เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) มีเนื้อหา ดังนี้
โดยที่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 นั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2560 กำหนดให้การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศ ต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ซึ่งต่อมายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2561 และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562 ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
โดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ดำเนินการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วเสร็จ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรายงานต่อรัฐสภาเพื่อทราบแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับต่อไป
เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2560 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ได้ดำเนินการเสนอร่างแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพิจารณาความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยแล้ว
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ และรัฐสภารับทราบแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงให้ประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
- เด้ง พ.ต.ท. เซ่นเมียถ่าย TikTok อวดขึ้น ฮ. หลวง
- "ต้อย เศรษฐา" ติดโควิด! หลังตรวจรอบ 2
- ศบค.มหาดไทย อัพเดท 47 จังหวัด เดินทางไปต้อง "กักตัว"
สำหรับแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ฉบับปรับปรุงใหม่ มีจำนวน 354 หน้าทั้งหมด 13 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านการเมือง 2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3.ด้านกฎหมาย 4.ด้านกระบวนการยุติธรรม 5.ด้านเศรษฐกิจ 6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7.ด้านสาธารณสุข 8.ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ 9.ด้านสังคม 10.ด้านพลังงาน 11.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 12.ด้านการศึกษา และ 13.ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากร
อ่านรายละเอียดทั้งหมด ที่นี่