svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

เปิดคำพิพากษาประหารชีวิต "นวัธ เตาะเจริญสุข"

24 กันยายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สรุปคำพิพากษา คดีอาญาหมายเลขดำที่ 929/2567 คดีหมายเลขแดงที่967/2562 ของศาลจังหวัดขอนแก่น ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นโจทก์ นางลำดวน โคตรทุม โจทก์ร่วม นายนวัธ เตาะเจริญสุข จำเลย

(อ่านศาลตัดสิน ประหาร "นวัธ" ส.ส.เพื่อไทย จ้างวานฆ่าอดีตปลัดอบจ.)
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้จ้างวาน ยุยง ส่งเสริม ดาบตำรวจวีระศักดิ์ ชำนาญพล และพันตำรวจโทสมจิต แก้วพรม กับพวกให้ฆ่านายสุชาติ โคตรทุม ผู้ตาย ต่อมาเมื่อวันที่ 3พฤษภาคม 2556 ดาบตำรวจวีระศักดิ์และพันตำรวจโทสมจิตกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนพกยิงผู้ตายหลายนัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา84, 299 จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนวันเกิดเหตุดาบตำรวจวีระศักดิ์ และพันตำรวจโทสมจิตกับพวก ร่วมกันวางแผนฆ่าผู้ตาย ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้นจนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 07.00 น.พันตำรวจโทสมจิตกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าดาบตำรจวีระศักดิ์และพันตำรจโสมจิตกับพวกมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลงโทษจำคุกตาบตำรวจวีระศักดิ์กับพวกตลอดชีวิต และประหารชีวิตพันตำรวจโทสมจิต

เปิดคำพิพากษาประหารชีวิต "นวัธ เตาะเจริญสุข"


คดีนี้ตามพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมรับฟังได้ว่ามูลเหตุในการฆ่าผู้ตายมาจากเรื่องชู้สาวที่ผู้ตายมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับภริยาจำเลย ส่วนปัญหาจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
ศาลเห็นว่าในความผิดฐานใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นกระทำความผิดนั้นผู้ที่จะใช้ให้ผู้อื่นกระทำควมผิดไม่ได้ลงมือเอง ก่อนกระทำความผิดจะต้องมีการวางแผนเพื่อตัดตอนให้ตนเองห่างจากผู้ลงมือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดไว้ เพื่อมิให้บุคคลอื่นซึ่งมีผู้ร่วมกระทำความผิดล่วงรู้ เพราะเกรงภัยจะมาสู่ตนได้โดยง่าย จึงยากที่จะหาประจักษ์พยานที่จะรู้เห็นได้ 
การจะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากพยานแวดล้อม พยานบุคคลที่เบ็นพยานบอกเล่าวัตถุพยาน ซึ่งในคดีนี้โจทก์และโจทก์ร่วมมีบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของดาบตำรวจวีระศักดิ์ ยืนยันว่าก่อนวันเกิดเหตุดาบตำรวจวีระศักดิ์ขับรถยนต์พาพันตำรวจโทสมจิตไปพบนายประพันธ์ แล้วเดินทางไปบนจำเลย พันตำรวจโทสมจิตและนายประพันธ์ข้ไปในบ้านจำเลยเป็นเวลานาน หลังจากนั้นดาบตำรวจวีระศักดิ์ขับรถพาพันตำรวจโทสมจิตไปพบนายประพันธ์ แล้วเดินทางไปบ้านจำเลย พันตำรวจโทสมจิตและนายประพันธ์เข้าไปในบ้านจำเลยเป็นเวลานาน
หลังจากนั้นดาบตำวจวีระศักดิ์ขับรถพาพันตำรวจโทสมจิตและนายประพันธ์ผ่านหน้าบ้านผู้ตาย แล้วขับกลับมาส่งนายประพันธ์ที่หน้าบ้านจำเลยในวันเกิดเหตุดาบตำรวจวีระศักดิ์ขับรถยนต์ไปเฝ้าดูความเคลื่อนไหวบริเวณหน้าบ้านผู้ตาย
ส่วนพันตำรวจโทสมจิต นายประพันธ์ และนายบุญช่วยอยู่ที่รถยนต์อีกคันหนึ่ง ซุ่มดูเหตุการณ์บริเวณปากซอยทางเข้าบ้าน จนถึงเวลาเกิดเหตุ เมื่อผู้ตายถอยรถยนต์ออกจากบ้าน ดาบตำรวจวีระศักดิ์โทรศัพท์แจ้งพันตำรวจโทสมจิต นายบุญช่วยขับรถยนต์ขวางหน้ารถผู้ตาย เมื่อผู้ตายลงมาจากรถ พันตำรวจโทสมจิตและนายประพันธ์ลงจากรถยนต์แล้วใช้อาวุธปืนยิงหลายนัด จนผู้ตายถึงแก่ความตายทันทีในที่เกิดหตุ 
ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวนั้น อยู่ในความรับรู้ของดาบตำรวจรีระศักดิ์ ยากที่พนักงานสอบสวนจะปั้นแต่งเพื่อเอาผิดจำเลยได้ และเป็นการให้การหลังเกิดเหตุไม่นานดาบตำรวจวีระศักดิ์ย่อมไม่มีเวลาที่จะคิดไตร่ตรองเพื่อปรักปรำหรือช่วยเหลือฝ่ายใด ชี้ให้เห็นว่าดาบตำรวจวีระศักดิ์ให้การด้วยความสมัครใจ คำให้การในชั้นสอบสวนของดาบตำรวจวีระศักดิ์จึงน่าเชื่อถือ 
นอกจากนี้ยังปรากฎว่า ในช่วงก่อนวันเกิดเหตุ ในวันเกิดเหตุทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุพันตำรวจโทสมจิตและจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อกันจริง พยานเหตุแวดล้อมของโจทก์และโจทก์ร่วมสอดคล้องเชื่อมโยงกันรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ผู้อื่นฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจริง จึงมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา289(4) ประกอบมาตรา 84 ลงโทษประหารชีวิต และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม

logoline