svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ลูกเขา+เมียใคร...สมควรหรือไม่ใช้อภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา

20 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ควันหลงจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องส่วนตัวและชีวิตครอบครัวของ "ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์" รัฐมนตรี ดีอีเอส จนมีการประท้วงกันอย่างหนัก และน่าจะยาวนานที่สุดของการซักฟอกหนนี้ 

จากประเด็นที่เกิดขึ้น ฝ่ายค้าน - อ้างว่าเป็นเรื่องจริยธรรม สามารถนำมาอภิปรายได้

 

ขณะที่ ส.ส.ฝากรัฐบาล - บอกว่าไม่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน การพูดในสภา กระทบถึงลูกของ รัฐมนตรี ซึ่งเป็นเด็ก และบุคคลภายนอก

 

โดย รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ให้ความเห็นต่อการนำประเด็นส่วนตัวมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า การทำงานหลักๆ ควรจะเป็นเรื่องที่รัฐแถลงนโยบายต่อสภา ดำเนินการเป็นอย่างไร

ส่วนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม ก็มีกระบวนการอยู่ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งควรยื่นต่อ ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือศาล วินิจฉัย เพราะหากนำเรื่องส่วนตัวเข้ามา จะกลายเป็นการเบี่ยงประเด็นหลัก คือ สาระในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ดีไม่ดี ทุจริตคอร์รัปชัน หรือไม่

 

"การอภิปราย คือ ลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจ ดังนั้น การเพิ่มเรื่องส่วนตัว ก็จะไม่ตรงประเด็นหลักเสียทีเดียว และไม่เช่นนั้น จะย้อนเหมือนสมัยรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่มีการพูดถึงเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งไม่สาระสำคัญ" รศ.ดร.ภูมิ ระบุ

ขณะที่ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า พฤติการณ์​ส่วนตัว คือ "ภาพลักษณ์" ของฝ่ายบริหาร ต้องเป็นตัวอย่างของประชาชน ซึ่งในต่างประเทศก็ให้ความสำคัญ เมื่อถูกเปิดโปง เปิดเผย ต้องลาออกก็มี เพราะเป็นเรื่องจริยธรรม

 

"แต่ต้องแยกกันว่า หากเป็นการแยกทางกับภรรยา แล้วไปคบผู้หญิงคนอื่น ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่ใช่การไปมีกิ๊ก ขณะที่ยังไม่เลิกกับภรรยา หรือไปหลอกหญิงอื่นว่ายังไม่มีภรรยา แบบนี้ถือว่าขัดจริยธรรม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดธรรมาภิบาล" ดร.ถวิลวดี กล่าว

logoline