svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"สกลธี"เปิดจุดแข็ง-จุดอ่อนสู้ศึกเลือกตั้งผู้ว่ากทม.

05 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"สกลธี ภัททิยกุล"สะท้อนจุดแข็ง-จุดอ่อนสู้เลือกตั้งพ่อเมืองกรุงเทพ ย้ำโพลแค่ตัวชี้วัดไม่ใช่ตัดสิน ชี้คนเป็นผู้ว่าฯต้องรู้จักบริหาร แย้มคะแนนอาจได้มาจากทุกส่วน แม้พปชร.ยังไม่ชัดหนุนใคร  

 

5 เมษายน 2565 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ เปิดเผยกับทีมข่าว "เนชั่นทีวี" ว่า กรณีมีจำนวนผู้สมัครเป็นจำนวนมากกว่าที่ผ่านมานั้น ส่วนตัวเมื่อตัดสินใจลงมาสู้ ก็ไม่กังวล จะสู้ไปจนกว่าเลือกตั้ง เพราะตอนนี้เปิดกว้างให้กับทุกคน แม้มีโพลออกมาก็เชื่อในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนตัวก็ได้ทำโพลเช่นกัน เพราะโพลเลือกตั้งทุกครั้งในกทม.พลิกเสมอ คือ นำมาจนถึงการเลือกตั้ง แต่เผลอออกมาอีกแบบ ยังไม่เชื่อจนกว่าประชาชนเข้าไปกา เป็นการชี้ขาดแท้จริง

 

\"สกลธี\"เปิดจุดแข็ง-จุดอ่อนสู้ศึกเลือกตั้งผู้ว่ากทม.

 

สำหรับจุดแข็ง คือ ส่วนตัวอายุน้อย ทำงานมาหลายด้าน เป็น ส.ส.เขตกรุงเทพ เป็นรองผู้ว่าฯ มา 4 ปี แต่จุดอ่อนก็เป็นจุดเดียวกัน เนื่องจากอายุยังน้อย อาจมองว่าประสบการณ์มีหรือไม่ ทำได้หรือเปล่า ซึ่งจะมองว่าอ่อนหรือแข็งก็ได้ เพราะส่วนตัวก็ทำการเมืองมากว่า 15 ปี ซึ่งมีผู้สมัครน้อยคนมากที่จะได้มารู้งานอย่างตน

 

นายสกลธี กล่าวว่า การลงในนามอิสระ มีทั้งดีและด้อย แต่จุดดีในการลงอิสระ สามารถชวนคนจากหลายที่มาร่วมงาน ในทางปฏิบัติ เพราะถ้าเป็นพรรคการเมือง การเอาคนไม่ใช่แนวของพรรคมาทำงานด้วย จะลำบากใจมาช่วย ดังนั้น ลงอิสระคนจะมาช่วยเยอะ หากได้เป็นผู้ว่าฯ ก็ไม่ต้องระวัง ว่าพรรคจะส่งใครมาซึ่งที่ตนไม่เต็มใจ ส่วนข้อเสียคะแนนจัดตั้งอาจน้อยกว่าคนอื่น

 

 

"สมมุติประชาธิปัตย์อย่างน้อยใครก็ได้มาลงมี 2-4 แสนคะแนน ในกรุงเทพ ซึ่งเป็นฐานของพรรคหรือพรรคอื่นก็ตาม อาจเสียเปรียบตรงนั้น แต่การจัดตั้งในกรุงเทพไม่ใช่ว่าจะได้เปรียบทุกสิ่ง กระแสเป็นส่วนหลัก การจัดตั้งบางครั้ง แรงคนกรุงเทพต้องการให้เป็นทางใดทางหนึ่ง ถ้าเป็นอีกทาง จัดตั้งไม่มีความหมาย จะเห็นจากการเลือกตั้งส.ส.เมื่อปี 62 ประชาธิปัตย์คะแนนจัดตั้งในกทม.แข็งที่สุดพรรคหนึ่ง แต่เมื่อถึงเวลาแพ้หมด ไม่มีส.ส.เลย" นายสกลธี กล่าว

 

สำหรับรูปแบบการหาเสียงต้องยอมรับว่าเป็นการผสมผสานในโลกยุคใหม่ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กับส.ส.เขตมันต่างกันมาก ถ้า ส.ส.เขต คงไม่ใช่แนวนี้ คงลงพื้นที่มากที่สุดเพื่อเจอคนในเขตเลือกตั้ง แต่พอมาเป็นผู้ว่าฯ เป็นเขตใหญ่ 50 เขต หลากหลาย ดังนั้น การจะลงพื้นที่ด้วยตัวเองกับประชาชนอาจไม่พอ จึงต้องใช้ตัวช่วยหลากหลายเช่นทำคอนเทนต์ออนไลน์ การเสนอตัว ออกสื่อ เพื่อให้คนภาพกว้างได้เห็น แต่การลงพื้นที่ยังทิ้งไม่ได้และมีความสำคัญ แสดงให้เห็นแรงสนับสนุนในพื้นที่

 

\"สกลธี\"เปิดจุดแข็ง-จุดอ่อนสู้ศึกเลือกตั้งผู้ว่ากทม.

 

นายสกลธี กล่าวต่อว่า จากวันที่ 24 มี.ค. ที่ได้เปิดนโยบาย และวันนี้ (5 เม.ย.) จะเปิดตัวทีมงาน โดยจะเปิดสัปดาห์ละคน เช่น ด้านจราจรขนส่ง จะเปิดคลิปสั้น 5 นาที ทำเรื่อยๆ จนกว่าครบทุกคน นโยบายที่ต้องทำ ทุกอย่างสำคัญหมด แต่ต้องไปแก้ภาพรวมก่อน การแบ่งสรรงบประมาณเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น กทม.มีงบหมื่นล้าน ปกติไม่มีสถานการณ์ ก็จะได้รับงบน้อย

 

"กทม.มีงบ 8 หมื่นล้าน ซึ่ง 40 เปอร์เซ็น เป็นเงินเดือน ดังนั้น อีกครึ่งหนึ่ง เงินลงทุน คนเป็นผู้ว่าฯ เงินที่มีจะนำไปกระจายแก้ปัญหาให้กับ กทม. อย่างไร เพราะปัญหามีมากตั้งแต่ประชาชนออกจากบ้าน ซึ่งคนเป็นผู่ว่าฯ เทน้ำหนักทางใด จะแก้ปัญหาภาพรวมไม่ได้ เช่น ในอดีตเทไปที่สาธารณูปโภคพื้นฐานใหญ่ๆ ทำให้ปัญหาประชาชนตามเขตถูกละเลย จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาไปพร้อมๆกัน" นายสกลธี ระบุ

 

สำหรับเรื่องถูกมองว่าเคยเป็นสมาชิกพลังประชารัฐ จะมีการแชร์คะแนนกับฐานเดียวกันหรือไม่ ก็เป็นไปได้ การไม่ลงในนามพรรค ไม่ได้ผูกมัดว่าฐานของพรรคจะมาเลือกทั้งหมด อาจแตกไปที่ใครก็ได้ แต่คิดว่าดูแนวเป็นหลัก เพราะขณะนี้พรรคพลังประชารัฐ ยังไม่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนใคร และอีกหลายพรรคไม่ส่งผู้ว่าฯ ดังนั้น น่าจะดึงคะแนนมาได้อีกหลายที่มากกว่า คงไม่ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องฟรีของฐานสมาชิก ส.ก. ที่จะเลือกผู้ว่าฯ

 

\"สกลธี\"เปิดจุดแข็ง-จุดอ่อนสู้ศึกเลือกตั้งผู้ว่ากทม.

 

ติดโพลแต่ยังตามหลัง ส่วนตัวเชื่อว่าวัดอะไรบางอย่าง แต่ก็ยังไม่เชื่อทั้งหมด ผลโพลไม่ได้ตอบทุกสิ่ง และผลโพลที่ทำเอง ก็น่าพอใจ แม้จะไม่นำทั้งหมด ก็ยังมีโอกาส โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ตัดสินใจเกือบ 30 เปอร์เซ็น มีโอกาสพลิกกันทุกคน เพราะเริ่มสตาร์ท

 

"สโลแกน ผมทำอะไรเร็ว ตอบสนองเร็ว ดังนั้น สิ่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด คือ ทำทันธี"

 

 

 

 

 

 

 

 

logoline