svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หน้าบวมท้องบวมเกิดจาก"โซเดียม" จริงหรือไม่

13 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"โซเดียม" ที่คนส่วนใหญ่ทานทุกวันโดยไม่รู้ตัว เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดเสียสมดุล หลอดเลือดจึงพยายามดูดน้ำเข้ามาเจือจางโซเดียม จนทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น และหากกินเค็มมากเกินไป

อาการท้องบวมหน้าบวม ที่เกิดขึ้นหลังรับประทานอาหาร อาจมีสาเหตุมาจาก "โซเดียม" ที่รับประทานมากเกินไปจากข้อมูลการสำรวจการบริโภคโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือ ของประชาการไทย ในปี 2550 โดยกรมอนามัยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าประชากรไทยได้รับโซเดียมจากอาหารที่บริโภคสูงถึง 4,351.7 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนดถึง 2 เท่า (ปริมาณแนะนำ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)ซึ่งเราจะพบได้ในอาหารที่มีรสเค็มหรือพวกขนม เช่นผักกาดดอง ปลาร้า เต้าเจี้ยวกุ้งแห้ง ปลาสลิดตากแห้ง ปลาหมึกตากแห้ง หมูแดดเดียวซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้ เป็นต้น

หน้าบวมท้องบวมเกิดจาก"โซเดียม" จริงหรือไม่


อาหารดีไม่ช่วยอะไร ถ้ายังเค็มอยู่

การกินอาหารแบบ DASH ย่อมาจาก Dietary Approaches to Stop HypertensionSodium เป็นวิธีการกินอาหารเพื่อลดโซเดียม รวมถึงความดันโลหิตในร่างกาย คือ การกินอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ แต่จากงานวิจัยพบว่า อาหารที่มีกากใยอาหารสูง ไขมันต่ำแบบนี้ หากรับประทานในปริมาณมาก อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงอาการบวมในร่างกายได้ โดยเฉพาะท้อง โดยอาหารประเภทนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการบวมมากถึง 41% เมื่อเทียบกับอาหารที่มีกากใยอาหารต่ำ นอกจากนี้ผู้ชายยังมีความเสี่ยงเกิดอาการท้องบวมมากกว่าผู้หญิงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อสืบสาวไปถึงต้นตอของปัญหา พบว่า การกินอาหารแบบ DASH ที่ไม่ได้ควบคุมปริมาณโซเดียม (กินผักผลไม้มากก็จริง แต่ก็ยังกินอาหารรสเค็ม ใส่เครื่องปรุงเยอะอยู่) ต่างหาก ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวม ดังนั้นต่อให้คุณรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากแค่ไหน แต่หากไม่จำกัดปริมาณโซเดียมที่กินเข้าไปในแต่ละมื้อ แต่ละวัน คุณก็ยังเกิดอาการบวมตามร่างกายได้ หนำซ้ำยังเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ เช่นความดันโลหิตสูง และโรคไตได้อีกด้วย


หน้าบวมท้องบวมเกิดจาก"โซเดียม" จริงหรือไม่


ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารคลีนอาหารที่มีการปรุงรสชาติให้น้อยที่สุด จึงเป็นทางเลือกของอาหารสายสุขภาพที่แท้จริง หลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรส หันมาใช้สมุนไพร และเครื่องเทศต่าง ๆ เพื่อเพิ่มกลิ่น และรสชาติ และหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปที่มักมีปริมาณโซเดียมสูง แล้วหันมาปรุงอาหารจากวัตถุดิบสดใหม่ทุกมื้อกันจะดีกว่า

สิ่งที่สำคัญเราควรหันมาออกกำลังกายทางการแพทย์แนะนำให้ ออกกำลังกายนานประมาณ 10 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน หรือ วันเว้นวัน หรือ ออกกำลังกาย 10 นาที แล้วรู้สึกเหนื่อยก็ให้หยุดพักก่อน แล้วจึงออกกำลังกายต่ออีก จนครบเวลา 30 นาที ก็ได้

หน้าบวมท้องบวมเกิดจาก"โซเดียม" จริงหรือไม่

logoline