svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กทม.เปิด 5 ช่องทางเช็กน้ำท่วม

29 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กทม.เตรียมพร้อมรับมือพายุโซนร้อน เฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศ ใช้เรดาร์ตรวจจับกลุ่มฝนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ฝนตกหรือจุดที่มีปัญหาน้ำท่วม ผ่าน 5 ช่องทาง

กทม.เปิด 5 ช่องทางเช็กน้ำท่วม

นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. เปิดเผยตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา แถลงเตือนเพื่อรับมืออิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 12 เนื่องจากจะทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 31 ส.ค. - 1 ก.ย. 62 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย ขณะที่สำนักพยากรณ์ต่างประเทศคาดการณ์รัศมีของพายุดังกล่าวจะส่งผลกระทบถึงกรุงเทพฯ ว่า

กทม.เปิด 5 ช่องทางเช็กน้ำท่วม

ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำ ได้เฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศและใช้เรดาร์ตรวจจับกลุ่มฝนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ฝนตกหรือจุดที่มีปัญหาน้ำท่วม ผ่าน 5 ช่องทาง ได้แก่ Website http://dds.bangkok.go.th , Facebook : http://www.facebook.com/bkk.best , Twitter : http://twitter.com/bkk_best/bkk best , ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม. , Line ID : @bkk_best และแอปพลิเคชัน กทม. Connect


นอกจากนั้น สำนักการระบายน้ำ ได้เตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำของ กทม. เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนจากพายุโซนร้อน โดยดำเนินการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม พัฒนาระบบระบายน้ำในทุกพื้นที่ รวมถึงล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง จัดเก็บขยะและวัชพืชที่ขวางทางน้ำไหล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ บำรุงรักษาอุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ และจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบปัญหาอุปสรรคการระบายน้ำในช่วงฝนตก อีกทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ 

กทม.เปิด 5 ช่องทางเช็กน้ำท่วม

ด้าน นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า กทม. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ด้วยการตรวจสอบความปลอดภัยของต้นไม้ขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง


โดยกำหนดแนวทางดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.สำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขต สำรวจตรวจสอบความแข็งแรงต้นไม้ใหญ่และวัสดุค้ำยันต้นไม้ในพื้นที่เพื่อป้องกันกิ่งลำต้นหัก ฉีกขาด และโค่นล้ม


2.กำชับทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การตัดแต่งกิ่งที่สุ่มเสี่ยงต่อการหัก ฉีกขาด การสางโปร่ง การลดทอนความสูง และการค้ำยันต้นไม้ให้มีความมั่นคงแข็งแรง


และ 3.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่ของตนเองและตัดแต่งเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือกรณีพบเห็นต้นไม้ในที่สาธารณะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ขอความร่วมมือให้แจ้งสำนักงานเขต เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป


ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ลักษณะอากาศทั่วไป บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหล ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

กทม.เปิด 5 ช่องทางเช็กน้ำท่วม


สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย


อนึ่ง เมื่อเวลา 04.00 น. พายุระดับ 3 (โซนร้อน) "โพดุล" บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.3 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีแนวโน้มเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ย และเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 30 สิงหาคม


ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (07.00 น.) : พื้นที่กรุงเทพมหานครมีฝนตกเล็กน้อย ปริมาณฝนรวมสูงสุดที่จุดวัดคลองทวีฯ-คลองบางเชือกหนัง เขตทวีวัฒนา 10.5 มม. จุดวัดคลองภาษีฯ-คลองบางน้ำจืด เขตหนองแขม 10.0 มม. จุดวัดหมู่บ้านเศรษฐกิจซอย 26 เขตบางแค 9.5 มม.

ไม่มีรายงานจุดเร่งการระบายน้ำในถนนสายหลัก ที่สำนักการระบายน้ำรับผิดชอบ

กทม.เปิด 5 ช่องทางเช็กน้ำท่วม

               รายงานค่าระดับน้ำแนวคันกั้นน้ำด้านตะวันออกวันนี้ (29 สิงหาคม 2562)


               - ประตูระบายน้ำแสนแสบ (มีนบุรี) (ระดับวิกฤติ +0.90) เวลา 07.00 น. ระดับ +0.18 ระดับน้ำปกติ

               - ประตูระบายน้ำลาดกระบัง (ระดับวิกฤติ +0.60) เวลา 07.00 น. ระดับ +0.01 ระดับน้ำปกติ

               - ประตูระบายน้ำคลองสอง (สายใต้) (ระดับวิกฤติ +1.80) เวลา 07.00 น. +0.51 ระดับน้ำปกติ

               ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงสุดวานนี้ (28 สิงหาคม 2562)


               - ประตูระบายน้ำปากคลองตลาด ระดับ +1.05 ม.รทก. เวลา 20.00 น. 

               - สถานีสูบน้ำบางนา ระดับ +1.30 ม.รทก. เวลา 19.00 น.

               - สถานีสูบน้ำบางเขนใหม่ ระดับ +0.99 ม.รทก. เวลา 20.00 น. 

กทม.เปิด 5 ช่องทางเช็กน้ำท่วม

               ฐานน้ำขึ้นสูงสุดแม่น้ำเจ้าพระยา ณ หน้าสถานีกองบัญชาการกองทัพเรือวันนี้ (29 สิงหาคม 2562)


               - ระดับ +1.12 ม.รทก. เวลา 20.33 น.

               ปริมาณน้ำผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา (29 สิงหาคม เวลา 06:00 น.) (ลบ.ม./วินาที)


               นครสวรรค์ 624

               เขื่อนเจ้าพระยา 100

               ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (เฉลี่ย) 99

รายงานความเค็มสูงสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 28 สิงหาคม 2562 (ค่าความเค็มเกิน 1.2 กรัม/ ลิตร ควรระมัดระวังในการใช้กับพืชทั่วไป)

               1.ส.แจงร้อน 0.6 กรัม/ลิตร เวลา 19.00 น.

               2.ส.ดาวคะนอง 0.4 กรัม/ลิตร เวลา 19.00 น.

               3.ส.บางกอกใหญ่ 0.1 กรัม/ลิตร เวลา 08.00 น.

               4.ส.เทเวศร์ 0.2 กรัม/ลิตร เวลา 17.00 น.

               5.ส.บางเขนใหม่ 0.2 กรัม/ลิตร เวลา 20.00 น.

cr. สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร , สำนักการระบายน้ำ

logoline