svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมควบคุมโรค ไขข้อข้องใจ "โอมิครอน" ส่งผลกระทบกับปอดอย่างไร?

05 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ไขข้อข้องใจ โควิด-19 "โอมิครอน" ส่งผลกระทบกับปอดอย่างไร พร้อมแนะแนวทางลดความเสี่ยงจากปอดอักเสบ

5 เมษายน 2565 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน มีการกลายพันธุ์ทำให้เกิดการแรพ่ระบาดอย่างรวดเร็ว ล่าสุด กรมควบคุมโรค เผยแพร่ข้อมูลผลกระทบรอักเสบกับปอด จากเชื้อโควิด-19 ผ่านเพจเฟซบุ๊ก "กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข" มีเนื้อหาดังนี้..

 

 ไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อปอด ของผู้ป่วยทางเดินหายใจอย่างไร? 

หากผู้ป่วยทางเดินหายใจติดโควิด-19  จะเกิดอาการอักเสบที่บริเวณเนื้อปอดเป็นหลัก แต่ถ้าหากใครมีอาการอักเสบที่หลอดลม ทางเดินหายใจ ไวรัสโควิด-19 ก็จะไปกระตุ้นเพิ่มความเสี่ยงในหลอดลมด้วย

 

เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ต้องเสริมสร้างตนเอง ด้วยการกินดี ออกกำลังกายที่เหมาะสม พร้อมกับควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่

 

การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงปอดอักเสบ

ทางการแพทย์เป็นที่ยืนยันว่าผู้สูงอายุที่ปอดอ่อนแอ ไม่ค่อยแข็งแรง จะมีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อ การรักษาจะยาก อาจเสี่ยงสูงถึงการเสียชีวิต การเข้ารับวัคซีนอาจมีอาการไม่สบายตัวบ้าง อ่อนเพลียบ้างหลังการรับวัคซีน แต่อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ชั่วคราวและหายไปได้เอง ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอักเสบที่ปอด ถ้าหากไม่มีประวัติการรับวัคซีน หรือรับไม่ครบจนถึงเข็มกระตุ้น อาจเสี่ยงป่วยหนักจนถึงเสียชีวิต

 

" ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ลดโอกาสติดเชื้อ ลดโอกาสการเสียชีวิต ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ทันก่อนสงกรานต์ใกล้ชิดลูกหลานปลอดภัย "

 

กรมควบคุมโรค ไขข้อข้องใจ "โอมิครอน" ส่งผลกระทบกับปอดอย่างไร?

ขณะที่เว็บไซต์ โรงพบาบาลบํารุงราษฎร์ เผยแพร่ข้อมูลในการรักษาโรคปอดอักเสบ ระบุว่า การรักษาโรคปอดจากการติดเชื้อ เป็นการรักษาการติดเชื้อร่วมกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยทางเลือกในการรักษา ประกอบด้วย

 

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้ในกรณีของการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยแพทย์จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่คิดว่าเป็นสาเหตุของโรคจากข้อมูลทางคลินิกและทางระบาดวิทยา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายอาจทำให้เชื้อบางชนิด เช่น Streptococcus pneumoniae มีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น

 

  • การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส และเชื้ออื่นๆ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน และทำกายภาพบำบัดทรวงอก เป็นต้น

 

  • การรักษาภาวะแทรกซ้อน เป็นกรณีที่พบได้ในกลุ่มเสี่ยง โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากปอดเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ ติดเชื้อตามไปด้วย บางรายอาจพบฝีในปอด หรือเกิดภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดที่จำเป็นต้องเจาะหรือดูดออก ในรายที่อาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหายใจล้มเหลวซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตและจำเป็นต้องใส่ท่อเข้าหลอดลมร่วมกับเครื่องช่วยหายใจ

กรมควบคุมโรค ไขข้อข้องใจ "โอมิครอน" ส่งผลกระทบกับปอดอย่างไร?

logoline