svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

05 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เป็นประเด็นฮอตที่กำลังพูดถึงในวงกว้างสำหรับ แฮชแท็ก #เอ๋ปารีณา ที่ตอนนี้ชาวเน็ตในทวิตเตอร์ให้ความเห็นว่าจริง ๆ แล้ว เรื่องของคุณเอ๋ ที่กำลังตอบโต้กับ ดร.บุ๋ม ปนัดดา นั้นเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คนออกจากเรื่อง CPTPP

ดราม่าเรื่องศึกษาเวทีนางงามยังไม่ทันจางก็มีประเด็นใหม่มาให้ "เอ๋ ปารีณา"กันอีกแล้ว ซึ่งชาวเน็ตในโลกออนไลน์อย่างทวิตเตอร์มองว่า ประเด็นศึกนางงามนั้น เป็นเพียงกลยุทธ์ในการไม่ให้คนสนใจเรื่อง CPTPP
โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมานั้น แฮชแท็กชื่อคุณ #เอ๋ปารีณา ก็ติดเทรนด์ทวิตเตอร์เมืองไทยควบคู่ไปกับ แฮชแท็ก #CPTPP ที่คนในโลกออนไลน์กำลังพูดถึงกันอยู่ในวงกว้างขณะนี้โดยหลายความเห็นมองว่าจริงแล้ว ประเด็นเรื่องคุณเอ๋ ที่มีการโต้เถียงกันคุณบุ๋ม ปนัดดา นั้นเป็นเพียงการเบี่ยงแบนความสนใจ เพื่อให้คนมองข้ามเรื่อง CPTPP

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น


ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น


ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น


ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น




CPTPP นั้นทาง SCB Economic Intelligence Center ให้รายละเอียดไว้ว่า CPTPP มีชื่อเต็มวคือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
ความตกลงนี้ริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2006 มีชื่อเดิมว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) และมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในตอนนั้นถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2017 ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อโดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ปัจจุบัน สมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม
ข้อแตกต่างระหว่าง CPTPP กับ TPP นั้นอยู่ตรงที่ขนาดของเศรษฐกิจ และการค้าที่เล็กลง แต่มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น มีรายงานจากธนาคารโลกระบุว่า ขนาดเศรษฐกิจรวมของ CPTPP หลังไม่มีสหรัฐฯ ลดฮวบจาก 38% ของเศรษฐกิจโลก เป็น 13% ส่วนขนาดการค้ารวมลดลงจาก 27% เป็น 15%

ขณะที่รายละเอียดในกฎหมายบางข้อถูกระงับไป อาทิ ข้อบัญญัติ (provision) 22 ข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่สหรัฐฯ สนับสนุนมาก แต่ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศสมาชิกอื่น ๆ เท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น การคุ้มครองอุตสาหกรรมยา การขยายระยะเวลาคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจาก 50 ปีเป็น 70 ปี และการให้สิทธินักลงทุนฟ้องร้องรัฐบาลในบางกรณีที่นโยบายรัฐส่งผลลบต่อธุรกิจ เป็นต้น

อ่าน : CPTPP เพิ่มเติม

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น

logoline