svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ "แม่คะนิ้ง" ชุดแรกของปี 2565

03 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ "แม่คะนิ้ง" ชุดแรกของปี 2565 แม้อุณหภูมิจะยังไม่ติดลบ ขณะที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากยังคงปักหลักชื่นชมความงดงามทางธรรมชาติหนาแน่น

     ช่วงวันหยุดยาวปีใหม่นี้เชื่อว่าหลายคนคงเดินทางเที่ยวท่องในภาคเหนือเพื่อสัมผัสอากาศหนาว โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่ได้ชื่อว่า มีอากาศหนาวเย็นติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย  

 

     ล่าสุดวันนี้ (3 ม.ค.) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ - Doi Inthanon National Park เองก็ได้โพสต์ภาพ เหมยขาบแรกของปี 65 แม้อุณหภูมิจะยังไม่ลดต่ำถึงติดลบก็ตาม โดยเช้าวันนี้อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 6 องศาเซลเซียส ที่ยอดดอยและกิ่วแม่ปาน 

     

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ \"แม่คะนิ้ง\" ชุดแรกของปี 2565

 

   เช่นเดียวกับเพจเฟซบุ๊ก ลุงหนวด ดอยอินทนนท์ ที่โพสต์ภาพ ของแม่คะนิ้ง พร้อมระบุว่า สายๆยังมีแม่คะนิ้ง​ให้​เห็น​อยู่​ครับ​ที่ยอดดอ​ยอิน​ท​นนท์

 

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ \"แม่คะนิ้ง\" ชุดแรกของปี 2565

 

     สำหรับ แม่คะนิ้ง เหมยขาบ และน้ำค้างแข็ง นั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และเพจ วิทย์สนุกรอบตัว ได้อธิบายความแตกต่างของลักษณะการเกิด "แม่คะนิ้ง" (เหมยขาบ) และ "น้ำค้างแข็ง" เอาไว้ดังนี้

 

1. แม่คะนิ้งและน้ำค้างแข็ง เกิดจากไอน้ำเหมือนกัน 
     จุดกำเนิดเริ่มต้นของแม่คะนิ้งและน้ำค้างแข็งนั้น เกิดจากสารตั้งต้นเหมือนกันนั่นคือ "ไอน้ำ" ที่ลอยอยู่ในอากาศในสถานะก๊าซ และจะเปลี่ยนรูปไปเป็นของแข็ง (เกล็ดน้ำแข็ง/หยดน้ำค้างแข็ง) เมื่อเจออุณหภูมิที่ลดลงต่ำมากอย่างรวดเร็ว แต่ขั้นตอนของการเปลี่ยนรูปนี้เองที่มีลักษณะแตกต่างกัน
แม่คะนิ้งเกิดจากไอน้ำ (ก๊าซ) ที่เปลี่ยนไปเป็นเกล็ดน้ำแข็ง (ของแข็ง) โดยตรง
น้ำค้างแข็งเกิดจากไอน้ำ (ก๊าซ) เปลี่ยนไปเป็นน้ำ (ของเหลว) ก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนจากน้ำไปเป็นหยดน้ำค้างแข็ง (ของแข็ง) อีกที

 

2. แม่คะนิ้งมักเกิดขึ้นที่ไหน? อุณหภูมิเท่าไร?
     แม่คะนิ้งพบได้ในหุบเขา หรือยอดเขาสูงที่มีอุณหภูมิประมาณ 0 องศาเซลเซียส หรือติดลบเล็กน้อย มักเกิดขึ้นที่บริเวณยอดหญ้า มีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งเกาะขาวโพลนเต็มใบหญ้า มักเกิดขึ้นในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคมของทุกปี
ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยที่พบ "แม่คะนิ้ง" ได้เป็นประจำทุกปีก็คือ "ยอดดอยอินทนนท์" เนื่องจากเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในไทย
 

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ \"แม่คะนิ้ง\" ชุดแรกของปี 2565

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ \"แม่คะนิ้ง\" ชุดแรกของปี 2565

3. ขั้นตอนการเกิด "แม่คะนิ้ง" vs "น้ำค้างแข็ง"
     หากอธิบายให้ละเอียดมากขึ้น ทั้งสองสิ่งนี้มีขั้นตอนการเกิดขึ้นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้ แม่คะนิ้งหรือเหมยขาบ : เกิดขึ้นเมื่ออากาศมีความชื้นมาก ทำให้มีไอน้ำในอากาศมากตามไปด้วย จากนั้นเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing point) จะทำให้ไอน้ำที่อยู่ในสถานะก๊าซเปลี่ยนเป็นผลึกน้ำแข็งหรือเกล็ดน้ำแข็งโดยตรง จนทำให้เกิด “แม่คะนิ้ง” ที่เป็นผลึกน้ำแข็งเกาะอยู่บนใบไม้ใบหญ้า

     น้ำค้างแข็ง : เกิดขึ้นเมื่อเกิดขึ้นเมื่ออากาศมีความชื้นมาก ทำให้มีไอน้ำในอากาศมากตามไปด้วย เมื่ออุณหภูมิดลดต่ำลงกว่าจุดน้ำค้าง (dew point) ไอน้ำกลั่นตัวเป็นน้ำค้าง (ของเหลว) เกาะอยู่บนใบไม้ใบหญ้า

     ต่อมาเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing point) จะทำให้น้ำค้างที่อยู่ในสถานะของเหลวดังกล่าว เปลี่ยนเป็นผลึกน้ำแข็งจนทำให้เกิด “น้ำค้างแข็ง” ที่เป็นผลึกน้ำแข็งเกาะอยู่บนใบไม้ใบหญ้า
 

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ \"แม่คะนิ้ง\" ชุดแรกของปี 2565

สวยงาม! ดอยอินทนนท์เกิดปรากฎการณ์ \"แม่คะนิ้ง\" ชุดแรกของปี 2565

logoline