svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"

21 กุมภาพันธ์ 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ถึงนาทีนี้มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับคดีเงินกู้ของพรรคอนาคตใหม่ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันนี้ โดยส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า "ยุบ" มากกว่า "ไม่ยุบ" ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ายุบพรรคอนาคตใหม่

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"


แต่จากการตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พบว่าผลวินิจฉัยของคดีนี้ยังมีโอกาสออกได้ 3 แนวทาง แต่ก่อนจะลงลึกถึง 3 แนวทางนั้น ต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า ข้อหาที่ กกต.ชงให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ เป็นความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 72 ที่กำหนดห้ามพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฉะนั้นการวิเคราะห์แนวโน้มคำวินิจฉัย จะต้องตั้งอยู่บนข้อหาตามมาตรา 72 เป็นหลัก
แนวทางแรก ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ซึ่งหากคำวินิจฉัยออกมาแนวนี้ แสดงว่าศาลมองว่าพรรคการเมืองไม่สามารถกู้เงินได้ โดยอ้างอิงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 62 ที่เขียนไว้ชัดว่า พรรคการเมืองอาจมีรายได้จาก 7 ช่องทาง แต่ไม่มีเรื่องการกู้เงิน
ฉะนั้นเมื่อพรรคการเมืองกู้เงินไม่ได้ การที่พรรคอนาคตใหม่รับเงินกู้มา จึงถือเป็นการรับ "เงินหรือประโยชน์อื่นใด" โดยรู้หรือควรรู้ว่าได้มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือศาลไม่ได้มองว่าเงินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น เป็นเงินค้ายา แต่มองว่าวิธีการได้มาไม่ชอบตามกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้กู้ แต่พรรคอนาคตใหม่ดันไปกู้มา
ถ้าศาลเชื่อแบบนี้ ผลก็คือ พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ตามมาตรา 92 และ กกต.ต้องเดินหน้าฟ้องคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคด้วย เพราะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แนวทางนี้ถือว่า "จัดหนัก"

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"

แนวทางที่ 2 วินิจฉัยว่าการกู้เงินเป็นเรื่องผิด แต่ไม่ยุบพรรค หมายความว่าการกู้เงินเป็นเรื่องไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้ทำได้ และมองว่าการทำสัญญากู้ในระยะยาว ไม่มีหลักประกัน แถมดอกเบี้ยต่ำ ยอดกู้เกือบ 200 ล้านบาท อาจถือได้ว่าเป็นการทำ"นิติกรรมอำพราง"เพื่อหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์การรับบริจาค ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บุคคลสามารถบริจาคได้ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อพรรคต่อปี
เมื่อตีความว่าเป็นการบริจาคเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็จะเข้าข่ายผิดมาตรา 66 คือบริจาคเกินเกณฑ์ มีความผิดทั้งผู้บริจาคและพรรคที่รับบริจาค
โดยผู้บริจาค ในกรณีนี้ก็คือนายธนาธร หัวหน้าพรรค ผิดตามมาตรา 124 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอีก 5 ปี

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"


ส่วนพรรคอนาคตใหม่ ในฐานะผู้รับบริจาค จะผิดตามมาตรา 125 ระวางโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนด 5 ปี และให้ริบเงินส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทเข้ากองทุนพัฒนาพรรคการเมือง (ริบ 190.2 ล้านบาท)
ขณะที่โทษยุบพรรคตามมาตรา 72 ศาลอาจตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าน่าจะหมายถึง "ที่มาของเงิน" ไม่ชอบด้วยกฎหมายมากกว่า ซึ่งหากตีความแบบนี้ พรรคอนาคตใหม่ก็จะรอดจากการถูกยุบพรรค

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"

แนวทางที่ 3 ศาลยกคำร้องโดยอาจวินิจฉัยว่าการกู้เงินเป็นเรื่องผิด แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดโทษเอาไว้ จึงสั่งให้คืนเงิน หรือวินิจฉัยว่าการกู้เงินไม่ผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่ได้ห้าม ตามที่พรรคอนาคตใหม่อ้างมาตลอดก็เป็นได้
แต่แนวทางนี้ หากศาลวินิจฉัยออกมาจริง ก็ต้องตอบคำถามว่าจะวางบรรทัดฐานให้พรรคการเมืองกู้เงินมาใช้ทำกิจกรรมทางการได้เมืองอย่างเสรี จนทำให้เกิดการครอบงำพรรค หรือประมูลซื้อเก้าอี้รัฐมนตรีกันล่วงหน้าตามที่หลายฝ่ายกังวลหรือไม่นี่คือ 3 แนวคำวินิจฉัยคดีเงินกู้ของพรรคอนาคตใหม่ที่พอจะประเมินได้ในช่วงนับถอยหลัง

4 ประเด็นวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
1.ผู้ร้องมีอำนาจร้องหรือไม่
2.มีเหตุยุบพรรคหรือไม่
3. กก.บห.พรรคของผู้ถูกร้องถูกเพิกถอนสิทธิ์หรือไม่
4.ผู้เคยดำรงตำแหน่ง กก.บห.ของพรรคผู้ถูกร้อง จะมีส่วนจดทะเบียนตังพรรคขึ้นใหม่ มีกำหนด 10 ปีนับตั้งแต่ยุบพรรคหรือไม่

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"

ศาลรธน.จึงมีคำวินิจฉัยดังนี้
15.09 น. ประเด็นวินิจฉัยที่ 1 ผู้ร้องมีอำนาจร้องหรือไม่ ศาลเห็นว่า พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 92 ประกอบมาตรา 93 ให้อำนาจ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลได้
15.16 น. ที่ผู้ถูกร้อง (อนค.) โต้แย้งว่า อนุ กกต.เสนอ กกต.ว่าคดีไม่มีมูล กกต.ต้องสั่งยุติเรื่อง แต่เลขาธิการ กกต. (นายทะเบียน) กลับยื่นคำร้องให้ศาลยุบพรรคตาม มาตรา 72 ถือว่าผิดขั้นตอนกฎหมายนั้น ศาลเห็นว่ากฎหมายและระเบียบ กกต. เปิดช่องให้ กกต.สั่งแสวงหาข้อเท็จจริงได้ตลอดเวลาเมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อ ไม่ว่าจะมาจากทางใด ความเห็นของ กกต.เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับคณะกรรมการไต่สวน สืบสวน15.18 น. กระบวนการดำเนินคดีอาญา กับการยื่นศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค เป็นอิสระจากกัน และ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
15.19 น. อนค.โต้แย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตามกฎหมายในเรื่องยุบพรรค ศาลเห็นว่าข้อโต้แย้งนี้ฟังไม่ขึ้น
15.21 น. คำร้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย เพราะข้อเท็จจริงยุติแล้ว ศาลรธน.ดำเนินการตามกระบวนพิจารณาของศาล ตั้งแต่รับคำร้องเมื่อเดือน ธ.ค. มีการนั่งประชุม 11 ครั้ง ถือว่าใช้ระยะเวลาในการพิจารณาคดีโดยละเอียดถี่ถ้วน นานพอสมควร และได้ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ใช้เวลา 71 วัน ไม่ได้เร่งรัดรวบรัด
15.22 น. ประเด็นวินิจฉัยที่ 2 มีเหตุยุบพรรคตามมาตรา 92 หรือไม่ อ้างถึงมาตรา 66 เรื่องบริจาคให้พรรคการเมืองเกิน 10 ล้านบาทมิได้ พรรคการเมืองก็รับบริจาคเกิน 10 ล้านไม่ได้ อ้างถึงมาตรา 72 อ้างถึง รธน.มาตรา 45 ให้เสรีภาพในการรวมตัวกันตั้งพรรคการเมือง โดยการดำเนินการของพรรคมีความเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำ ป้องกันไม่ให้เกิดธุรกิจการเมือง ป้องกันไม่ให้ใครใช้เงินมาครอบงำ ชี้นำพรรคการเมืองได้ จึงมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมารองรับ15.26 น. บทบัญญัติ พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 66 ป้องกันบุคคลไม่ให้อาศัยความได้เปรียบทางการเงินมาครอบงำ ชี้นำพรรคการเมือง จนทำให้พรรคการเมืองไม่เป็นอิสระ ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันภายในอย่างแท้จริง พรรคการเมืองอาจกลายเป็นเครื่องมือของผู้มีอิทธิพล15.30 น. พรรคการเมืองสามารถกู้เงินได้หรือไม่ ศาลเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองต้องอาศัยรายได้ของพรรคการเมือง ซึ่งมาตรา 62 กำหนดไว้ หากพรรคการเมืองนำเงินมาจากส่วนอื่น ก็ถือว่าเป็นเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้กฎหมายจะไม่ได้เขียนห้ามไว้ชัดเจน แต่ก็ไม่ได้เขียนรับรองให้ทำได้ เงินกู้ถือเป็นรายรับ พรรคการเมืองถือเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
15.32 น. ศาลอธิบายนิยามของคำว่า "บริจาค" ซึ่งหมายรวมถึงประโยชน์อื่นใดด้วย ไม่เฉพาะเงิน นิยามคำว่า "ประโยชน์อื่นใด" หมายถึงการให้บริการ การให้ส่วนลด มีค่าตอบแทน หรือทำให้หนี้ที่พรรคการเมืองเป็นหนี้ลดลง หรือหมดสิ้นไป ฉะนั้นการให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าที่คิดตามปกติทางการค้า จึงเข้าข่าย "ประโยชน์อื่นใด"
15.33 น. มวลชน เริ่มโห่ ในขณะที่ศาลอ่านคำพิพากษา เงินที่พรรคการเมืองจะนำมาทำกิจกรรมทางการเมืองจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดพร้อมตะโกนด่าทอไม่พอใจ15.35 น. คำว่าบริจาค และประโยชน์อื่นใด จึงมีความหมายเฉพาะตามกฎหมายนี้ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบ ที่ต้องการให้พรรคการเมืองมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ป้องกันบุคคลหรือกลุ่มบุคคลป้องกันการใช้พรรคกาเรมืองเพื่อหาประโยชน์ส่วนตน หรือใช้ความได้เปรียบทางการเงินครอบงำพรรคการเมือง
15.36 น. งบการเงินของ อนค.ปี 61 มีรายได้จากทุนประเดิม 1.06 ล้านบาท รายได้เงินบำรุงสมาชิก 8.6 ล้านบาท รายได้จากการจำหน่ายสินค้า 2.7 ล้านบาท รายได้จากเงินบริจาค 58.7 ล้านบาท รายได้อื่น 3 หมื่นบาท รวมรายได้ 70 กว่าล้าน ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุกการจำหน่ายสินค้า 2 ล้านกว่าบาท ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 61 ล้าน ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ 8 ล้าน รวมค่าใช้จ่าย 70 กว่าล้าน ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ 1 ล้านบาทเศษ แต่ อนค.กลับทำสัญญากู้เงินถึง 191.2 ล้านบาท (สัญญากู้ 2 ฉบับ) แต่คิดอัตราดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับ ไม่เป็นปกติทางการค้า ถือว่าเข้าข่ายประโยชน์อื่นใด
15.39 น. การคืนเงินในเดือนเดียวกับที่กู้ ถือว่าผิดปกติวิสัย สัญญากู้ฉบับที่ 2 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 และรับเงินในวันทำสัญญาเพียง 2 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ยังมีหนี้เก่าอยู่ และยังไม่มีหลักประกันเงินกู้ ถือว่าผิดปกติวิสัย รวมเงินกู้ 191.2 ล้านบาท เงินบริจาคของนายธนาธรอีก 8 ล้านในปี 62 ถือว่าพรรครับบริจาคเกิน 10 ล้านบาท ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 66 วรรค 2
15.43 น. อนค.กระทำผิดมาตรา 72 สั่งยุบพรรค ตามมาตรา 92 พร้อมสั่งถอนสิทธิ์สมัครของสมาชิกพรรค 
15.44 น. มวลชนอนาคตใหม่ ตะโกนไม่พอใจ หลังศาลมีคำพิพากษายุบพรรคอนาคตใหม่
15.48 น. ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบ ไปมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่เป็นเวลา 10 ปี นับจากวันที่พรรคถูกยุบ

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"

"อนาคตใหม่" ไม่รอด! ศาลฯตัดสิน "ยุบพรรค"

logoline