svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"โรคฝีดาษลิง" กี่วันแพร่เชื้อ เช็ก 6 อาการต้องรู้ หากรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

27 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ยังคงเป็นที่สนใจ สำหรับโรคฝีดาษลิง กี่วันแพร่เชื้อ พร้อมเช็ก 6 อาการเริ่มต้น เจอแบบนี้อาจเข้าข่ายติดเชื้อ ทั้งนี้มีคำเตือนหากติดเชื้อขั้นรุนแรงถึงขั้นตาบอด หลังไทยกำหนดเป็น โรคติดต่อเฝ้าระวัง

"โรคฝีดาษลิง" กี่วันแพร่เชื้อ เช็ก 6 อาการต้องรู้ หากรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

"โรคฝีดาษลิง" กี่วันแพร่เชื้อ เช็ก 6 อาการต้องรู้ หากรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์ โรคผีดาษลิง (Monkeypox) ว่า เป็นโรคที่แพร่ระบาดในประเทศแถบแอฟริกามาหลายปี แต่ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มพบผู้ป่วยในประเทศแถบยุโรป มีความเชื่อมโยงกับการเดินทางไปแอฟริกา และมีการแพร่ระบาดภายในบางประเทศ โดยผู้ติดเชื้อในยุโรปขณะนี้มีรายงาน 257 ราย ใน 18 ประเทศ ประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ คือ เดนมาร์ก โมร็อกโก และอาร์เจนตินา

โดยข้อมูลทางระบาดวิทยาเท่าที่มีรายงาน โรคฝีดาษลิง พบเป็นเพศชาย 122 คน เพศหญิง 1 คน เป็นวัยทำงานอายุ 20-59 ปี จำนวน 61 คน รายงานอาการป่วย 57 คน พบเป็นผื่น/ตุ่มนูน 98% ไข้ 39% ต่อมน้ำเหลืองโต 26% และไอ 2% โดยลักษณะของผื่น เป็นตุ่มแผลก้นลึก 75% ตุ่มน้ำใส 9% ผื่นนูน/ตุ่มหนอง 2% บริเวณที่พบส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน เช่น อวัยวะเพศ 39% ปาก 30% และรอบทวารหนัก 2% ตรวจพบสายพันธุ์ West African 9 ราย

"โรคฝีดาษลิง" กี่วันแพร่เชื้อ เช็ก 6 อาการต้องรู้ หากรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

นพ.จักรรัฐ กล่าวต่อว่า

ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษลิง กรมควบคุมโรค ซึ่ง

คณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้จัดโรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง  เนื่องจากยังไม่มีผู้ป่วยในประเทศ การแพร่กระจายของโรคเป็นลักษณะของการใกล้ชิดกันมาก ๆ เฉพาะกลุ่ม และยังไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างไปหลายทวีป อัตราป่วยตายยังเป็นสายพันธุ์ที่ป่วยรุนแรงน้อย

"โรคฝีดาษลิง" กี่วันแพร่เชื้อ เช็ก 6 อาการต้องรู้ หากรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

โดยจะเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศที่มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับ อาการป่วยอย่างน้อยหนึ่งอย่าง คือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีผื่นตุ่มนูน ร่วมกับประวัติเดินทางหรืออาศัยในประเทศที่มีรายงานการระบาด มีประวัติร่วมกิจกรรมที่มีรายงานพบผู้ป่วยเข้าข่ายหรือยืนยัน และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่า ประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนำเข้าจากแอฟริกา นอกจากนี้ ยังเฝ้าระวังผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล คลินิกโรคผิวหนัง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมทั้งเตรียมการในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทีมสอบสวนโรค

ทั้งนี้ โรคฝีดาษลิง มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ West African Clade ซึ่งอัตราป่วยตายอยู่ที่ 1% ต่ำกว่าสายพันธุ์ Central African Clade ซึ่งมีอัตราป่วยตาย 10% มีสัตว์ที่เป็นรังโรค คือ สัตว์ฟันแทะและลิง ติดต่อจากสัตว์สู่คน ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือแผลของสัตว์ที่ป่วย

ส่วนการติดจากคนสู่คน จะผ่านการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยมาก ๆ สัมผัสกับแผลหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยโดยตรง หรือเสื้อผ้าของใช้ผู้ป่วยที่มีสารคัดหลั่ง ซึ่งบางประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด มีการรวมกลุ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้นช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับระยะฟักตัวอยู่ที่ 5-21 วัน

 

"โรคฝีดาษลิง" กี่วันแพร่เชื้อ เช็ก 6 อาการต้องรู้ หากรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

อาการป่วยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรุนแรง ช่วง 5 วันแรก จะมีอาการนำ คือ ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และหมดแรง ระยะนี้เริ่มแพร่เชื้อได้บ้างแล้ว และช่วงออกผื่น 2-3 วัน หลังมีไข้ จะมีผื่นขึ้นเริ่มจากใบหน้า ลำตัว แขนขา รวมถึงบริเวณที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ช่องปาก และอวัยวะเพศ เริ่มจากตุ่มนูนแดงเล็ก ๆ เป็นตุ่มใส ตุ่มหนอง เมื่อแตกจะมีแผลเป็นหลุม ส่วนใหญ่หายเองได้ บางรายอาจมีเป็นแผลเป็น และบางรายอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาสุขภาพเดิม อาจมีปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

..

รายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคฝีดาษลิง

เป็นที่จับตาทั่วโลก โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ถือเป็นหนึ่งในโรค ที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใส และไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ณ ตอนนี้ แพร่กระจายไปทั่วโลก มีการตรวจพบผู้ป่วยแล้วใน 18 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในโซนยุโรป ซึ่งองค์การอนามัยโลก  ยังคงยืนยันว่าเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้นั้น

ด้าน กรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะการฟักตัวและอาการของโรคฝีดาษลิง ดังนี้

ระยะฟักตัว 

  • หลังได้รับเชื้อโรคนี้มีระยะฟักตัว 7 - 14 วัน หรืออาจนานได้ถึง 21 วัน

 

อาการโรคฝีดาษลิง

โดยปกติโรคนี้จะแสดงอาการป่วยไม่รุนแรง ถึงรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 ช่วง

  • ช่วงอาการนำ (วันที่ 0- 5) ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อและหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ ตั้งแต่อาการแรกที่มีมักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก
  • ช่วงออกผื่น (ภายใน 1-3 วันหลังมีไข้) 
    • มีลักษณะการกระจายเริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Centrifugal pattern)
    • ส่วนใหญ่ (95%) ของผู้ป่วยจะมีผื่นที่หน้า และ 75% มีผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ยังสามารถพบผื่นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่องปาก (709) อวัยวะเพศ (30%)
    • ลักษณะของผื่นจะพัฒนาไปตามระยะดังต่อไปนี้ ผื่นนูนแดง (Maculopapular) ตุ่มน้ำใส (Vesicles) ตุ่มหนอง (Pustules) และสะเก็ด (Crust) โดยพบว่าหากผู้ป่วยมีผื่นลักษณะสะเก็ดขึ้นจนแห้งและร่วงหลุดไป จะไม่มีการแพร่เชื้อได้

 

ส่วนใหญ่หายเองได้ แต่สามารถพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้

  • เด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

 

ความแตกต่างระหว่างโรค "ฝีดาษ" และ "ฝีดาษลิง"

  • ฝีดาษจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต เช่นเดียวกับในฝีดาษลิง ภายใน 1-3 วัน

กรณีเสียชีวิต

โดยประมาณโดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % โดยมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ

 

"โรคฝีดาษลิง" กี่วันแพร่เชื้อ เช็ก 6 อาการต้องรู้ หากรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

logoline