svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอธีระ เผยผลศึกษาพบ Long COVID กระทบระบบประสาททั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง

18 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอธีระ เผยอาการ Long COVID ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการบางอย่างรักษาหา แต่ใช้เวลายาวนานหลายเดือน ย้ำการป้องกันตัวเองให้ไม่ติด โควิด-19 ดีที่สุด

18 มกราคม 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” เผยผลการวิจัยพบการรักษาอาการ Long COVID ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท อาจจะต้องใช้เวลาหลายเดือน มีเนื้อหาดังนี้..

 

 อัพเดต COVID-19 

ดูตามจำนวนเฉลี่ยของการติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ จะเห็นว่าทวีปแอฟริกาลงไปแล้ว ทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และโอเชียเนียกำลังคงที่ เหลือทวีปเอเชียและอเมริกาใต้ที่ยังดูไต่ขึ้น

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา อินเดีย สเปน อาร์เจนติน่า และฝรั่งเศส

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.23 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 80.82

 

หมอธีระ เผยผลศึกษาพบ Long COVID กระทบระบบประสาททั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง

 Long COVID กับระบบประสาท 

Nature Medicine ฉบับ 17 January 2022 ลงบทความของ Nolen LT และคณะ สรุปภาพรวมของผลกระทบของการติดเชื้อโรคโควิด-19 ต่ออาการทางระบบประสาท พบว่า..

ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะพบว่าเกิดอาการทางระบบประสาทได้ตั้งแต่ตอนระยะเฉียบพลัน และระยะกึ่งเฉียบพลันได้ถึง 35-85%

 

นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาในระยะยาว มีอาการคงค้าง หรือ ภาวะLong COVID ได้หลากหลายอาการ

 

หมอธีระ เผยผลศึกษาพบ Long COVID กระทบระบบประสาททั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง

 

เคยมีการสำรวจกลุ่มคนอายุ 30-59 ปี ซึ่งเคยติดเชื้อโรคโควิด-19 และประสบปัญหาด้านความคิดความจำ คนกลุ่มนี้รายงานว่ามีถึง 30% ที่ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้

อาการทางระบบประสาทบางอย่าง เมื่อเวลาผ่านไปก็ค่อยๆ ดีขึ้น แต่บางส่วนก็มีรายงานว่ามีลักษณะเป็นๆ หายๆ กลับซ้ำขึ้นมาเป็นระยะ

 

แม้แต่คนที่เคยติดเชื้อ แต่ไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็มีรายงานว่า ประสบปัญหาอาการทางระบบประสาทนานไปถึง 3-9 เดือน เช่น เวียนหัวบ้านหมุน ซึมเศร้า มีปัญหาด้านความคิดและความจำ รวมถึงการดมกลิ่นและการรับรส ทั้งนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่อายุน้อยกว่า 65 ปี


ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดจึงจำเป็น ...ไม่ติดเชื้อจะดีกว่า...

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

 

อ้างอิง : Nolen, L.T., Mukerji, S.S. & Mejia, N.I. Post-acute neurological consequences of COVID-19: an unequal burden. Nat Med (2022).

logoline