svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

คลังเข็น 'กองทุนบำเหน็จบำนาญ' รับสังคมสูงวัย

18 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พรชัย ฐีระเวช ระบุ ไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการเกิดและอัตราการเสียชีวิตที่ลดลง โดยประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ เกินกว่า 10% ของประชากรทั้งประเทศ มาตั้งแต่ปี 2548

ส่วนในปี 2564 ไทยมีประชากรรวม 66.7 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุประมาณ 12.5 ล้านคน หรือ คิดเป็น 19% ของประชากรทั้งหมด และกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  คือมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2565 และคาดว่าจะเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุในระดับสุดยอด (Super-Aged Society) คือมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 28% ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 2576

  คลังเข็น 'กองทุนบำเหน็จบำนาญ' รับสังคมสูงวัย                                                                                         

สำหรับภาระทางการคลังในการดูแลผู้สูงอายุนั้น จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างประชากร จำนวนวัยแรงงานซึ่งเป็นผู้เสียภาษีกลุ่มหลักมีแนวโน้มลดลง ทำให้รัฐบาลอาจจัดเก็บรายได้ได้ลดลง ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุมีมากขึ้น

คลังเข็น 'กองทุนบำเหน็จบำนาญ' รับสังคมสูงวัย

คลังเข็น 'กองทุนบำเหน็จบำนาญ' รับสังคมสูงวัย

ในปี 2556 รัฐบาลใช้งบประมาณ 4.3 แสนล้านบาท หรือ 3.35% ของจีดีพี เพิ่มเป็นประมาณ 7.5 แสนล้านบาทหรือ 4.43% ของจีดีพี ในปี 2564 ในจำนวนนี้เป็นงบประมาณรายจ่ายด้านบำเหน็จบำนาญประมาณ 5.2 แสนล้านบาท หรือ 3.04% ของจีดีพี ซึ่งงบประมาณรายจ่ายสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุและรายจ่ายด้านบำเหน็จบำนาญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยงบประมาณดังกล่าว อาจเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1 ล้านล้านบาท เมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับสุดยอด

คลังเข็น 'กองทุนบำเหน็จบำนาญ' รับสังคมสูงวัย

ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆ ในการดูแล เช่น มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้เกิดการจ้างงานผู้สูงอายุ การสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร การเตรียมความพร้อมทางการเงินของประชาชนก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงินเพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณอย่างพอเพียง

logoline