svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

ผู้ชาย-ไวรัส HPV-มะเร็งปากมดลูก ความสัมพันธ์จากเพศสัมพันธ์

10 พฤศจิกายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รู้จักเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ต้นเหตุสำคัญของ “โรคมะเร็งปากมดลูก” ที่พบในผู้หญิง และโรคบางชนิดในผู้ชาย ไวรัสวายร้ายที่ป้องกันได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

"มะเร็งปากมดลูก" เป็นหนึ่งในเนื้อร้ายไม่กี่ชนิดที่รู้สาเหตุชัดเจน เพราะสถิติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย “โรคมะเร็งปากมดลูก” จะตรวจพบไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus สายพันธุ์รุนแรง ซึ่งเชื้อไวรัส HPV นั้นมีมากถึง 30 สายพันธุ์โดยประมาณที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะเพศทั้งของผู้ชายและผู้หญิง

ขึ้นชื่อว่า HPV สายพันธุ์ไหนก็น่ากลัว

หากแบ่งเชื้อ HPV ออกตามความอันตรายต่อร่างกายแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ

1. HPV ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก คือ HPV สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมาก ที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึง70% เกิดจาก HPV 16 และ 18 ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้คือ สายพันธุ์ 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58

2. HPV ที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น คือสายพันธุ์ที่อาจไม่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น เช่น หูดหงอนไก่ ซึ่ง 90% เกิดจากสายพันธุ์ HPV 6 และ 11 ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งค่อนข้างต่ำ

ผู้ชาย-ไวรัส HPV-มะเร็งปากมดลูก ความสัมพันธ์จากเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้ เชื้อไวรัส HPV อาจทำให้เกิดมะเร็งปากช่องคลอดได้อีกด้วย และถ้าหนุ่มๆ ติดเชื้อนี้ นอกจากจะเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่คู่นอนแล้ว ตัวเองยังเสี่ยงเป็น “มะเร็งทวารหนัก” และ “มะเร็งองคชาต” ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV เป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม เชื้อ HPV อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้

ผู้หญิงสิงห์นักสูบ หากติดเชื้อ HPV เสี่ยงมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าปกติ

การติดเชื้อ HPV ในระยะแรกที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ แต่ในภายหลังเมื่อเริ่มเป็นหนักมากขึ้นร่างกายจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติ เช่น มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือตกขาวผิดปกติ และอาจมีอาการปวดร่วมด้วยได้ ส่วนในผู้หญิงที่สูบบุหรี่ที่มีเชื้อ HPV จะเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าปกติ นั่นเพราะส่วนใหญ่แล้วการได้รับเชื้อ HPV อาจจะหายไปเองในระยะเวลา 2 ปี หากเรามีร่างกายและภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่หากมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่และรับควันบุหรี่มือสอง ก็จะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนที่ติดเชื้ออย่างเดียวแต่เลี่ยงบุหรี่ได้ โดยเชื้อจะอยู่ในร่างกายและมีเวลาดำเนินโรคประมาณ 10-15 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนเมื่ออายุ 30-60 ปี

ผู้ชาย-ไวรัส HPV-มะเร็งปากมดลูก ความสัมพันธ์จากเพศสัมพันธ์

ตรวจหาเชื้อ HPV จำเป็นแค่ไหนสำหรับสาวๆ

นอกจากการตรวจร่างกายประจำปีแล้ว ผู้หญิงเรายังมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสุขภาพภายในด้วย ซึ่งหนึ่งในโรคที่ควรตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอก็คือ “โรคมะเร็งปากมดลูก” และนอกจาก “การตรวจภายใน” แล้ว ผู้หญิงทุกคนยังควร “ตรวจหาเชื้อ HPV” ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคด้วย

เชื้อ HPV เกิดในผู้ชายได้อย่างไร?

เชื้อ HPV เป็นเชื้อที่พบบ่อยในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายมากกว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง หรือชอบการร่วมเพศทางทวารหนัก ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ HPV ที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากการติดต่อทางปาก ช่องคลอด ทางทวารหนัก เเละการสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ HPV ทำให้ก่อให้เกิด “โรคมะเร็งในช่องปากและลำคอ” “โรคมะเร็งองคชาต” รวมถึง “โรคมะเร็งปากทวารหนัก” และเป็นสายพันธุ์ที่พบในผู้ชายก็จะเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิง

ผู้ชาย-ไวรัส HPV-มะเร็งปากมดลูก ความสัมพันธ์จากเพศสัมพันธ์

วัคซีน HPV ผู้ชายก็ฉีดได้

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเชื้อ HPV มักจะเกิดเฉพาะในผู้หญิง แต่จริงๆ แล้วผู้ชายสามารถติดเชื้อ HPV ได้ จากการมีเพศสัมพันธุ์ นอกจากนี้เชื้อ HPV ชนิดนี้มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการติดเชื้อที่เยื้อบุผิว โดยเชื้อ HPV จะมีบางสายพันธุ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายมากที่สุด คือ สายพันธุ์ที่ 6 และ สายพันธุ์ที่ 11 เป็นตัวก่อให้เกิด “โรคหูดหงอนไก่” ส่วนสายพันธุ์ที่ 16 และสายพันธุ์ที่ 18 ก่อให้เกิด “โรคมะเร็ง”

การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่พฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือชอบการร่วมเพศทางทวารหนัก จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HPV ควรได้รับจากตรวจหาเชื้อ HPV ในร่างกาย เพื่อรีบหาทางการรักษาเเละดูเเลก่อนที่จะกลายเป็นโรคร้าย หรือมีการฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับเชื้อ HPV

วิธีการป้องกันให้ห่างไกลเชื้อ HPV

ผู้ชายที่มีอายุ 9-26 ปี ควรฉีดวัคซีน HPV ซึ่งจะมีประโยชน์ในการป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อนี้ได้ และผู้หญิงอายุ 21-65 ปี ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพียงไม่กี่อย่าง ก็จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV เเละการเเพร่กระจายของเชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ ดังต่อไปนี้

  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะอาจจะได้รับเชื้อ HPV แบบไม่รู้ตัว
  • ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัย แต่ก็ไม่ได้ป้องกันได้เกือบ 100% เพราะอาจจะมีการสัมผัสสารคัดหลั่งบริเวณอื่นๆ ได้
  • ต้องฉีดวัคซีน HPV ให้ครบ 3 เข็ม เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV และควรได้รับการฉีดวัคซีน HPV ก่อนการได้รับเชื้อหรือก่อนการมีเพศสัมพันธ์
logoline