svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จ่ายเงินเยียวยา “มัคคุเทศก์” ม.33 ม. 39 ม.40

10 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่ลอยแพ “มัคคุเทศก์” จัดเข้าระบบผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินเยียวยา พร้อมเร่ง “ฉีดวัคซีน” รองรับการเปิดประเทศ

10 กันยายน 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย และทั่วโลก โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเริ่มได้รับผลกระทบทันทีเมื่อประเทศต่างๆ ประกาศห้ามประชาชนเดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงไปอย่างสิ้นเชิง

 

ธุรกิจโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึก และธุรกิจนำเที่ยวบางรายประกาศปิดกิจการชั่วคราว และบางรายต้องปิดกิจการถาวร

 

ผลกระทบนี้ส่งผลต่อการจ้างงานและความเป็นอยู่ของแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังเช่น "อาชีพมัคคุเทศก์" ซึ่งเป็นหนึ่งในอาชีพที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีมัคคุเทศก์ตกงาน ไม่มีอาชีพสำรอง ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายและบางคนไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนของภาครัฐได้ 

 

จ่ายเงินเยียวยา “มัคคุเทศก์” ม.33 ม. 39 ม.40

 

กรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีบทบาทในการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะหรือการนำเที่ยวโดยมัคคุเทศก์มาอย่างต่อเนื่อง และมีความเข้าใจในปัญหา รวมถึงรับทราบความเดือดร้อนของมัคคุเทศก์มาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เสนอให้รัฐบาลมีมาตรการหรือแนวทางให้ความช่วยเหลือ โดยสรุปได้ดังนี้

มาตรการเยียวยารายได้

 

-️ เงินชดเชย 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน จากโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" ซึ่งภาครัฐได้พิจารณาเงินชดเชยรายได้ให้กลุ่มอาชีพที่ได้รับความเดือดร้อน โดยประเมินผลกระทบจากโควิด-19 และต้องมีฐานข้อมูลตรวจสอบได้ชัดเจน ซึ่งอาชีพมัคคุเทศก์อยู่ในกลุ่มฐานข้อมูลกลุ่มแรกที่ได้สิทธิรับเงินเยียวยาดังกล่าวโดยทันที

 

- ️เงินชดเชยเพื่อเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 40 โดยมาตรา 33 กรณีมัคคุเทศก์เป็นลูกจ้างและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนหรือรายวัน นายจ้างมีหน้าที่ดำเนินการลงทะเบียนรับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคมให้แก่มัคคุเทศก์

 

และหากมัคคุเทศก์มีความประสงค์ต้องการรับวัคซีนโควิด-19 สามารถแจ้งนายจ้างเพื่อยื่นความประสงค์ในระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคมได้ และมาตรา 40 กรณีมัคคุเทศก์อิสระจะดำเนินการลงทะเบียนด้วยตนเอง

 

ซึ่งล่าสุดผู้ประกันตนทั้ง 2 ประเภท ได้รับเงินเยียวยา จำนวน 2,500-5,000 บาท ระยะเวลา 1-2 เดือน ตามแต่กรณี จ่ายเงินเยียวยา “มัคคุเทศก์” ม.33 ม. 39 ม.40

จัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่มัคคุเทศก์

 

-️ กรมการท่องเที่ยวได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อมัคคุเทศก์ที่มีความประสงค์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 1,085 ราย เสนอกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการจัดหาวัคซีนในภาพรวม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมัคคุเทศก์ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอยู่ระหว่างการจัดหาวัคซีนให้กับมัคคุเทศก์ดังกล่าว

 

-️กรณีมัคคุเทศก์ในต่างจังหวัดจะได้รับการจัดสรรวัคซีนภายใต้การบริหารจัดการของแต่ละจังหวัด แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้มัคคุเทศก์ได้รับวัคซีนเร็วขึ้น กรมการท่องเที่ยวได้ประสานไปยังสาธารณสุขจังหวัด เพื่อขอให้จัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่มัคคุเทศก์เพิ่มมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดประเทศ

 

- การยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ กรมการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ เป็นเวลา 5 ปี ในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของมัคคุเทศก์ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19

 

- จัดอบรมให้ความรู้ Upskill-Reskill มัคคุเทศก์และบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในหลากหลายสาขาอาชีพด้วยระบบออนไลน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดประเทศด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ และการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายไว้ต่อไป

 

จ่ายเงินเยียวยา “มัคคุเทศก์” ม.33 ม. 39 ม.40

logoline