svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

ซูเปอร์บั๊ก “เชื้อดื้อยา” แนะรัฐควบคุมใช้ในสัตว์แต่คนตาย

12 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในแต่ละปี “เชื้อดื้อยา” หรือ Superbug ทำคนไทยเสียชีวิตราว 38,000 คน ถือว่าพิษภัยไม่ด้อยไปกว่าโควิด-19 ยาที่ใช้รักษาเชื้อดื้อยาคิดเป็นมูลค่า 2,539 - 6,084 ล้านบาท นั่นหมายถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 40,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)

“เชื้อดื้อยา” หรือ “ซูเปอร์บั๊ก” คือ โรคที่เมื่อเป็นแล้ว ยาที่มีอยู่รักษาไม่ได้ จนอาการป่วยแค่เล็กน้อยลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งถ้ากินยาที่รักษาได้ผล อาการเหล่านี้จะดีขึ้นและหายได้ในแค่ไม่กี่วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

 

ถ้ายังจำกันได้ ตัวอย่างที่ชัดเจน กรณีผู้ว่าฯ สมุทรสาครที่ติดเชื้อโควิด-19 ทีมแพทย์ได้ออกมาแถลงข่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ว่าฯ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี อาการทรุดหนัก ยังถอดเครื่องช่วยหายใจไม่ได้ ทั้งที่ให้ยากำจัดเชื้อโควิด-19 ไปจนหมดสิ้นแล้ว ก็เพราะเกิดการติดเชื้อดื้อยาในปอด

 

แพทย์ต้องให้ยาปฏิชีวนะเพิ่มอีก 1-2 ตัว  เวลาที่พบเชื้อดื้อยา แพทย์ต้องเปลี่ยนยาปฏิชีวนะไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอยาที่เจ้าซูเปอร์บั๊กสยบยอม นั่นหมายถึงการรักษาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตมากขึ้น

 

ในแต่ละปี “เชื้อดื้อยา” หรือ Superbug ทำให้คนไทยเสียชีวิตราว 38,000 คน ถือว่าพิษภัยไม่ด้อยไปกว่าโควิด-19  ยาที่ใช้รักษาเชื้อดื้อยาคิดเป็นมูลค่า 2,539 - 6,084 ล้านบาท นั่นหมายถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 40,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) 

ซูเปอร์บั๊ก ปะทะ โควิด-19 วิกฤติ X 2                      

เชื้อดื้อยา เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง ทำให้เชื้อแบคทีเรียพัฒนาตัวเองจนคงทนต่อยา  ปัญหาเชื้อดื้อยาในฟาร์มสัตว์ สาเหตุสำคัญ เช่น ใช้ยาไม่ตรงโรค ใช้ผิดขนาด ผิดช่วงเวลา ไม่หยุดยาตามกำหนด พอใช้ผิดวิธีก็ไม่ได้ผล จึงต้องเพิ่มขนาดยา หรือเปลี่ยนเป็นยาที่แรงขึ้น

 

ซูเปอร์บั๊ก “เชื้อดื้อยา” แนะรัฐควบคุมใช้ในสัตว์แต่คนตาย

 

หมูในฟาร์มยังได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากการเลี้ยงแบบไร้สวัสดิภาพ เช่น คอกแคบ การตัดตอนอวัยวะ การหย่านมเร็วเกินไป การใช้สายพันธุ์ที่ตัดแต่งให้ตัวใหญ่และโตไวผิดธรรมชาติ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจของสัตว์ ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย ฟาร์มจึงใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมหาศาล

 

คนเลี้ยงยังเข้าใจว่ายาปฏิชีวนะเป็น “วิตามินบำรุง” ช่วยให้หมูโตไว ได้น้ำหนัก จึงให้ยาแบบรวมหมู่ โดยผสมลงในอาหารหรือน้ำ ในปริมาณต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน และนั่นเป็นสาเหตุให้เชื้อดื้อยา ที่สำคัญ ยาที่สัตว์กิน ส่วนใหญ่เป็นยากลุ่มเดียวกับที่เราใช้กัน เมื่อเราป่วย ยาตัวเดียวจึงรักษาไม่ได้

 

เราติดเชื้อดื้อยาได้จากคนที่มีเชื้อ และจากฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรม ในรูปแบบของการสัมผัสโดยตรง การกินอาหารที่ปนเปื้อน ไปจนถึงเชื้อดื้อยาที่เล็ดลอดจากฟาร์มสู่พื้นดิน หรือแหล่งน้ำโดยรอบ

ยุทธศาสตร์ สุขภาพดี หนึ่งเดียว

ประเทศไทยมี แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ภายใต้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” เป้าหมายหลักคือลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาลงร้อยละ 50 ลดการใช้ยาต้านจุลชีพในคนร้อยละ 20 และในสัตว์ร้อยละ 30 รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยาแก่ประชาชน

 

ในส่วนของการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ เน้นควบคุมการผลิตและใช้ยาผ่านมาตรการทางกฎหมาย รวมถึงการ “ให้รางวัล” แก่ผู้ที่เลี้ยงปศุสัตว์ที่ไม่ใช้ยา “แบบสมัครใจ” สิ่งที่หายไปคือมาตรการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ เพราะถ้ายังเลี้ยงสัตว์แบบเดิม สัตว์ก็ยังป่วย การใช้ยาจึงจำเป็น รวมทั้งไม่มีการพูดถึงการรายงานผลการใช้ยาที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างเหมาะสม

 

สถานการณ์เชื้อดื้อยา หลังยุทธศาสตร์ชาติประกาศใช้

ต้นปีนี้ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนยุทธศาสตร์ฯ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จัดทำรายงานสรุปสาระสำคัญการค้นพบเชื้อดื้อยารอบฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยทดลองเก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนจากแหล่งน้ำสาธารณะที่มีการปล่อยของเสียจากฟาร์มหมูจำนวน 6-10 แห่ง พบว่า 6 ใน 9 ฟาร์มตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในสิ่งแวดล้อม

 

นักวิจัยและอาสาสมัครยังได้สัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยในชุมชนและเกษตรกรรอบบริเวณฟาร์ม ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังมีฟาร์มมาตั้งในเขตชุมชน ส่วนใหญ่ยินดีให้ข้อมูลแต่ขอไม่เปิดเผยชื่อ

 

ชาวบ้านที่อาศัยใกล้ฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรม – “ผมเชื่อว่าต้องมียาหรือมีเชื้อโรคในคลองนี้ เราไม่อยากให้ฟาร์มมาตั้งใกล้ชุมชนแบบนี้ เพราะมันส่งผลต่อการเกษตรและความเป็นอยู่ของเรา”

 

เกษตรกรรายย่อย – “เวลาที่ฟาร์มปล่อยน้ำลงแปลงข้าว ข้าวไม่โต บางต้นเสียหาย บางต้นตาย ปลาอาศัยในแหล่งน้ำแบบนี้ไม่ได้ จริง ๆ มันกระทบทั้งระบบนิเวศนี่แหล่ะ เคยร้องเรียนไปแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น”

 

 “ปัญหาเชื้อดื้อยาจากฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก หลายคนไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน แม้แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะสร้างผลกระทบมหาศาล ถึงเวลาที่ภาครัฐต้องจัดการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน” นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าว

 

ซูเปอร์บั๊ก “เชื้อดื้อยา” แนะรัฐควบคุมใช้ในสัตว์แต่คนตาย

 ข้อเสนอจากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้แก่ การมีนโยบายห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องโรคแบบรวมกลุ่มในฟาร์ม และการพัฒนาสวัสดิภาพการเลี้ยงสัตว์ให้สูงขึ้นตามมาตรฐาน FARMS (Farm Animals Responsible Minimum Standard) ทั้งเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้สัตว์ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ การใช้สายพันธุ์ธรรมชาติและไม่เร่งโต ซึ่งจะช่วยให้สัตว์มีสุขภาพกายใจที่ดี ไม่เจ็บป่วยง่าย ความจำเป็นในการใช้ยาก็จะลดลง ความเสี่ยงในการก่อซูเปอร์บั๊กที่จะลดลงตามไปด้วย

logoline