svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ธปท. แจงเปิด 'ข้อมูล-นโยบาย' ต่อสาธารณะมาตลอด

03 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีที่นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์กับคณะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้รัฐสภาอันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ได้รับทราบแนวทางการดําเนินงานของ ธปท.

จากกรณีที่นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และประธานนโยบายพรรคประชาธิปัตย์กับคณะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้รัฐสภาอันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ได้รับทราบแนวทางการดําเนินงานของ ธปท. และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทาง ธปท. ขอชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว

 

1. การที่ ธปท. ไม่รายงานต่อสภา แสดงว่า ธปท. ไม่โปร่งใส จึงควรรายงานข้อมูลเศรษฐกิจการเงินและแนวนโยบายต่าง ๆ ต่อรัฐสภา เพื่อให้ สส. และประชาชนรับทราบข้อมูลโดยตรง รวมทั้งเปิดโอกาสให้รัฐสภาสามารถให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการทำงานของ ธปท. ได้

 

          ธปท. มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องรายงานข้อมูลสภาพเศรษฐกิจการเงินและแนวทางการดำเนินนโยบายที่หลากหลาย รวมทั้งหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อรับฟังความเห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการกำหนดให้รายงานสูงกว่าค่าเฉลี่ย

  1. ภายใต้ พ.ร.บ. ธปท.  ธปท. ต้องจัดทำรายงานต่าง ๆ เพื่อเสนอต่อ รมว. คลัง เพื่อรายงานต่อให้กับครม. อยู่แล้ว[1]เช่น รายงานสภาวะเศรษฐกิจและการเงิน (รายเดือน) รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงิน แนวนโยบายต่าง ๆ และผลการดำเนินงาน (รายครึ่งปี) รวมทั้งงบการเงิน สรุปผลการดำเนินงานของ ธปท. และเป้าหมายเงินเฟ้อ (รายปี)

                            

  1. ธปท. การเข้าชี้แจงประเด็น รวมทั้งหารือรับฟังความเห็น กับกรรมาธิการคณะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นประจำและแบบการเชิญเฉพาะกิจ โดย ธปท. ได้เข้าร่วมชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ธปท. ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐสภาเป็นประจำ และยังจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเปิดโอกาสให้คณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้ซักถามประเด็นต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ ปีละ 2 ครั้ง

 

3) สำหรับประชาชน ธปท. มีหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจและแนวนโยบาย  อย่างทันการณ์ ทั้งข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจและการตัดสินนโยบายต่าง ๆ อย่างทันท่วงทีต่อสาธารณชน  เช่น แถลงข่าวเศรษฐกิจรายเดือน แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน รวมถึงการสื่อสารทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ในรายละเอียด เช่น ผลกระทบของโควิดต่อเศรษฐกิจ การมองภาพเงินเฟ้อ การช่วยเหลือลูกหนี้ รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านทั้งสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ และช่องทางของ ธปท. เอง นอกจากนี้ ยังมีการรับฟังทั้งความเห็นของภาคธุรกิจและประชาชน เพื่อนำมาปรับปรุงหรือวางแนวนโยบายต่างๆ

ธปท. แจงเปิด 'ข้อมูล-นโยบาย' ต่อสาธารณะมาตลอด

 

2. ธนาคารกลางชั้นนำในหลายประเทศก็ต้องรายงานต่อสภาฯ เช่นกัน

              ธนาคารกลางมีหน้าที่ต้องรายงานต่อรัฐบาล หรือรัฐสภา เพื่อความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งการรายงานผลการดำเนินงานของธนาคารกลางส่วนใหญ่ กฎหมายมักจะกำหนดให้สัมพันธ์กับผู้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้ว่าการหรือกรรมการ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งเห็นชอบการแต่งตั้งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ  ซึ่งแตกต่างจากธนาคารแห่งประเทศไทย

              ธนาคารกลางที่กฎหมายกำหนดให้รายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐสภาโดยตรงมีจำนวนน้อย  โดยเพียงธนาคารกลางอินโดนีเซีย ที่กฎหมายระบุให้ชี้แจงต่อรัฐสภา ทุกไตรมาส  เช่นเดียวกับที่จะแก้ พ.ร.บ. ธปท. ในครั้งนี้ ขณะที่กัวเตมาลา แอลบาเนีย  อาร์มีเนีย  ฮังการี  และรัสเซีย  กฎหมายกำหนดให้ธนาคารกลางไปชี้แจงต่อรัฐสภาปีละ 1 - 2 ครั้ง ธนาคารกลางอีกส่วนหนึ่ง กฎหมายจะกำหนดให้รายงานและชี้แจงต่อชั้นคณะกรรมาธิการ เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ประธานจะชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการสภาผู้แทน

ธปท. แจงเปิด 'ข้อมูล-นโยบาย' ต่อสาธารณะมาตลอด

logoline