svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

"เลือกตั้ง66" เช็กด่วน 77 จังหวัด เขตไหนมีส.ส.กี่คนตามฐานข้อมูล"ราษฎรปี65"

เช็กด่วน!ศึก"เลือกตั้ง66" กกต.คำนวณจำนวน ส.ส. 400 เขต ทั่วไทย จังหวัดไหน มีส.ส.จำนวนกี่คน ตามฐานข้อมูลราษฎร ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2565

7 มกราคม 2566  ผู้สื่อข่าว"เนชั่นทีวีออนไลน์" รายงานว่า การเตรียมความพร้อมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในการรับ"ศึกเลือกตั้ง66" คืบหน้าตามลำดับ โดยภายหลัง " สำนักทะเบียนกลาง" กรมการปกครอง" กระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565  ตามมาตรา 45 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร 2534 ประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร  แยกเป็น"กรุงเทพมหานคร"และจังหวัดต่างๆแล้วนั้น ยังได้มีการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลคำนวณส.ส.

 

ทั้งนี้ จากฐานข้อมูลราษฎร  ตามที่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นำเสนอ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ใช้ฐานข้อมูลราษฎร ประจำปี 2565  ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนราษฎร 66,090,475  คน  ทำให้มีการคำนวณ จำนวน ส.ส. 400 คน  คิดในอัตราเฉลี่ยประชากร 165,226,1875 คน  ต่อ ส.ส. 1 คน                   

 

โดยปรากฎตารางการคำนวณ ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2564  เรียงตามเศษ ราษฎรที่มากสุด  ข้อมูลราษฎร ณ  วันที่ 31 ธันวาคม 2565  เป็นดังนี้

 

 

ตารางการคำนวณ ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2564  เรียงตามเศษ ราษฎรที่มากสุด  ข้อมูลราษฎร ณ  วันที่ 31 ธันวาคม 2565

\"เลือกตั้ง66\" เช็กด่วน 77  จังหวัด เขตไหนมีส.ส.กี่คนตามฐานข้อมูล\"ราษฎรปี65\"

ตารางการคำนวณ ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ. 2564  เรียงตามเศษ ราษฎรที่มากสุด  ข้อมูลราษฎร ณ  วันที่ 31 ธันวาคม 2565

\"เลือกตั้ง66\" เช็กด่วน 77  จังหวัด เขตไหนมีส.ส.กี่คนตามฐานข้อมูล\"ราษฎรปี65\"

\"เลือกตั้ง66\" เช็กด่วน 77  จังหวัด เขตไหนมีส.ส.กี่คนตามฐานข้อมูล\"ราษฎรปี65\"

 

\"เลือกตั้ง66\" เช็กด่วน 77  จังหวัด เขตไหนมีส.ส.กี่คนตามฐานข้อมูล\"ราษฎรปี65\"

 

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ "นายแสวง บุญมี" เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต. )  เคยระบุว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งภายหลังกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศฐานข้อมูลราษฎรประจำปี 2565 แล้ว วิธีการคำนวณส.ส.เขตจะคิดจากจำนวนประชากรที่มีสัญชาติไทย หารด้วยจำนวนเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะมีส.ส.เขตทั้งสิ้น 400 เขต คิดเป็นสัดส่วนจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ ผู้แทนฯ 1 คน  (ข้อมูล เมื่อปลายปี 2565) 

 

 

โดยมีหลักเกณฑ์อื่นๆดังนี้คือ


-จังหวัดที่มีประชากรน้อยกว่านี้ ให้มี ส.ส. เลย 1 คน โดยทั้งจังหวัดถือเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง

-จังหวัดที่มีประชากรเกินจำนวนนี้ ให้มี ส.ส. ได้ 1 คน ทุกๆ จำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์

- ถ้าจัดสรรตาม 2 ข้อแรกแล้ว ส.ส. ยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดที่เหลือเศษจำนวนประชากรมากที่สุดจากข้อ 2 ได้ ส.ส. เพิ่ม 1 คน เรียงลำดับไปเรื่อยๆ

-การแบ่งเขตเลือกตั้งภายในจังหวัด ต้องจัดให้แต่ละเขตมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน

- อยู่ในอำเภอเดียวกัน แต่คนละตำบล อาจอยู่คนละเขตเลือกตั้งก็ได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>>>>

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเตรียมลงสมัครรับ"เลือกตั้ง66"  เริ่มออกมาเสนอความเห็นการแบ่งเขตเลือกตั้งไปยังกกต.แล้ว โดย "นายณัฎฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ"  ส.ส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า ตนเอง และ "พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาราเร่"  ส.ส. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส่งหนังสือถึงนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา ภายหลังที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้จำนวน ส.ส. สงขลา เพิ่มขึ้นเป็น 9 เขตเลือกตั้ง ทำให้ต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งกันใหม่ โดยอ้างอิงจากจำนวนประชากร วันที่ 31 ธันวาคม ก่อนปีการเลือกตั้ง

 

ทั้งนี้ บริบทของจังหวัดสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย มีพื้นที่ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม เป็น 2 พหุวัฒนธรรม จึงเสนอให้แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ดังนี้ เขตเลือกตั้งที่ 7 อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา (เฉพาะตำบลลำไพล ตำบลวังใหญ่) และ เขตเลือกตั้งที่ 8 อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา (ยกเว้นตำบลลำไพล และตำบลวังใหญ่)

 

หลังจากนี้ จึงอยู่ที่"กกต."เข้าสู่กระบวนการรับฟังความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาแบ่งเขตส.ส.ในแต่ละพื้นที่ต่อไป