svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

6 ข้ออ้าง สายเรียกเข้าจากมิจฉาชีพ พร้อม 3 วิธีตรวจสอบ E-mail Scam

20 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตำรวจสอบสวนกลาง เผย 6 ข้ออ้าง สายเรียกเข้าจากมิจฉาชีพที่มักใช้จะหลอกเหยื่อ พร้อม 3 วิธีตรวจสอบ E-mail Scam ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

เฟซบุ๊ก "ตำรวจสอบสวนกลาง" เผย สายเรียกเข้าที่ท่านกำลังคุยอยู่ตอนนี้ อาจจะเป็นมิจฉาชีพโทรมาคุยกับท่านก็เป็นได้ โดยมิจฉาชีพกลุ่มนี้จะสุ่มเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อหาเหยื่อ หลังจากนั้นจะพูดคุยโน้มน้าว หรือข่มขู่ให้เหยื่อตกใจ หลงเชื่อ และโอนเงินให้มิจฉาชีพ 

 

โดยข้ออ้างส่วนใหญ่ที่มิจฉาชีพมักใช้จะหลอกเหยื่อมีดังนี้

1. บัญชีเงินฝากถูกอายัด/หนี้บัตรเครดิต : มิจฉาชีพจะขออายัดบัญชีเงินฝากของเหยื่อ อ้างว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต หลอกให้เหยื่อตกใจ รีบโอนเงินมาให้

 

2. บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติด หรือการฟอกเงิน : มิจฉาชีพ จะอ้างว่าบัญชีเงินฝากของเหยื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย หลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีที่เตรียมไว้ โดยอ้างว่าจะทำการตรวจสอบ

 

3. เงินคืนภาษี : มิจฉาชีพจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร แจ้งเหยื่อว่าได้รับเงินคืนภาษี โดยให้ยืนยันรายการตามคำบอกที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งแท้จริงแล้วกลับเป็นขั้นตอนที่มิจฉาชีพหลอกให้เหยื่อโอนเงิน

 

4. โชคดีได้รับเงินรางวัล : มิจฉาชีพจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทต่างๆ แจ้งเหยื่อว่าได้รับเงินรางวัลหรือของรางวัลที่มีมูลค่าสูง หลอกให้เหยื่อโอนเงินค่าภาษีมาให้ก่อนรับรางวัล

 

6 ข้ออ้าง สายเรียกเข้าจากมิจฉาชีพ พร้อม 3 วิธีตรวจสอบ E-mail Scam

 

5. ข้อมูลส่วนตัวหาย : มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน อ้างว่าทำข้อมูลของเหยื่อสูญหาย เพื่อขอข้อมูลของเหยื่อใหม่ หลังจากนั้นจะนำไปปลอมแปลงหรือใช้บริการทางการเงินแทน

 

6. โอนเงินผิด : มิจฉาชีพจะติดต่อไปยังสถาบันการเงินของเหยื่อ เพื่อขอสินเชื่อแทนเหยื่อ เมื่อสถาบันการเงินอนุมัติและโอนเงินเข้าบัญชีให้เหยื่อแล้ว มิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาเหยื่อ อ้างว่าโอนเงินผิดบัญชี หลอกให้เหยื่อโอนเงินดังกล่าวคืนให้

และในปัจจุบันมิจฉาชีพได้ใช้วิธีการการส่งอีเมลปลอม หรือ แฮกอีเมล โดยแจ้งว่าสินค้างวดต่อไปให้ชำระที่บัญชีใหม่ (บัญชีที่คนร้ายเตรียมไว้เพื่อหลอกลวงผู้เสียหาย) หากผู้เสียหายไม่ได้ตรวจสอบโดยละเอียดอาจหลงกลโอนชำระค่าสินค้าไปยังบัญชีปลอม

 

ดังนั้นเมื่อบริษัท หรือพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินได้รับแจ้งทางอีเมลว่ามีการเปลี่ยนบัญชีการชำระค่าสินค้า ให้ทำการตรวจสอบรายละเอียด ดังนี้

 

 

6 ข้ออ้าง สายเรียกเข้าจากมิจฉาชีพ พร้อม 3 วิธีตรวจสอบ E-mail Scam

1. ตรวจสอบไปยังผู้เกี่ยวข้อง เช่น โทรศัพท์, วีดีโอคอล โดยสอบถามให้ชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนบัญชีหรือช่องทางชำระเงินจริงหรือไม่

 

2. ตรวจสอบชื่อ Email Address โดยละเอียดทุกตัวอักษรทุกครั้ง ว่าตรงกับบัญชีอีเมลที่ต้องการติดต่อด้วยหรือไม่

 

3. ตรวจสอบเนื้อหาของอีเมล ในส่วนนี้อาจจะพิจารณาตามเนื้อหา โดยเนื้อหาจะต้องไม่เป็นการพยายามล้วงเอาข้อมูลผู้ใช้งาน หรือมีลิงก์ให้กดเพื่อเข้าไปกรอกข้อมูล หรือยอมรับให้เชื่อมต่อกับบัญชีของเรา ทั้งนี้อาจจะพิจารณาไปถึงไฟล์ที่แนบมาในอีเมลด้วย หากพบไฟล์นามสกุลต้องสงสัย ให้งดการกดดาวน์โหลดหรือพรีวิวไปก่อน แล้วทำการตรวจสอบกับผู้ส่งให้แน่ใจว่าได้ส่งไฟล์ชนิดนั้นมาให้หรือไม่

logoline