svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ไทยเจอผลกระทบ 3 ระลอกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

18 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพจำกัด ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล ระบุ สงครามรัสเซียยูเครนอาจยุติได้ แต่สงครามทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อไป มาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจของสหรัฐและพันธมิตรตะวันตกจะเข้มข้นและรุนแรง

เป้าหมายคือทำให้เศรษฐกิจรัสเซียที่โตต่อเนื่องช่วงหลังอ่อนแอลง เพื่อไม่ให้กองทัพรัสเซียเข้มแข็งเกินไป เพราะสหรัฐเห็นว่าเศรษฐกิจรัสเซียเติบโตต่อเนื่องและทำให้กองทัพเข้มแข็งขึ้น ซึ่งกระทบการเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของสหรัฐ

ไทยเจอผลกระทบ 3 ระลอกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

แม้ปีนี้เศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัว 10% แต่ผลที่เกิดขึ้น คือเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบไม่น้อย เพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์  สถานการณ์ที่แบ่งขั้ว 2 ฝั่ง ทำให้ไทยต้องวางตัวเป็นกลางที่พึ่งเศรษฐกิจ ตลาดการค้า และเทคโนโลยีจากทั้ง 2 ฝั่ง 

ไทยเจอผลกระทบ 3 ระลอกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับไทยจะเกิดขึ้น 3 ระลอก หรือ 3 ช่วง ดังนี้ 1.ผลกระทบทางตรงด้านการค้า ลงทุน ซึ่งไทยมีการค้ากับรัสเซียน้อยมาก มีสัดส่วนการค้ากับรัสเซียเพียง 0.3% การให้สินเชื่อเพื่อการค้าของผู้ประกอบการที่จะไปทำการค้าในรัสเซียยิ่งมีน้อยมาก ผลกระทบทางตรงกับไทยจึงอยู่ที่การท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวรัสเซียมาไทยปีละ 1.5 ล้านคน หรือ 4% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติก่อนโควิด ที่มีปีละ 40 ล้านคน ช่วงเปิดรับท่องเที่ยวแบบแซนด์บ็อกซ์เดือนกรกฎาคม 2564 มีนักท่องเที่ยวรัสเซียมา 16,000 คน หรือ 6% และเมื่อเกิดสงครามทำให้นักท่องเที่ยวรัสเซียไม่มาไทย ทำให้ปีนี้นักท่องเที่ยวอาจไม่ถึงเป้า

ไทยเจอผลกระทบ 3 ระลอกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

2.ผลกระทบทางอ้อม แม้ตลาดรัสเซียมีขนาดเล็ก แต่เศรษฐกิจรัสเซียเกี่ยวข้องหลายประเทศ รัสเซียส่งออกน้ำมันดิบถึง 10% ของปริมาณการใช้น้ำมันทั่วโลก รวมทั้งส่งออกก๊าซ การคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น เช่น แพลเลเดียม นิกเกิล โปแตช รวมถึงอาหารสัตว์ 

ไทยเจอผลกระทบ 3 ระลอกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

และ 3.ผลกระทบต่อเนื่องจากทางตรงและทางอ้อม จะเกิดภาวะเงินเฟ้อจากราคาสินค้า ค่าขนส่งสินค้าและค่าเดินทางแพงขึ้น หากราคาน้ำมันสูงที่บาร์เรลละ 120 ดอลลาร์ เป็นเวลานาน และรัฐถอนมาตรการดูแลราคาสินค้า จะทำให้เงินเฟ้อบางเดือนสูงถึง 7-9% สุดท้ายกระทบกำลังซื้อและทำให้ค่าครองชีพสูง สินค้าแพง การบริโภคที่เดิมคาดว่าจะดี จะไม่ดีตามที่คาดไว้

 

ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเร็วจากช่วงก่อนปี 2565 ทำให้ผู้ใช้รถมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นคนละ 2,000-3,000 บาทต่อเดือน ทำให้กำลังซื้ออาจไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้

+++ แนะดึงลงทุน ‘ชดเชย’ รายได้ท่องเที่ยว +++

 

ดร.กอบศักดิ์ ระบุว่า ไทยต้องปรับน้ำหนักการบริหารเศรษฐกิจ เน้นส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว พึ่งพาส่งออกไม่ได้ หลังเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพียง 3-4%  ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าการส่งออกขยายตัวเพียง 4-5% ชะลอจากปีก่อนขยายตัว 17% เครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต้องเป็นการลงทุนในพื้นที่ EEC และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยังล่าช้า ความขัดแย้งยุโรปกับรัสเซีย บวกสงครามการค้าจีนและสหรัฐ ทำให้ความต้องการลงทุนในอาเซียนมากขึ้น การมีนโยบายดึงลงทุนที่เหมาะสม จะดึงการลงทุนทางตรง หรือ FDI ช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจได้

ไทยเจอผลกระทบ 3 ระลอกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ส่วนท่องเที่ยวต้องมีมาตรการสนับสนุนให้ท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศคู่กัน เพราะปัจจุบันคนไทยเที่ยวไทยเพิ่มอัตราเข้าพักเพียง 30% ทำให้ปัจจุบันแรงงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังจ้างงาน 10 ล้านคน หากทำให้แรงงานท่องเที่ยว 5 ล้านคน กลับมาทำงานได้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจได้มาก

ไทยเจอผลกระทบ 3 ระลอกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

logoline