svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ. เดินหน้าทำโรคโควิด เป็นโรคประจำถิ่น

10 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สธ. เผย โรคโควิดขณะนี้ที่เผชิญกับเชื้อโอมิครอนติดง่ายขึ้น แต่อัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิตลดไปมาก ปีนี้จึงมุ่งสู่การทำให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น โดยใช้ 4 มาตรการหลัก

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิดทั่วโลก เพิ่มขึ้นเฉพาะวันนี้มีผู้ป่วยเพิ่มกว่า 1.7 ล้านราย แต่กลับพบผู้ป่วยหนักผู้เสียชีวิตลดลง ซึ่งสถานการณ์ของไทยสอดคล้องกับสถานการณ์โรค แม้ขณะนี้จะพบอัตราผู้ป่วยใหม่ เป็นไปตามแบบจำลองสถานการณ์ที่กรมควบคุมโรคทำไว้ก่อนปีใหม่ โดยจำนวนผู้ป่วยเป็นไปตามแบบจำลองที่คาดสถานการณ์แบบรุนแรงที่สุด แต่จำนวนผู้เสียชีวิตกลับเป็นไปตามแบบจำลองคาดสถานการณ์แบบดีที่สุด สะท้อนว่าโรคโควิดขณะนี้ที่เผชิญกับเชื้อโอมิครอนติดง่ายขึ้น แต่อัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิตลดไปมาก กระทรวงสาธารณสุข จึงให้ดำเนินการเพื่อให้โรคโควิด -19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นได้แล้ว

 

การที่เชื้อแพร่เร็วเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์กลัวเพราะทำให้เกิดเชื้อกลายพันธุ์ได้ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงวางยุทธศาสตร์ปีนี้มุ่งสู่การทำให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น โดยใช้ 4 มาตรการหลักคือ มาตรการสาธารณสุข เน้นชะลอการระบาด ฉีดวัคซีนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 607 ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่ยังเสียชีวิตจากโรควิด ร้อยละ 70 ของผู้เสียชีวิตไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

นอกจากนี้ เน้นการคัดกรองด้วย ATK เป็นหลัก พร้อมติดตามเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ มาตรการการแพทย์ ให้เปลี่ยนวิธีดูแล ใช้การรักษาที่บ้าน Home Isolation : HI อันดับแรกเป็นหลัก หากบ้านไม่สะดวกให้ใช้ระบบ Community Isolation : CI จับคู่ รพ.ติดตามอาการ หากอาการเปลี่ยนรุนแรงขึ้น มีช่องทางด่วนส่งต่อเข้า รพ. มาตรการสังคม ขอให้ประชาชนดูแลตัวเองขั้นสูงสุด ตามมาตรการ Universal Prevention เลี่ยงไปสถานที่ไม่ปลอดภัย

 

ส่วนสถานบริการขอให้ทำพื้นที่ตนเองให้ปลอดความเสี่ยง ด้วยมาตรการ COVID Free Setting และมาตรการสนับสนุน เรื่องรักษาพยาบาล ค่าตรวจต่างๆ คาดว่า ปีนี้โควิด -19 จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น ประชาชนจะทำกิจกรรมได้ดีขึ้น

 

 

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชน หากทุกคนร่วมกันปฏิบัติตามมาตรการ VUCA คือ

V วัคซีน ฉีดกระตุ้นตามกำหนดโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 607

U ป้องกันตนเองขั้นสูงสุด Universal Prevention

C ทำพื้นที่ให้ปลอดภัยตาม COVI Free Setting

A ตรวจหาเชื้อทันทีด้วย ATK ที่รู้ว่าเสี่ยงหรือเริ่มมีอาการ

 

จากนี้กระทรวงสาธารณสุขให้ใช้วิธีการตรวจหาเชื้อด้วย ATK เป็นหลักอันดับแรก เพราะจากการศึกษาจากที่ใช้แล้วนับล้านชิ้นพบว่ามีประสิทธิภาพในการดักจับโรคได้ดีป้องกันการระบาดได้ ต่อไปจะเป็นสิ่งที่ต้องใช้เป็นประจำ

logoline