svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

เปิดสาเหตุเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน PM2.5 พุ่งทั่วกรุง นักวิชาการแจงอันตรายแค่ไหน?

21 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คนกรุงแตกตื่นกลางดึก กลิ่นเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน พร้อมค่าฝุ่นพิษ PM2.5 พุ่งสูง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ล่าสุดกทม.เปิดสาเหตุที่แท้จริง ขณะนักวิชาการชี้มีความอันตรายมากแค่ไหน

21 มีนาคม 2567 จากกรณี ฝุ่นพิษPM2.5 เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ผู้ใช้โซเชียลแอปพลิเคชัน X หรือ ทวิตเตอร์ ต่างทวิตข้อความถึงเหตุการณ์เกิด กลิ่นไหม้ และกลิ่นคล้ายกำมะถัน ฟุ้งไปทั่วพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล

นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงมากเข้าระดับอันตรายต่อสุขภาพ โดยต่างเข้ามาถามถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ทั้งๆที่ฝนเพิ่งตกไป น่าจะทำให้สถานการณ์ฝุ่นดีขึ้นได้ ส่งผลให้แฮชแท็ก #กลิ่นไหม้ พุ่งติดเทรนด์ X อย่างรวดเร็ว
เปิดสาเหตุเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน PM2.5 พุ่งทั่วกรุง นักวิชาการแจงอันตรายแค่ไหน?
เปิดสาเหตุเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน PM2.5 พุ่งทั่วกรุง นักวิชาการแจงอันตรายแค่ไหน?
ค่าฝุ่นพิษ PM2.5 อันตรายต่อสุขภาพ 
จากการตรวจสอบข้อมูลจากดาวเทียม ของGISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ผ่านแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 20 มีนาคม 2567 พบว่า 47 เขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ 

พื้นที่ที่มีค่าฝุ่นพิษ PM2.5 อันตรายอันดับต้นๆ ดังนี้ 

  • เขตดอนเมือง 143.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
  • เขตหลักสี่ 143 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
  • เขตบางซื่อ 139 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
  • เขตจตุจักร 128.1 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
  • เขตพญาไท 127 ไมโครกรัม/ลบ.ม. 
  • เขตราชเทวี 122 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
  • เขตบางพลัด 121.4 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
  • เขตดุสิต 121.3 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
  • เขตบางกอกน้อย 119.3 ไมโครกรัม/ลบ.ม. 
  • เขตสายไหม 117.4 ไมโครกรัม/ลบ.ม. 
  • เขตบางเขน 114.1 ไมโครกรัม/ลบ.ม.

เปิดสาเหตุเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน PM2.5 พุ่งทั่วกรุง นักวิชาการแจงอันตรายแค่ไหน?

ดาวเทียม NASA พบจุดความร้อนมหาศาล
ขณะที่ ดาวเทียมของ NASA ได้เปิดภาพจุดความร้อน ผ่านเว็บไซต์ NASA Firms พบว่า รอบประเทศไทยนพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง เมียนมา และ กัมพูชา มีจุดความร้อนสีแดงเข้มอย่างหนาแน่น

ขณะที่ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุถึงทิศทางลมเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 67 เป็นการพัดจากทิศตะวันออกมาทางตะวันตก ซึ่งอาจมีผลทำให้หมอกควันจากัมพูชาพัดเข้าสู่งประเทศไทยทางภาคตะวันออกและอ่าวไทย
จุดความร้อน
กทม. เปิดสาเหตุกลิ่นเหม็นไหม้ ค่าPM2.5 พุ่ง
ล่าสุด นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ให้คำตอบถึงสาเหตุของค่าฝุ่น PM2.5 ที่กลับมาพุ่งสูงใน กทม. เนื่องตากสาเหตุดังนี้

  • 1. ทิศทางลมวันที่ 20 มี.ค. 67 เป็นทิศตะวันออก ซึ่งต่างจากวันอื่น ๆ ช่วงนี้ที่มาจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชม. ที่ผ่านมาพบที่ปริมณฑลหลายจุด 

เปิดสาเหตุเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน PM2.5 พุ่งทั่วกรุง นักวิชาการแจงอันตรายแค่ไหน?

  • 2. ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางอีสานมาเมื่อวาน ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสม (Mixing Height) ลดต่ำลง ฝุ่นละอองเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น 
  • 3. ความชื้นในบรรยากาศทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 ทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนียจะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง
  • 4. รูปแบบฝุ่นทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เกิดจากก๊าซบางชนิดที่ลอยอยู่ในอากาศ เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับแสงแดด กลายเป็นฝุ่นลอยอยู่ในอากาศ มักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

เปิดสาเหตุเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน PM2.5 พุ่งทั่วกรุง นักวิชาการแจงอันตรายแค่ไหน?

นักวิชาการชี้ กลิ่นไหม้คล้ายกำมะถัน อันตรายหรือไม่?
นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เปิดเผยถึงสาเหตุกลิ่นเหม็นไหม้ ผ่านการสัมภาษณ์และโพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก "" ระบุว่า

การเกิดเหตุกลิ่นไหม้แสบตาแสบจมูกแบบเจือจางในกทม. คืนวันที่ 20 มี.ค. 67 น่าจะมาจากสาเหตุดังนี้

  • 1.สถานการณ์สภาพอากาศในกทม. วันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ฝนตกหนักหลายพื้นที่ในช่วงเช้าและฝนตกเกือทั้งวันหลังฝนตกในและช่วงกลางคืนจึงมีความชื้นสูงมากที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ
  • 2.ก่อนหน้านั้นอากาศร้อนปกคลุมกทม. มาหลายวันเมื่อมีความกดอากาศสูงหรือมวล อากาศเย็นพัดเข้าปะทะทำให้ฝนตกลงมา ค่อนข้างมาก การที่มวลอากาศเย็นพัดปก คลุมพื้นที่ทำให้อากาศปิดอัตราการระบายอากาศในแนวดิ่งเกิดได้น้อยและลมค่อนข้างนิ่ง

    มลพิษทางอากาศทั้งฝุ่น PM2.5  และอนุภาคของกำมะถัน คาร์บอนต่างๆมีปริมาณมากมาจากรถยนต์ การเผาในที่โล่งและโรงงานต่างๆที่เกิดตลอดวันในเขตกทม.และปริมณฑล จะลอยไปสะสมอยู่ในบรรยากาศใกล้ผิวโลกเมื่อรวมกับO2 กลายเป็น SO3 (ก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์),CO2(ก๊าซคาร์บนไดออกไซด์) เป็นต้น สะสมในบรร ยากาศ เมื่ออากาศมีความชื้นสูงจึงทำปฎิกิยากับSO3และ CO2 กลายเป็นกรดซัลฟิวริคและกรดคาร์บอนิค บางส่วนแตกตัวเป็นSO2และCO2ด้วย กรดซัลฟิวริคปกคลุมผิวดินทำให้เกิดอาการแสบตาแสบจมูกได้ และSO2จะมีกลิ่นคล้ายกำมะถันและกลิ่นไหม้ 

อย่างไรก็ตาม แต่ทั้งหมดไม่ได้มีอันตรายต่อสุขภาพ เพราะเจือจางแล้วเพียงแค่ได้กลิ่น หากความชื้นในอากาศน้อยลงและลมพัดแรงขึ้นเหตุการณ์นี้ก็จะหายไป
เปิดสาเหตุเหม็นไหม้คล้ายกำมะถัน PM2.5 พุ่งทั่วกรุง นักวิชาการแจงอันตรายแค่ไหน?
 

logoline