svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต

09 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ป.ป.ช.ชูผลงานคดี Exim Bank ปล่อยกู้พม่า 4,000 ล้าน ซื้ออุปกรณ์ในเครือชินคอร์ป และทุจริตออกหวย 3 ตัว 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เสนอแนะรัฐป้องกันการทุจริตการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน ของ พม. การทุจริตกองทุนหลักประกันสุขภาพ และการออกโฉนดโดยมิชอบ

9 ธ.ค. 64 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. แถลงในการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล 9 ธ.ค. 64 ประเด็น “ผลงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต หลังพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ครบรอบ 3 ปี” ว่า นับจาก 22 ก.ค.61 จนถึง 21 ก.ค.64 เป็นเวลาครบรอบ 3 ปี ที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 บังคับใช้

 

21 ก.ค.64 ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. เพราะเป็นวันที่เรื่องไต่สวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับไว้ดำเนินการ ทั้งก่อนและหลังพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ใช้บังคับต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ เรื่องดังกล่าวเป็นเงื่อนไขตามกฎหมายและถือเป็นพันธกิจหลักที่ทุกองคาพยพในสำนักงาน ป.ป.ช. มุ่งมั่น ฟันฝ่าร่วมกัน เพื่อให้บรรลุผล

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต

การทำงานในช่วง 3 ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นช่วงการปัดกวาดจัดระเบียบภายใน โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารและการตัดสินใจอย่างเข้มข้นในทุกภารกิจ ทั้งด้านปราบปราม ด้านตรวจสอบทรัพย์สิน และด้านป้องกัน คู่ขนานไปกับการเปิดกว้างในเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนี้


1.ให้เร่งรัดการดำเนินการให้เสร็จภายใน 2 ปี สามารถขยายเวลาได้อีก 1 ปี รวมแล้วต้องไม่เกิน 3 ปี
2.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจรับคำกล่าวหา (PESCA) เพื่อให้กระบวนการรับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนเจ้าพนักงานของรัฐในชั้นตรวจรับคำกล่าวหา เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการยุติธรรมนับตั้งแต่ต้นทางที่หน่วยรับเรื่องร้องเรียน จนถึงขั้นการฟ้องคดี และการตัดสินลงโทษ ซึ่งสิ้นสุดที่กรมราชทัณฑ์
3.พัฒนาระบบการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
4.การป้องกันการทุจริตเชิงรุกในทุกพื้นที่ โดยเน้นให้สังคม และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามมาตรา 33 แห่งพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

 

กรณีกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 

ด้านตรวจสอบทรัพย์สิน มีเรื่องที่ส่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย ดังนี้
 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 372 เรื่อง มูลค่าทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นเงิน 896,554,760.28 บาท
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 47 เรื่อง มีมูลค่าทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นเงิน 216,062,819.54 บาท
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 22 เรื่อง มีมูลค่าทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นเงิน 746,631,860.07 บาท
ขณะที่ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 21 เรื่อง มีมูลค่าทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นเงิน 471,094,091.75 บาท

ด้านป้องกันการทุจริต เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการพัฒนางานป้องกันการทุจริต ทั้งด้านกฎหมาย โครงสร้างองค์กร และด้านยุทธศาสตร์ของประเทศเนื่องจากมีการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561– 2580) ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายบริหารให้เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (21) ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งเป็น 1 ในแผนแม่บท 23 ด้าน เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

 

คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศจึงได้มีการพัฒนาการทำงานด้านการป้องกันการทุจริตให้มีความเป็นรูปธรรม และชัดเจนเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งมีการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ เช่น โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต เป็นโครงการที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันและป้องปรามการทุจริตที่มีความเสี่ยงหรือเกิดขึ้นในพื้นที่

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต

โดยสร้างความตื่นรู้และไม่เพิกเฉยต่อสถานการณ์การทุจริต อาทิ อาหารกลางวันของนักเรียนที่ไม่มีคุณภาพ (ขนมจีนคลุกน้ำปลา ที่สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม เกิดความอายต่อการทำทุจริตและสร้างพฤติกรรมที่ไม่ทนต่อการทุจริตให้เกิดขึ้นในสังคม

 

การเสนอมาตรการ ความเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต ได้มีข้อเสนอแนะสำคัญที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ได้แก่

  • ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับการทุจริตในการบริหารจัดการงบประมาณโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
  • ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับงบประมาณเงินอุดหนุนวัด ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • มาตรการป้องกันการทุจริตเพื่อแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ
  • มาตรการป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ

 

ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการติดตามผลการดำเนินงานว่า หน่วยงานมีการดำเนินการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐ 8,300 หน่วยงาน ต้องได้รับการประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสฯ ซึ่งผลการประเมินมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2562 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66.74 ปี 2563 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 67.9 ปี 2564 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 81.25 แสดงว่าหน่วยงานของรัฐ ให้ความสำคัญในการบริหารงานด้วยความโปร่งใส 

 

นอกจากนั้น เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ การจัดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (Corruption Risk Mapping) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ ป.ป.ช. พัฒนาขึ้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการรวบรวม จำแนก และนำเสนอข้อมูลเบาะแสหรือความเสี่ยงต่อการทุจริตที่ประมวลจากการดำเนินกิจกรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตทั่วประเทศ เป็นฐานข้อมูลความเสี่ยงต่อการทุจริตทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ แสดงผลในรูปแบบกราฟิกแผนที่ประเทศไทย ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดสู่การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต

คาดการณ์แนวโน้ม และวางแผนการป้องกันการทุจริต โดยการนำข้อมูลไปใช้ร่วมกับสถิติคดีและผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment-ITA) เพื่อกำหนดเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานด้านป้องกันการทุจริตที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
 

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีกิจกรรมในส่วนแรกคือ การต่อยอดนำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม โดยสำนักด้านป้องกันการทุจริตเป็นศูนย์กลางนำร่องดำเนินการร่วมกับสำนักส่วนกลางที่มีภารกิจเกี่ยวข้องร่วมมือของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 1-9 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด จำนวน 9 จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเชียงราย จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา โดยการนำผลการปักหมุดความเสี่ยงต่อการทุจริตไปสู่การแก้ไขปัญหาส่งผลให้มีการขับเคลื่อนความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต

ผลลัพธ์ที่สำคัญจากกิจกรรมดังกล่าว อาทิ กรณีการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเขาไผ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อมีการลงพื้นที่ร่วมกันของหน่วยงานภายในสำนักงาน ป.ป.ช. และการประสานความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับจังหวัด

 

ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา ในการกำหนดแนวเขตป่าให้ชัดเจน ผลักดันผู้บุกรุกใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อทำการเกษตรไร่มันสำปะหลังและสวนยางพาราให้ออกจากพื้นที่ ปลูกป่าทดแทนเพื่อคืนแหล่งต้นน้ำให้กับจังหวัดชลบุรี และร่วมกันเฝ้าระวังในระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ดังกล่าวถูกบุกรุกซ้ำอีก

 

ในส่วนของกิจกรรมที่ 2 คือ การสร้างชุดข้อมูลความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เป็นปัจจุบันเพื่อบันทึกลงในแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (Corruption Risk Mapping) สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการรับข้อมูลความเสี่ยงต่อการทุจริต ผ่านกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติ Focus Group ในพื้นที่ภาค 1-9 และกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ได้รับข้อมูลความเสี่ยงต่อการทุจริตทั่วประเทศไทยที่สะท้อนโดยภาคประชาชนที่ดำเนินงานร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด นำมาวิเคราะห์ จำแนก และบันทึกเป็นชุดข้อมูลความเสี่ยงต่อการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ปรากฏประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกิดขึ้นคล้ายกันในหลายพื้นที่ จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่

 

1) ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การบุกรุกป่า การรุกล้ำลำน้ำ การจัดสรรพื้นที่ป่าเพื่อเกษตรกรรม การลักลอบดูดทรายในลำน้ำ ฯลฯ เกิดขึ้นหลายจังหวัดในพื้นที่ภาค 2 ภาค 5 และภาค 8   
 
2) ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ ถนน เสาไฟฟ้าประติมากรรม เสาไฟฟ้านวัตกรรม ประปาหมู่บ้าน ทางระบายน้ำ เขื่อน ฯลฯ เกิดขึ้นหลายจังหวัดในพื้นที่ภาค 1 ภาค 7 และภาค 9 
 
3) ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตการใช้จ่ายงบประมาณโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 (เงินกู้ 400,000 ล้านบาท) อาทิ โครงการโคกหนองนา โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง/อุทกภัย ฯลฯ เกิดขึ้นหลายจังหวัดในพื้นที่ภาค 3 ภาค 4 และภาค 6 

ประธาน ป.ป.ช.โชว์ผลงานปราบโกง วันต่อต้านทุจริต

นอกจากนี้ ด้านการต่างประเทศ มีการประสานงานและการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาคดีทุจริตระหว่างประเทศ โดยเฉพาะคดีสินบนข้ามชาติซึ่งเป็นคดีที่มีความสำคัญ เนื่องจากลักษณะการกระทำความผิดมีความซับซ้อน มีมูลค่าความเสียหายมาก คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมุ่งเน้นการติดตามเอาทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดกลับคืนสู่ประเทศไทยควบคู่ไปกับการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างในการทุจริต โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทยผ่านคณะกรรมการประสานและเร่งรัดการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด และ สำนักงาน ป.ป.ง. เป็นต้น 

 

รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (United Nations Convention against Corruption : UNCAC) และจะมีการประชุมประจำปีของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 17 (17th Principals Meeting of the ASEAN Parties Against Corruption - ASEAN-PAC) ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อยกระดับยุทธศาสตร์การต่อต้านการทุจริตในยุคโควิด-19
เพื่อสันติภาพ ความมั่นคงและความมั่งคั่งของภูมิภาค

 

logoline