื่องจากคดีนี้เป็นระบบไต่สวน ศาลอาจมีการนัดสืบพยานเพิ่มเติมหากยังคงมีข้อสงสัยในประเด็นใดระหว่างการเขียนคำวินิจฉัย โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 สิงหาคม 2566

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงกำหนด 25 สิงหาคม 2566 ปรากฏว่า ศาลได้แจ้งให้คู่ความทราบในวันนัด ว่า มีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ จึงให้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคม 2566

ความยุติธรรมของ "พลทหารวิเชียร" จะเป็นเช่นใด 25 ตุลาคมนี้ คงต้องติดตามแบบไม่กระพริบตา !!
ย้อนรอยคดี 12 ปี ซ้อมทรมาน\"พลทหารวิเชียร\" ศาลทหารพิพากษาตัดสิน

logoline