svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

WHO เตรียมเปลี่ยนชื่อทางการให้โรคฝีดาษลิง

14 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

WHO เตรียมตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้โรคฝีดาษลิง หลังได้รับร้องเรียนว่า อาจนำไปสู่การตีตรา หรือการเลือกปฏิบัติแบบเดียวกับโควิด-19 ที่ถูกเรียกว่า ไวรัสอู่ฮั่น ที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของ WHO ที่ให้หลีกเลี่ยงการนำพื้นที่หรือสัตว์มาตั้งชื่อโรค

WHO เตรียมเปลี่ยนชื่อทางการให้โรคฝีดาษลิง

 

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนชื่อฝีดาษลิง (monkeypox) เมื่อจากนักวิทยาศาสตร์มากกว่า 30 ประเทศ กลัวว่าจะนำไปสู่การ "ตีตรา" หรือ "เลือกปฏิบัติ" หลังได้รับบทเรียนเรื่อง "การเหยียดเชื้อชาติ" จนเกิดกระแสความขัดแย้งรุนแรงมาแล้ว จากการที่คนทั่วโลกพากันเรียกโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไวรัสซาร์ส-โควี-ทู (Sars-CoV-2) จนติดปากว่า "ไวรัสจีน" หรือ "ไวรัสอู่ฮั่น" ทำให้ WHO ต้องตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019" หรือ "โควิด-19" ส่วนโรคฝีดาษลิง ก็ไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของ WHO ที่ให้หลีกเลี่ยงการนำชื่อพื้่นที่ทางภูมิศาสตร์หรือชื่อสัตว์มาตั้งเป็นชื่อโรค และโรคฝีดาษลิงก็พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลากหลายชนิด ส่วนแหล่งที่มาจริงๆ ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด

 

การเตรียมตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้แก่ฝีดาษลิง มีขึ้นท่ามกลางความวิตกที่มีผู้ติดเชื้อใน 28 ประเทศของสมาชิก 4 ภูมิภาคของ WHO ได้แก่ อเมริกา ยุโรป เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกและแปซิฟิกตะวันตก และคณะนักวิทยาศาสตร์ได้ส่งจดหมายถึง WHO มีใจความว่า ในบริบทของการระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน ได้มีการอ้างถึงและตั้งชื่อไวรัส 2 สายพันธุ์หลักว่า แอฟริกากลางกับแอฟริกาตะวันตก นอกจากจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแล้ว ยังเป็นการเลือกปฏิบัติและตีตราด้วย" ซึ่งโฆษกของ WHO ระบุว่า กำลังขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธพ็อกซ์ไวรัส (orthopoxviruses) ที่ครอบคลุมไวรัสฝีดาษลิงทั้งหมด เพื่อหาชื่อที่เหมาะสมมาตั้งอย่างเป็นทางการ

 

WHO เตรียมเปลี่ยนชื่อทางการให้โรคฝีดาษลิง

 

 

WHO เตรียมเปลี่ยนชื่อทางการให้โรคฝีดาษลิง

 

คำแนะนำร่วมกันของ WHO กับองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ยังมีชื่อโรคอื่นๆ ที่ขัดต่อแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน เช่น โรคไข้หวัดหมู (swine flu) ซึ่งการตั้งชื่อโรคควรทำโดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบด้านลบ และหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดความไม่พอใจ ไว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรม สังคม ระดับชาติ ระดับภูมิภาค วิชาชีพ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดๆ

 

ฝีดาษลิง เดิมเป็นโรคเฉพาะถิ่นในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางมานานหลายทศวรรษ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเล็ดรอดมาจากสัตว์ มากกว่าการติดต่อระหว่างคนสู่คน ในเคสที่เกิดการระบาดนอกแอฟริกา เช่น การระบาดที่สหรัฐฯ เมื่อปี 2546 พบว่า เกิดจากการที่สัตว์เป็นพาหะของไวรัส หรือมีการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ส่วนการระบาดในมนุษย์ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุ และระบาดจากการติดต่อสัมผัสที่ใกล้ชิด ซึ่งเป็นรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงจากการระบาดครั้งอื่นๆ ที่ผ่านมา

 

ส่วนเรื่องการตีตราที่นำไปสู่การเหยียดเชื้อชาตินั้น มีหลายกลุ่มได้เตือนเรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับฝีดาษลิง โดยเมื่่อเดือนพฤษภาค สมาคมสื่อต่างประเทศแห่งแอฟริกา ได้เรียกร้องให้สื่อตะวันตกเลิกใช้รูป “คนผิวสี” เพื่อแสดงให้เห็นอาการของผู้ป่วย ประกอบการรายงานข่าวการระบาดที่สหรัฐฯ และอังกฤษ ขณะที่คณะนักวิทยาศาสตร์ ยืนยันในจดหมายที่ส่งถึง WHO ว่า ไม่ควรมีชาติพันธุ์หรือสีผิวใด ต้องเผชิญกับโรคนี้ ส่วนการที่มันระบาดออกนอกแอฟริกา ก็เพราะได้รับความสนใจเพียงเล็กน้อยจากนานาชาติก่อนหน้านี้ และผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงทุกคน ควรได้รับการปฏิบัติด้วยการเอาใจใส่และถือเป็นกรณีเร่งด่วนตามมาตรฐานเดียวกันกับประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ

 

WHO เตรียมเปลี่ยนชื่อทางการให้โรคฝีดาษลิง

 

 

 

 

 

 

 

logoline