svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ

17 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เลขาฯ กพฐ. ส่งทีม 5 สำนักส่วนกลาง ผนึกกำลังลงพื้นที่ค้นหาและเติมเต็ม รร.ต้นแบบ สมรรถนะผู้เรียนเชิงประจักษ์ ผ่าน Active Learning

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิดการประชุม การลงพื้นที่เพื่อเติมเต็ม และขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ จ.ร้อยเอ็ด ผ่านโปรแกรม ZOOM โดยมอบนโยบายใหักับคณะทำงานได้ร่วมกันเติมเต็ม เพื่อให้เห็นภาพของการจัดการเรียนรู้ สู่สมรรถนะผู้เรียน ผ่านความร่วมมือ ร่วมใจของ ส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และมอบหมายให้ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) นำ "One Team" 5 สำนัก ได้แก่ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สํานักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) สำนักบริหารความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (สบว.) สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) และหน่วยศึกษานิเทศก์ (ศนฐ.) ร่วมกันเติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ เป็นการค้นหาต้นแบบ และสร้างความมั่นใจให้กับโรงเรียนบ้านมะอึ สังกัด สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 และโรงเรียนเครือข่าย ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นหนึ่งตัวอย่างของบริบทหนึ่งให้กับโรงเรียนทั่วประเทศในการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) แล้วปรับการเรียนรู้จนเกิดสมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ

เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ

นางเกศทิพย์ กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน (ผู้อำนวยการและคณะครู โรงเรียนบ้านมะอึ) และ 5 สำนักจากส่วนกลาง ร่วมกับการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมห้องเรียน ทำให้เห็นภาพของการจัดการเรียนรู้นำไปสู่สมรรถนะผู้เรียนได้อย่างชัดเจน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นสะพานเชื่อมฝ่ายนโยบายส่วนกลาง และส่วนของพื้นที่ ในการสร้างความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาการศึกษาที่ไปในทางทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจว่า ทุกฝ่ายจะช่วยกันยกระดับการศึกษาให้สามารถไปสู่สมรรถนะผู้เรียนได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้นักเรียนประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเรียน และการดำรงชีวิตควบคู่กันไป ทั้งนี้โรงเรียนบ้านมะอึ ตั้งอยู่ในอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้แบบ Active Learning , Lesson Study และ Open Approach ซึ่งมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเครือข่ายร่วมสนับสนุน การจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะผู้เรียน เป็นการดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด เพราะสมรรถนะนั้นเป็นความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ตนมีในการทำงาน หรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ หรือนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยให้เห็นคุณค่าของความรู้ ทักษะ ที่ได้เรียนมาใช้ในสถานการณ์ต่างๆ จนเกิดเป็นผลสำเร็จ

โรงเรียนบ้านมะอึ เป็นตัวอย่างหนึ่งของโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) จัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning และนำ K S และ A มาใช้ผ่านกิจกรรม Open House และกิจกรรมอื่นๆ ไปสู่สมรรถนะสำคัญกับผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน (ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี) ได้ โดยกิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้

เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ

1. ประชุมร่วมกันระหว่างโรงเรียน (ผอ.โรงเรียน ครู) และ ผอ.สำนักทั้ง 5 สำนักจาก สพฐ. ส่วนกลาง เพื่อร่วมกันวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเติมเต็มและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

2. เยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ทำให้เกิด output ในห้องเรียนและพื้นที่แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน กิจกรรมที่นำไปสู่สมรรถนะผู้เรียน ซึ่งนำไปสู่ outcome ช่วงปลายปีที่จัดขึ้น โดยมีส่วนกลางเป็นผู้ช่วยสะท้อนสิ่งที่ได้จากการเยี่ยมชมชั้นเรียน ผ่านการชื่นชม พร้อมเติมเต็มให้สมบูรณ์มากขึ้น และสามารถนำมาเป็นแบบอย่างให้ โรงเรียนอื่น ๆ ใช้เป็นแนวทางลงสู่การปฏิบัติเชิงประจักษ์ ต่อไป

3. การถ่ายทำวิดีทัศน์  "สถานศึกษาต้นแบบจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปรับปรุง 2560" เพื่อนำไปเผยแพร่ ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน เกิดความเข้าใจ และสามารถไปใช้ได้เหมาะสมกับบริบท จนสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะได้อย่างแท้จริง

4. สร้างเครือข่าย ผอ.รร.ในพื้นที่เดียวกันเพื่อต่อยอดและนำความรู้ไปเติมต่อใน รร.ตนเอง

5. วางแผนการผนึกกำลัง one team รร.ที่บริบทแตกต่างกัน เพื่อไปเติมเต็มและดำเนินการร่วมกันในจังหวัดอื่นและภาคอื่นต่อไป

"การได้ศึกษาหาความรู้ ได้รับการฝึกทักษะต่าง ๆ และได้รับการพัฒนาเจตคติและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เหล่านั้น รวมทั้งการนำความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ และในชีวิตจริงได้ ทั้งนี้ โรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้สำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองออกมา และหลายโรงเรียนได้มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งโรงเรียนบ้านมะอึ จะเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดสมรรถนะแก่ผู้เรียน และทีมงานจะลงพื้นที่ไปตามโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีบริบทที่หลากหลาย เพื่อเป็นการขยายผลและจะได้นำมาเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป" รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ เติมเต็มและขยายผลเชิงประจักษ์ของโรงเรียนบ้านมะอึ

logoline