svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กุนซือและมือกม.รัฐบาล ชี้เห็นแสงคดีโฮปเวลล์ฟันธงหมดอายุความ

19 มีนาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"วิษณุ" มองสัญญาณบวก-รื้อคดีค่าโง่โฮปเวลล์ แต่ยังบอกไม่ได้ว่าต้องเสีย 2.5 หมื่นล้านหรือไม่ ด้าน"พีระพันธ์ุ" ฟันฉับ คดีขาดอายุความแล้ว หลังศาล รธน.ชี้มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ปมนับอายุความ ขัด รธน. พร้อมไล่ไทม์ไลน์นับระยะเวลาของคดี

 วันนี้ (18 มี.ค.)นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชี้ขาดว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ปี 2545 เรื่องการนับระยะเวลาฟ้องคดีปกครองให้เริ่มตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการ คือ วันที่ 9 มีนาคม 2544 ที่นำมาใช้อ้างอิงในคดีค่าโง่โฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้าน ขัดรัฐธรรมนูญว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นคุณ เป็นสัญญาณบวก หลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะเป็นเจ้าของเรื่อง อย่างไรก็ดีหากต้องการความคิด ความเห็นเรื่องใด สามารถเชิญหน่วยงานต่างๆ มาระดมความเห็นได้เมื่อถามว่าสรุปได้เลยหรือไม่ว่าไม่ต้องเสียค่าโง่ 2.5 หมื่นล้านบาทแล้ว นายวิษณุกล่าวว่า บอกได้เลย ว่า บอกไม่ได้เลย ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร

เมื่อถามว่าจะจบในรัฐบาลนี้เลยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะอยู่ที่ดูคู่กรณีด้วย

เมื่อถามว่าถือเป็นนิมิตหมายที่ดีหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ก็ดีๆ ร้ายๆ ไปเรื่อย แต่อย่างน้อยขณะนี้ถือว่าดีด้านนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานศึกษาปัญหาสัญญาโฮปเวลล์ ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า ทำให้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ โดยคดีนี้ถือว่าขาดอายุความไปแล้ว เนื่องจากข้อพิพาทที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นเดือนมกราคม ปี 2541 นับจากวันที่ ครม.มีมติบอกเลิกสัญญากับบริษัท โฮปเวลล์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งในขณะนั้นการนับอายุความคดีปกครอง ต้องใช้ตามมาตรา 51 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่กำหนดอายุความคดีปกครองไว้แค่ 1 ปี เท่ากับคดีนี้ต้องหมดอายุความในปี 2542 แต่โฮปเวลล์ไปยื่นคำร้องต่ออนุญาโตตุลาการในปี 2547 ถือว่ากรณีนี้หมดอายุความไปแล้ว ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย มาโดยตลอด แม้ว่าในภายหลังจะมีการแก้ไขมาตรา 51 เพิ่มอายุความจาก 1 ปี เป็น 5 ปี และไม่เกิน 10 ปี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะไม่ได้เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะมีข้อพิพาท


"แม้ว่าจะนับอายุความตามกฎหมายมาตรา 51 ที่มีการแก้ไขใหม่ อายุความก็จบลงที่ปี 46 แต่โฮปเวลล์ยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการปี 47 ถือว่าคดีขาดอายุความไปแล้ว และจะนำเรื่องอายุความ 10 ปี ที่กำหนดไว้ในมาตรา 51 มาใช้ไม่ได้ เนื่องจากต้องเป็นกรณีที่ไม่ทราบว่าเหตุพิพาทเกิดขึ้นเมื่อใด แต่กรณีนี้มีการแจ้งบอกเลิกสัญญาชัดเจนในปี 2541 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เรื่องให้นับอายุความตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการขัดรัฐธรรมนูญ ก็ต้องไปใช้การนับอายุความตามมาตรา 51 ซึ่งถือว่าคดีนี้หมดอายุความไปแล้ว" นายพีระพันธุ์ กล่าว


logoline