svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สร้างรายได้ด้วย "แฟรนไชส์" สร้างธุรกิจ ฝ่าโควิด-19

11 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ก.พาณิชย์" จับมือ"สถาบันการเงิน"เปิดโครงการสร้างรายได้ ให้กลุ่ม SMEs และ Micro SMEs ฝ่าโควิด-19 ด้วย ธุรกิจ"แฟรนไชส์"

วันที่ 11 ตุลาคม 2564    รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีพาณิชย์  จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  เปิดโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ ฝ่าโควิด-19 ปี 2564  ร่วมกับผู้บริหารสถาบันการเงินและหน่วยงานพันธมิตร  โดยโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19 นี้ กระทรวงพาณิชย์ หวังให้เกิดพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจ ภายใต้วิกฤตโควิด   ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะ SMEs และ Micro SMEs 

ธุรกิจแฟรนไชส์  เป็น ส่วนหนึ่งใน SMEs และ Micro SMEs มีมูลค่าตั้งแต่หลัก 2,000 บาท ไปถึงหลัก

10 ล้านบาท โดยในปี 2564 มีแฟรนไชส์ของคนไทย 597 แฟรนไชส์ มูลค่าการตลาดเฉลี่ยปีละ 300,000 ล้านบาท  กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะ  แฟรนไชส์ 597 ธุรกิจ  มี“ลูกช่วง”  ซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ 42,000 รายทั่วประเทศ  ช่วยสร้างอาชีพ-สร้างรายได้  และลดอัตราการว่างงานและที่สำคัญสูงสุด คือ ช่วยธุรกิจ SMEs และ Micro SMEs  ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

โครงการนี้ มี 2 กิจกรรมหลัก คือ 1. กิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow ใน 15 จังหวัด ทั่วทุกภาค ยกขบวนแฟรนไชส์ไปแสดงและขายลูกช่วง รวม 15 จังหวัด ตลอดเดือนตุลาคมนี้ ที่จะช่วยขยายธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีบทบาทในภาคเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น และ

2.จัดกิจกรรมใหญ่ที่อิมแพค เมืองทองธานี ภายใต้กิจกรรม MOC แฟรนไชส์สร้างอาชีพ โดยจัด 5 วัน ช่วงเดือนธันวาคมปีนี้ จะมีแฟรนไชส์กว่า 400 รายเข้าไปร่วม และจะมีการประชาสัมพันธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ และขาย“ลูกช่วง”ในงานด้วย   ที่สำคัญคือ จะมีการขาย“ลูกช่วง” ในราคาพิเศษ และจะมีโครงการจับคู่กู้เงินระหว่างสถาบันการเงินกับแฟรนไชส์เกิดขึ้นด้วย

แฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow  15 จังหวัด

" ถือเป็นโครงการจับคู่กู้เงินภาค 3 ต่อจาก จับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับร้านอาหาร จับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออ ผลที่จะเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมนี้คือ ช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาซื้อแฟรนไชส์ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย จะช่วยให้ก่อเกิดการขายลูกช่วงหรือ ไลเซนต์ เฉพาะงานนี้ 1,500 ล้านบาท แต่ทั้งปีโดยกิจกรรมนี้เป็นตัวกระตุ้นจะไม่ต่ำกว่า 4,600 ล้านบาท  คาดว่า  จะช่วยเศรษฐกิจฐานราก ให้สามารถก้าวผ่านวิกฤติ โควิด-19 ไปได้ และหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่า  การบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป " นายจุรินทร์ กล่าว

logoline