svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

การบริจาคเลือด เพื่อให้คนใดคนหนึ่งทำได้จริงหรือไม่

16 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอแล็บเผย การบริจาคเลือด เพื่อให้คนใดคนหนึ่งทำได้จริงหรือ เนื่องจากมีการแชร์กันค่อนข้างเยอะ ในกรณีเช่น ต้องการเลือดด่วนมาก ช่วยพ่อเราด้วย บริจาคเลือดแล้วอย่าลืมระบุชื่อพ่อเราด้วยนะ ความจริงแล้วทำได้หรือไม่

16 กันยายน 2564 "หมอแล็บแพนด้า" ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง  เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก "หมอแล็บแพนด้า" ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจโดย ระบุข้อความว่า บริจาคเลือดเพื่อให้คนใดคนหนึ่งทำได้จริงหรือไม่? ผมนำเรื่องนี้มาเล่า เพราะเห็นมีการแชร์กันค่อนข้างเยอะ เช่น ช่วยพ่อเราด้วย พ่อเราชื่อ นาย.... อยู่โรงพยาบาลนี้.... ต้องการเลือดด่วนมาก บริจาคเลือดแล้วอย่าลืมระบุชื่อพ่อเราด้วยนะ จริงๆแล้วทำได้ไหมนะ

 

ตอบได้เลยครับว่าส่วนใหญ่จะไม่ทำกัน (บางครั้งอาจทำได้จริง แต่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก) เพราะอะไรนะหรือครับ การช่วยชีวิตผู้ป่วยนั้น จะต้องกระทำโดยเร็วที่สุด หากมีเลือดอยู่แล้วในธนาคารเลือด เราจะนำเลือดที่มีอยู่ในสต็อกนำไปให้ผู้ป่วยก่อนครับ ชีวิตผู้ป่วย รอไม่ได้ หากมีเลือดอยู่ในมือต้องนำมาใช้ก่อน เลือดทุกถุงจะผ่านการตรวจคุณภาพของเลือดมาแล้วว่าปลอดภัย ไม่มีเชื้อที่ติดต่อทางเลือดอยู่ในถุง เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส ตับอักเสบชนิด บี และ ซี เป็นต้น

 

การบริจาคเลือด เพื่อให้คนใดคนหนึ่งทำได้จริงหรือไม่

ดังนั้น เมื่อตรวจคัดกรองตามระบบที่องค์การอนามัยโลกกำหนด เลือดทุกถุงควรจะมีคุณภาพไม่ต่างกัน หากจะรอเลือดที่ระบุว่า บริจาคให้ผู้ป่วยคนนี้เท่านั้น ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตก่อนครับ เพราะกระบวนการตรวจคุณภาพของเลือดต้องใช้เวลานาน และมีหลายขั้นตอนพอสมควรดังนี้

 

1. การตรวจกรุ๊ปเลือดทุกรายซ้ำอีกครั้งในห้องแล็บ นอกจากนี้ยังมีการตรวจกรองแอนติบอดีที่มีผลต่อการให้เลือดอีกด้วย

2. ตรวจคัดกรองเชื้อโรคด้วยวิธีต่างๆ โดยเฉพาะการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อโรค ใช้เวลา 5 ชั่วโมงขึ้นไป

3. เลือดที่บริจาคมา ไม่ใช่ว่าจะนำไปใช้ได้เลย จะต้องนำไปปั่นแยกให้ได้ส่วนประกอบของโลหิตหลายอย่าง

เช่น เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด หรือน้ำเหลือง ใช้เวลานานมาก

4. เมื่อจะนำเลือดไปให้ผู้ป่วย ก็ต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยากอีกหลายชั้น เช่น ตรวจหมู่เลือดและแอนติบอดีอีกครั้ง

 

การบริจาคเลือด เพื่อให้คนใดคนหนึ่งทำได้จริงหรือไม่

ตรวจสอบผลการตรวจครั้งที่แล้วกับครั้งปัจจุบันต้องตรงกัน รวมถึง ตรวจความเข้ากันได้ของโลหิต พูดง่ายๆก็คือ เอาเลือดมาทดสอบผสมกันในหลอดทดลอง ว่าเลือดผู้ป่วยกับเลือดบริจาคจะเข้ากันได้ไหม ขั้นตอนเยอะเนอะ

 

ดังนั้น การที่เราไปบริจาคเลือดเพื่อระบุผู้รับ มักจะเป็นการบริจาคเลือดเพื่อไปทดแทนเลือดที่ถูกใช้ไปก่อนหน้านี้ซะมากกว่าครับ การบริหารจัดการเลือดในธนาคารเลือดนั้น เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าจะอธิบายได้หมดแบบสั้นๆ อย่างไรก็ตามการให้เลือดแบบระบุตัว จะเกิดขึ้นได้น้อย ถ้าเราช่วยๆกันบริจาคเลือดให้มีใช้อย่างพอเพียงครับ ปะ...ไปบริจาคเลือดกันเถอะ

 

logoline