svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“นักวิชาการ” ฉะ “สธ.”มั่ว ไทยตายจากโควิดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก

17 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจากกระทรวงสธารณะสุขออกมาแถลงถึงตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 โดยระบุว่าอัตราการเสียชีวิตของคนไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยล่าสุด สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ ออกมาระบุว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง

กรณีการรายงานตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 และอัตราการเสียชีวิตของประชาชนชาวไทยที่สาธารณะสุขได้ให้ข้อมูลว่ายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยล่าสุด สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์เฟสบุ๊ก “Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล”  ระบุว่าต้องการให้สื่อมวลชนนำเสนอข้อเท็จจริงไม่ใช่เพียงนำเสนอตัวเลขตามที่รับบาลได้ประกาศ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวเป็นการนำสถิติเก่ามาเปรียบเทียบ พร้อมระบุด้วยว่าความจริงคืออัตราการตายต่อประชากรย้อนหลัง 7 วันของไทยวันนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกกว่าสองเท่า และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทวีปเอเชียราว 2.6 เท่า

“อยากเห็นสื่อมวลชนทั้งหลายเลิกเผยแพร่ความเข้าใจผิดที่รัฐบาลสร้างจากการใช้ตัวเลขในทางที่ผิดได้แล้วนะคะ เวลารายงานสิ่งที่ สธ. ศบค. ฯลฯ พูด รายงานแต่ตัวเลขจริงประจำวัน เช่น จำนวนผู้ป่วย ผู้ตาย ฯลฯ ก็พอ ไม่จำเป็นต้องรายงานการตีความตัวเลขที่ทำให้คนเข้าใจผิดด้วย

 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวาน (15 ส.ค.) สธ. แถลงว่า "อัตราการตายจากโควิด-19 ของไทย ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก" แล้วสื่อก็พร้อมใจกันพาดหัวแบบนี้ตาม สธ. เป็นนกแก้วนกขุนทอง (เช่น https://mgronline.com/qol/detail/9640000080120) ทั้งที่ในความเป็นจริง คำพูดนี้ถูกต้องก็ต่อเมื่อเทียบกับ ***ค่าเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่โลกเริ่มเจอโรคนี้เมื่อเดือน ม.ค. ปี 2563 นานนับปีก่อนมีวัควีน*** เท่านั้น ซึ่งการเปรียบเทียบแบบสะสมตั้งแต่ปีมะโว้นี้ ไม่มีใครเขาทำกัน เพราะทำให้ไม่เห็นภาพ "สถานการณ์ที่แท้จริง ณ ปัจจุบัน"

 

(เหมือนกับสมมุติมีคนพูดว่า "จีดีพีเรายังเติบโตดีกว่าค่าเฉลี่ยโลก" โดยเอาจีดีพีตลอด 20 ปีมาเทียบ แทนที่จะเอาข้อมูลไตรมาสล่าสุดมาเทียบ คำพูดนี้ต่อให้จริง ก็ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรเลย เพราะเราสนใจการเติบโต "ปัจจุบัน" มากกว่า)

ดังนั้น ถ้าจะเทียบสถิติช่วงโควิด-19 ที่จะบอกเราเรื่อง "สถานการณ์ปัจจุบัน" เทียบกับ "ต่างประเทศ" ได้ ไม่ว่าจะ เป็น อัตราการป่วย อัตราการตาย อัตราการฉีดวัคซีน หรือสถิติอะไรก็ตาม ทั้งหมดนั้นควรเทียบ 1) ต่อจำนวนประชากร (เพราะประเทศเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน) และ 2) ใช้ค่าเฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง (7-day rolling average) เพื่อฉายภาพ "แนวโน้ม" ล่าสุด (ถ้าใช้ตัวเลขประจำวันล่าสุดจะไม่เห็นแนวโน้ม) ไม่ใช่ใช้ **ค่าสะสม** ตั้งแต่ปีมะโว้ แบบที่ สธ. ทำค่ะ

 

ภาพประกอบนี้แสดงอัตราการตายยืนยันจากโควิด-19 (คือยังไม่รวมอัตราการตายเกินปกติหรือ excess mortality ที่ของไทยก็สูงมากๆ) ต่อประชากร 1 ล้านคน โดยใช้ค่าเฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง  ของ ไทย เทียบกับโลก และทวีปเอเชีย ตั้งแต่ 1 ม.ค. 64 ถึง 14 ส.ค. 64 จะเห็นว่าประโยค "อัตราการตายจากโควิด-19 ของไทย ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก" ที่ สธ. อ้าง ไม่เป็นความจริงแล้วถ้าดู "สถานการณ์ปัจจุบัน" จริงๆ ไม่ใช่ตัวเลขสะสมตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว (ซึ่งถ้าใช้ตัวเลข "สะสม" ก็ไม่ควรใช้คำว่า "สถานการณ์" เลย ผิดฝาผิดตัวมาก) -- ความจริงคือ อัตราการตายต่อประชากรย้อนหลัง 7 วันของไทยวันนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกกว่าสองเท่า และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทวีปเอเชียราว 2.6 เท่า

 

จะเขียนอธิบายเรื่องการใช้สถิติในทางที่ผิด 5-6 ตัวอย่าง และการประเมินสถานการณ์ "ที่แท้จริง" ลงคอลัมน์ตอนหน้าค่ะ “

“นักวิชาการ” ฉะ “สธ.”มั่ว ไทยตายจากโควิดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก

logoline