svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

25 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นพ.จักรรัฐ เผยถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิงในประเทศ ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยในประเทศไทย ทาง สธ.มีการประเมินความเสี่ยงของการติดต่อโรคในประเทศไทย จากกรณีในกลุ่มผู้เดินทางเข้าประเทศและผู้ป่วยที่รักษาตัวเกี่ยวกับโรคผิวหนัง

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยสถานการณ์โรคฝีดาษลิง (ณ วันที่ 24 พ.ค. 65) ว่า ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยในประเทศไทย ทั้งนี้ มีการประเมินความเสี่ยงของการติดต่อโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสพบผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศที่มีการรายงานผู้ป่วย เช่น ไนจีเรีย สหราชอาณาจักรอังกฤษ แคนาดา สเปน และโปรตุเกส

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

สำหรับการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในประเทศไทย จะเน้นการเฝ้าระวังโรค ในกลุ่มผู้เดินทางเข้าประเทศ, ผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาล คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผู้ดูแลสัตว์ป่านำเข้าจากทวีปแอฟริกา ขณะเดียวกัน ได้มีการเตรียมพร้อมทางห้องปฏิบัติการ และการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งเตรียมพร้อมทีมสอบสวนโรค และเวชภัณฑ์ ยา วัคซีน และอุปกรณ์การแพทย์แล้ว

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า สำหรับร่างแนวทางการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงของประเทศไทย มีนิยามของผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษลิง เพื่อการติดตามอาการป่วย และตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (สอบสวนโรครายบุคคล) คือ ต้องมีประวัติมีไข้ หรือร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ประกอบกับมีอาการป่วยอย่างน้อย 1 อย่าง ได้แก่ เจ็บคอ ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หรือต่อมน้ำเหลืองโต

ทั้งนี้ อีกกรณีหนึ่ง คือ มีผื่น ตุ่มนูน กระจายตามใบหน้า ลำตัว ลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด ร่วมกับ ประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ได้แก่ มีประวัติเดินทางมาจาก/อาศัยอยู่ในประเทศที่การรายงานการระบาดของโรคฝีดาษลิง ภายในประเทศ (Local transmission), มีประวัติร่วมกิจกรรมในงานที่มีรายงานพบผู้ป่วยเข้าข่าย/ยืนยันโรคฝีดาษลิง และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นำเข้าจากทวีปแอฟริกา

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

“ย้ำว่าขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัย หรือผู้ป่วยโรคนี้ โดยประเทศไทยจะเน้นเฝ้าระวังนักเดินทางจากต่างประเทศเป็นหลัก” นพ.จักรรัฐ กล่าว

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด ด้านสถานการณ์โรคฝีดาษลิงทั่วโลก (23 พ.ค. 65 ) พบว่า ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 65 มีผู้ป่วยรวมทั้งหมด 257 ราย แบ่งเป็นยืนยันแล้ว 169 ราย และผู้ป่วยสงสัย 88 ราย โดยพบใน 18 ประเทศ

ทั้งนี้ ข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคฝีดาษลิง จากการรายงานข้อมูลผู้ป่วยทั่วโลก พบว่า จากทั้งหมด 123 ราย เป็นเพศชาย 122 ราย เพศหญิง 1 ราย อายุ (n=61) ระหว่าง 20-59 ปี ส่วนอาการป่วย (n=57) คือ มีผื่น/ตุ่มนูน (98%), ไข้ (39%), ต่อมน้ำเหลืองโต (2%) และไอ (2%) โดยจากการตรวจสายพันธุ์ 9 ราย พบเป็นสายพันธุ์ West African Clade มีอัตราป่วยตายอยู่ที่ 1% ซึ่งน้อยกว่าสายพันธุ์ Central African Clade ที่มีอาการรุนแรง และมีอัตราป่วยตายอยู่ที่ 10%

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ในส่วนของสัตว์รังโรค ขณะนี้ยังไม่มีความรู้ที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะในสัตว์กัดแทะและลิง ส่วนการติดต่อจากสัตว์สู่คน มาจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการกินสัตว์ที่ปรุงไม่สุก ส่วนจากคนสู่คน มาจากการสัมผัสใกล้ชิด โดยเฉพาะแผลของผู้ป่วย รวมทั้งเสื้อผ้าและสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) ของผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อน นอกจากนี้ ยังมีการตั้งสมมติฐานว่าโรคฝีดาษลิง อาจสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ

สำหรับอาการของผู้ป่วย จะมีระยะฟักตัว (วันที่สัมผัส ถึงวันเริ่มป่วย) 5-21 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการป่วยไม่รุนแรง ถึงรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

  1. ช่วงอาการนำ (วันที่ 0-5) มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อและหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อาการแรกที่มี มักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก
  2. ช่วงออกผื่น (ภายใน 1-3 วันหลังมีไข้) มีลักษณะการกระจาย เริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Centrifugal pattern)

ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายเองได้ แต่สามารถพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้ ในเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

องค์การอนามัยโลก ยืนยันว่า การระบาดของฝีดาษลิงที่กระจายใน 22 ประเทศ ยังสามารถควบคุมได้ ยังไม่พบว่าเชื้อกลายพันธุ์ และไม่จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันครั้งใหญ่

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

ล่าสุด พญ.มาเรีย แวน เคิร์กโฮฟ หัวหน้าฝ่ายโรคอุบัติใหม่ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO แถลงเมื่อวันจันทร์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศขณะนี้ว่า เป็นการแพร่ระบาดที่ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิดอย่างมาก ไม่เหมือนกับโควิด-19 และอาการไม่รุนแรง จึงเชื่อว่าเป็นสถานการณ์ที่ควบคุมได้ 

 

ขณะนี้ พบผู้ป่วยยืนยันและผู้ต้องสงสัยติดเชื้อเกือบ 309 คน ใน 22 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พ.ค.2565) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรป และยังพบในอเมริกาและออสเตรเลีย ทั้งที่ปกติแล้วโรคชนิดนี้มักพบการระบาดในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก  และคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้นอีก แต่ความเสี่ยงแพร่กระจายสู่ประชาชนในวงกว้างยังอยู่ในระดับต่ำ 

 

โรซามุนด์ ลูอิส หัวหน้าแผนกโรคไข้ทรพิษของ  WHO ระบุว่าโรคฝีดาษลิงเกิดจากการติดเชื้อของไวรัสที่มีจีโนมเป็น DNA ซึ่งมีอัตราการกลายพันธุ์ต่ำกว่าไวรัสที่มีจีโนมเป็น RNA และขณะนี้ ยังไม่พบหลักฐานบ่งชี้ว่ามีการกลายพันธุ์ในโรคฝีดาษลิงที่ระบาดในขณะนี้

 

ทางด้าน เดวิด เฮย์มานน์ อดีตหัวหน้าฝ่ายสถานการณ์ฉุกเฉินของ  WHO กล่าวว่า ทฤษฎีที่อาจอธิบายการแพร่ระบาดของฝีดาษลิงในประเทศพัฒนาแล้วนอกทวีปแอฟริกา อาจมาจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชายรักชายและกลุ่มชายไบเซ็กชวล ในงานเทศกาลสำคัญ 2 งาน ในสเปนและเบลเยียม แตกต่างจากการระบาดในทวีปแอฟริกาที่มักพบในสัตว์ และไม่เคยแพร่ออกนอกภูมิภาค

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

สธ. ย้ำยังไม่พบโรคฝีดาษลิงในไทย เน้นเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิด

logoline