svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ. เตือนภัยโควิดระดับ 4 ทั่วประเทศหลังยอดผู้ติดเชื้อพุ่ง

21 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สธ. เตือนภัยโควิด ระดับ 4 ทั่วประเทศ  หลังยอดผู้ติดเชื้อโควิดพุ่ง ส่วนอัตราครองเตียงใน รพ.อยู่ที่ร้อยละ 49  ยืนยันมีความเพียงพอ  ย้ำผู้ป่วยโควิด-19 ทุกรายไม่จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาล 

     วันนี้ (21 ก.พ.) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 และการเตือนภัยโควิดระดับ 4 ทั่วประเทศ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

 

     นพ.ธงชัย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยคาดการณ์ 1 - 2 สัปดาห์นี้ ระดับผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับสูง มาจากการรวมกลุ่มกันในการสังสรรค์ โดยขอให้หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่แออัดหรือพบคนหมู่มาก หากพบว่า ตัวเองมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เบื้องต้นขอให้ได้ตรวจด้วยชุดตรวจคัดกรอง โควิด-19 ด้วยตัวเอง หรือ แอนติเจนเทสคิด เนื่องจากวัคซีนโควิด-19  2 เข็ม อาจจะไม่เพียงพอต่อการติดเชื้อ ขอให้ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นโดยเร็วหากครบกำหนดระยะเวลา 

 

     นพ.ธงชัย กล่าวว่า กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่ยังคงสูงขึ้นทำให้กระทรวงสาธารณสุขมีความจำเป็นจะต้องยกระดับเตือนภัยโควิด จากระดับ 3 เป็น ระดับ 4 

 

-งดเข้าสถานที่เสี่ยง

 

-งดทานอาหารร่วมกัน-ดื่มสุราในร้าน-เลี่ยงไปซื้อของที่มีคนจำนวนมาก เช่นตลาด ห้าง

 

-เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน

 

-งดร่วมกิจกรรม -กลุ่มตามเกณฑ์ต่างๆ--มาตรการทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 50 -ร้อยละ 80 

 

-ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากจำเป็นใช้รถยนต์ส่วนตัว

 

-เลี่ยงไปต่างประเทศ

 

- หากเข้าประเทศต้องปรับตัวในสถานที่กักกัน 
 

 

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข 

     ขณะที่ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน และวัยเด็ก วัยเรียน  ในส่วนผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนัก ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ หรือมีภาวะปอดอักเสบพบมากขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมกว่า 800 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิด ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและพบว่ายังมีกลุ่มที่ยังไม่ฉีดวัคซีน โควิด-19 เลย และบางส่วน ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 13 - 19 กุมภาพันธ์ 115,917 ราย เป็นคนไทยร้อยละ 96.1 

 

     ส่วนการระบาดโควิด สายพันธุ์ โอมิครอน พบว่า  ร้อยละ 53 ไม่มีอาการป่วย ส่วนร้อยละ 47 มีอาการป่วย อาการสำคัญ คือ เจ็บคอ ไอ มีไข้ต่ำ 

 

     ขณะที่การติดเชื้อในเด็ก พบเพิ่มขึ้นในเช่น ช่วงอายุ 0-9 ปี ร้อยละ 10.3 อายุ 10-19 ปี ร้อยละ 13.1 แต่ในกลุ่มเด็กอาการหนักไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุหากติดเชื้อ 

 

     โดยการติดเชื้อโควิด-19 ตอนนี้ กระจายไปยังทั่วประเทศ กลุ่ม 608 เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงหนัก หลังติดเชื้อ สำหรับกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังมี 18 จังหวัด ทำให้การระบาดโควิด-19 ขณะนี้ พุ่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากมีการผ่อนคลายในหลายมาตรการ 

 

     ขณะที่สายพันธุ์การระบาดโควิด-19 ทั่วโลก เป็นสายพันธุ์ โอมิครอน BA.2 ข้อมูลการแพร่ระบาด พบว่า สายพันธุ์ดังกล่าว แพร่เร็วกว่าสายพันธุ์ BA.1 กว่า 1.4 เท่า ขณะที่ไทยตอนนี้ โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 ระบาดไปแล้วกว่า ร้อยละ 50 
 

 

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

     ด้าน นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า การรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่ส่วนอาการหนักไม่ได้เพิ่มขึ้น สถานการณ์การใช้เตียงของประเทศ รวมเขตสุขภาพที่ 1-13  รวม 170,000 เตียง โดยผู้ป่วยร้อยละ 50 อยู่ในเตียงระดับ 1 คือกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ขณะที่สัดส่วนการครองเตียงทั่วประเทศ อยู่ที่ร้อยละ 49 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้ ขณะที่ อัตราครองเตียง ผู้ป่วยสีเหลือง สีแดง อยู่ที่ ร้อยละ 14 - 15  

 

     สถานการณ์เตียงกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมทุกสังกัด  เตียงระดับ 1 คือ สีเขียว อัตราครองเตียงอยู่ที่ 23,608 หรือร้อยละ 50.5 

 

     ทั้งนี้ การรักษาขณะนี้ได้เปลี่ยนแล้ว โดยทุกรายไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล แต่สามารถทำการรักษาที่บ้านได้ 

 

     ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยตรวจพบเชื้อด้วย ชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยตัวเอง หรือ แอนติเจนเทสคิด แล้ว การตรวจ RT-PCR ไม่มีความจำเป็น และขอให้ผู้ป่วยรักษาตัวในระบบ HI และ CI ก่อนโดยให้ติดต่อ 1330 ส่วนผู้ที่มีอาการหนัก ให้ติดต่อ 1669 จะมีรถมารับไปส่งไปส่งโรงพยาบาล 

 

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์

logoline