เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
มาตรการตั้งแต่ประชุมครม. และมาตรการที่มีการประชุมทีมเศรษฐกิจวันนี้ลองรับศึกของรัสเซียและยูเครน บวกกับการเชิญแกนนำขุมพลต่างๆ เหมือนพยายามจะอยู่ยาว
วิธีการจะอยู่ยาวคือต้องทำนโยบายให้ตอบโจทย์กับปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับคนส่วนใหญ่ ยุทธการในการล้างหนี้กลายเป็นยุทธการที่ซื้อใจเพื่ออยู่ยาว ตอนนี้ทุกภาคส่วนเป็นหนี้ เพราะฉะนั้นถ้าแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินได้ จะสามารถซื้อใจได้
ระยะที่ผ่านมารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หว่านเงินไปหลากหลายรูปแบบ แต่มติครม. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาที่จะจัดสรรเงินจากงบกลางไปดูแลกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเพื่อแก้ปัญหาหนี้ที่ค้างมานาน แต่มีประกาศคำสั่งคสช.
งบกลางปี 2565 (เม.ย.-ก.ย.2565)
2 พันล้าน จึงเป็นปฏิบัติการเข้าไปแก้ปัญหาหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งสมาชิกคือเกษตรกรระดับฐานรากเป็นสมาชิกอยู่จำนวนมาก
แพ็คเกจแรก
ขอเงินงบประมาณที่ขอรับจัดสรรจากรัฐบาล ชำระหนี้แทนเกษตรกร เป็นเงินต้น 50% มาจ่ายแทนเกษตรกร
ปีที่ 1 ใช้งบกลางประจำปี 2565 วงเงิน 1,000 ล้านบาท
ปีที่ 2 ใช้งบประจำปี 2566 วงเงิน 2,000 ล้านบาท
ปีที่ 3 ใช้งบประจำปี 2567 วงเงินกว่า 1,641 ล้านบาท
รวมกว่า 4,600 ล้านบาท
แพ็คเกจที่สอง
"ปรับโครงสร้างหนี้" ของบจากรัฐบาลชดเชยเงินต้น 50% ให้สถาบันเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ 50,621 ราย
งบทั้งสิ้น กว่า 4,64- ล้านบาท
ดอกเบี้ย กว่า 6,813 ล้านบาท
ให้ตัดทิ้งทั้งหมด หรือตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นสมควร ระยะเวลา 3 ปี
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งคสช. ที่ 26 / 2560
ให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ พิจารณาศึกษาปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฯ การแก้ไขปัญหาหนี้สินและความเดือดร้อนของเกษตรกร และปัญหาอื่นใดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหา ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในส่วนของการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
รัฐบาลดำเนินนโยบายดูแลเกษตรกรหลากหลายรูปแบบ แต่เกษตรกรลืมตาอ้าปากไม่ได้
เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนที่เป็นลูกหนี้ของ 4 ธนาคารรัฐ
รวม 50,621 ราย ยอดหนี้เงินต้นกว่า 9,282 ล้านบาท ดอกเบี้ยสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 กว่า 6,813 ล้านบาท
หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 3/2564
1.โครงการส่งเสริมของรัฐ กว่า 2 หมื่นราย มูลหนี้ 1,082 ล้านบาท
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 2.89 แสนราย มูลหนี้ 4.74 หมื่นล้านบาท
3. ธนาคารพาณิชย์ 1.87 หมื่นราย มูลหนี้ 1.45 หมื่นล้านบาท
4. นิติบุคคลกว่า 2 หมื่นราย มูลหนี้กว่า 6,000 ล้านบาท
5. สหกรณ์การเกษตร 1.58 แสนราย มูลหนี้ 1.58 หมื่นล้านบาท
6. หนี้อื่น ๆ จำนวนกว่า 5,000 ราย มูลหนี้ 569 ล้านบาท
ถ้าจัดแพ็คเกจในการแก้ไขไม่ได้ คนเหล่านี้ไม่สามารถเดินหน้าได้ และถอยหลังก็ไม่ได้ เกษตรกรทั้งหมดในปัจจุบันที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาล
มีครอบครัวเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 6.57 ล้านครัวเรือน รวมวงเงินรวม 138,224 ล้านบาท
ยุทธการล้างหนี้ของกองทุนฟื้นฟูระลอกนี้ เป็นยุทธการที่แก้ปัญหาที่เกษตรกรจริง แต่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการ"ซื้อใจ"
รายได้ต่อหัวคนไทย
ปี 2562 รายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 243,705 บาทต่อคนต่อปี
ปี 2563 รายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 224,962 บาทต่อคนต่อปี
ปี 2564 รายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 232,176 บาทต่อคนต่อปี
ปี 2565 รายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 244,838 บาทต่อคนต่อปี
คนที่มีหนี้เหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาล คนเหล่านี้จะโงหัวไม่ขึ้น นายกรัฐมนตรีสั่งการว่าหลังจากนี้แบงค์รัฐจะต้องเดินหน้าล้างหนี้ให้กับประชาชน ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆกำลังจัดแพ็คเกจเดินหน้าล้างหนี้ ซื้อใจประชาชน หลังจากนี้จะมีมาตรการเกี่ยวกับการล้างหนี้ในภาคประชาชนออกมาอย่างต่อเนื่อง
ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงษ์อักษร