svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

24 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การว่ายในน้ำแข็งหรือน้ำเย็นเจี๊ยบ เช่นนี้ เปรียบเสมือนเป็นการท้าทายร่างกาย ให้มีการปรับเปลี่ยนตัวให้ได้ ซึ่งรวมถึงทุกอวัยวะและสมอง ในการปรับให้มีการรักษาสมดุลความร้อนในร่างกาย

"หมอธีระวัฒน์" แพทย์คนดัง จัดชุดความรู้ดีๆ ให้อีกหนึ่งบทความ โดยล่าสุดที่เพจของ หมอดื้อ หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ชี้ว่า 

ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

ความเชื่อไปจนกระทั่งถึงประเพณี ประพฤติ ปฏิบัติ การแช่น้ำเย็นเจี๊ยบหรือแช่น้ำแข็ง มีมานานแล้ว และมีในรูปแบบต่างๆ เช่น ในประเทศหนาว โดยเฉพาะในฤดูหนาวมีการว่ายน้ำเย็นจัด ถึงขนาดที่เปิดแผ่นน้ำแข็งและลงไปว่ายในน้ำ และมีสมาคมนานาชาติยกตัวอย่างเช่น international ice swimming association หรือ international winter swimming association โดยในแต่ละสมาคมก็จะมีการกำหนดให้ว่ายในน้ำที่อุณหภูมิ -2 ถึง 2 องศา หรือในระหว่างอุณหภูมิ 2.1 ถึง 5 องศา หรือ 5.1 ถึง 9 องศา เป็นต้น

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"
การว่ายในน้ำแข็งหรือน้ำเย็นเจี๊ยบ เช่นนี้ เปรียบเสมือนเป็นการท้าทายร่างกาย ให้มีการปรับเปลี่ยนตัวให้ได้ ซึ่งรวมถึงทุกอวัยวะและสมอง ในการปรับให้มีการรักษาสมดุลความร้อนในร่างกาย

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

โดยที่ร่างกายมีระบบควบคุมการระบายหรือสร้างและเก็บความร้อน เช่น ทางผิวหนังซึ่งจะเชื่อมโยงกับเส้นเลือดที่อยู่ในชั้นไขมันและมีการยืดหดตามความเหมาะสม แต่ในร่างกายส่วนที่อ่อนบาง เช่น มือ เท้า จมูก และใบหู จะมีกลุ่มเส้นเลือดอีกชนิดที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงถูกกระทบได้ง่ายเมื่อเจอกับความเย็น

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

กลไกอื่นๆ คือ การสั่นสะท้าน (shivering) ซึ่งเป็นการสร้างความร้อนขึ้นอีก โดยมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในร่างกายผ่านทางการควบคุมอุณหภูมิในสมองที่เหมือนกับเครื่องเทอร์โมสตัท (thermostat) ในสมอง ส่วนไฮโปธาลามัส (hypothalamus)
ไขมันสีน้ำตาล (brown adipose tissue) เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สร้างความร้อน ทั้งนี้ เนื่องจากไขมันน้ำตาลนี้มีจำนวนของอนุภาคไมโทคอนเดรีย (mitochondria) มากมาย ดังนั้น สามารถสร้างความร้อน โดยมีการเผาผลาญไขมันไตรกรีเซอร์ไรด์ (ผ่าน uncoupling mitochondrial electron transport และ noradrenaline -induced membrane depolarization and sodium pumping)

การควบคุมความร้อนในตัวที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิเย็น ยังขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และอาจมีบทบาททางด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย

มีรายงานผลต่อสุขภาพเมื่อเผชิญความเย็นเจี๊ยบ ในวารสาร international journal of circumpolar health เดือน ตุลาคม 2022 และเป็นการวิเคราะห์จากรายงาน 728 ชิ้น คัดเลือกจนกระทั่งเหลือ 104 ชิ้น ที่มีความสมบูรณ์และเหมาะสมในผลกระทบต่อสุขภาพ

โดยมีการลดลงของอัตราส่วนระหว่าง ApoB (ตัวไม่ดี) และ ApoA1 (ตัวดี) ปริมาณของ homocysteine ลดลง (หมายความว่าดี) ตลอดจนระดับฮอร์โมนคอร์ติโซลในเลือด ระดับอินซูลินและระดับของอันตรายจาก oxidative stress ลดลง
ในขณะเดียวกัน มีการเพิ่มของระดับฮอร์โมนหลายตัวของต่อมไทรอยด์ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบภูมิคุ้มกันในส่วนของ T cell รวมทั้ง cytokines และการตอบสนองต่ออินซูลินดีขึ้น เป็นต้น

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น รวมทั้งกลไกในการเผาผลาญไขมันและการหายใจในขณะที่มีการทำงาน

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่สามารถสรุปว่า เป็นกลไกทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เต็มที่ เพียงแต่อาจมีข้อสนับสนุนของประโยชน์ที่จะได้รับ จากการเข้าไปกระโจน ว่าย อาบดำในน้ำเย็นเจี๊ยบ โดยควรต้องมีข้อระวังผลร้ายต่อสุขภาพที่ทำให้ร่างกายเย็นชืด (hypothermia) โดยต้องประเมินตัวเองก่อน

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ" โดยที่ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ได้ให้คำแนะนำว่า ถ้าจะเริ่มน้ำเย็นแบบนี้ ลองเริ่มจากการอาบน้ำไม่ร้อน และในเมืองหนาวค่อยๆลดอุณหภูมิลงเรื่อยๆ เป็นเวลา 30 ถึง 60 วินาที จนชิน และมีความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องวอร์มอัพก่อน หรือเมื่อออกกำลังกายหนักแล้วตรงเข้าอาบน้ำเย็นเลย เมืองไทยเองคงยากนะครับ เพราะเป็นการอาบน้ำอุ่นหรือร้อนอยู่แล้วจากน้ำก๊อก

เมื่อเริ่มอยู่ตัว ลองอาบน้ำโดยใส่น้ำแข็งเข้าไปปรับให้อุณหภูมิอยู่ที่ 10 ถึง 15 เซลเซียส ซึ่งวิธีนี้นักกีฬาที่บาดเจ็บไม่ว่าเส้นเอ็น กระดูก ข้อหรือกล้ามเนื้อ ต่างก็ใช้วิธีนี้มานาน หรือในหนังที่เราดูหลายเรื่องก็มีการฟื้นฟูการบาดเจ็บโดยลงไปในอ่างอาบน้ำที่ใส่น้ำแข็ง

อ่านมาถึงตรงนี้ พวกเราอาจจะตั้งคำถามกับหมอว่า หมอเพิ่งพูดไปหยกๆไม่ใช่หรือว่า ให้ไป...อบร้อนซาวน่า แล้วสมองใส ตอนนี้มีเรื่องอาบน้ำเย็นเจี๊ยบจนไปถึงอาบน้ำแข็ง

ทั้งหมดนี้อาจจะเรียกว่าเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” กล่าวคือ ในเรื่องของการอบร้อนก็เป็นประเพณีประพฤติกันมาช้านาน เช่นกัน ในแถบนอร์เวย์ ญี่ปุ่น เอเชีย แต่กลไกทางวิทยาศาสตร์ที่แต่แรกคิดว่าการเจอความร้อนขนาด 50 องศาเซลเซียส ควรจะเป็นการสร้างความเครียดให้กับโรงพลังงานของเซลล์คือไมโทคอนเดรีย และทำให้กระทบระบบกำจัดขยะซึ่งเกิดจากโปรตีนจับตัวกันเป็นขยุ้มและเกิดเป็นพิษ แต่ผลกลับกลายเป็นว่าความร้อนกลับทำให้ระบบนี้เก่งขึ้น และกลายเป็นคลี่ขยุ้มโปรตีนให้กลับเป็นของดีเอามาใช้ใหม่ ทั้งนี้ อาจจะเป็นได้ในกรณีของความเย็นระดับที่ว่านี้ โดยอาศัยกลไกอย่างเดียวกันหรือคล้ายกัน
ในหลายประเทศหรือในออนเซนจะพบว่า เมื่ออบร้อน อาบหรือซาวน่าร้อนเต็มที่ จะมาจบอยู่ที่แช่น้ำเย็นจัด ซึ่งพวกเราหลายคนคงผ่านมาแล้วและรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

ที่นำมาเล่าให้ฟังทั้งหมดนี้ เพื่อความรู้ความเข้าใจและน่าจะมีประโยชน์ในการรักษาสุขภาพโดยไม่ได้พึ่งยาเป็นหลักครับ

หมอธีระวัฒน์ รายงาน

ในบรรดากีฬาแนวเอ็นดูแรนซ์ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ว่ายน้ำถือเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความอึดที่สุด

ในระยะทางเท่ากัน สังเกตว่าในไตรกีฬา ว่ายน้ำมีระยะทางที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับกีฬาอื่น แต่ใช้พลังงานเทียบเท่ากัน และหากเป็นการว่ายน้ำระยะไกลในแหล่งน้ำเปิด (Open Water) ก็ยิ่งต้องใช้ความแกร่งของร่างกายในขั้นสุด

หมอดื้อ ไขข้อสงสัย "ดีมั้ย...อาบหรือว่ายน้ำเย็นเจี๊ยบ"

ว่ายข้ามมหาสมุทรสุดขั้ว

ร่างกายของมนุษย์จะต้องเจอกับอะไรบ้างในการว่ายน้ำข้ามมหาสมุทร ที่ไม่ได้มีแต่ระยะทางไกลเท่านั้น แต่อุณหภูมิของน้ำและอื่นๆ จะผลักดันร่างกายไปสู่จุดไหน นี่เป็นสิ่งที่นักกีฬาว่ายน้ำทางไกลต้องเตรียมตัวรับมือ

เบน ฮูเปอร์ (Ben Hooper) นักว่ายน้ำชาวอังกฤษ เขาอาจเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ ที่ไม่อาจเอาร่างกายของมนุษย์ธรรมดาไปเปรียบเทียบกับเขาได้ อดีตนายตำรวจคนนี้แข่งไตรกีฬาและว่ายน้ำในแหล่งน้ำเปิดมาหลายปีแล้ว บางครั้งเขาว่ายน้ำไกลถึง 40 กม. ภายในวันเดียว ฮูเปอร์มีความฝันมาตั้งแต่เด็กที่อยากจะว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกให้ได้ เขาจึงเตรียมร่างกายให้พร้อมกับสิ่งนี้ตลอดมา แล้วสร้างเป็นโปรเจคท้าทายตัวเองครั้งใหญ่ พร้อมรณรงค์เพื่อการกุศลด้วยในชื่อ Swim the Big Blue ซึ่งเขาต้องว่ายน้ำจากประเทศเซเนกัลไปถึงบราซิล ด้วยระยะทางกว่า 3,000 กม. กำหนดระยะ 140 วัน และเขาก็ได้ออกตัวว่ายแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016 ซึ่งในแต่ละวันเขาต้องว่ายน้ำนานที่สุด 10 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

ความท้าทายที่สุดขีดระดับนี้ ทำให้เกิดความสงสัยว่าฮูเปอร์จะต้องเจอกับอะไรบ้าง ในการว่ายน้ำในมหาสมุทรในระยะทางไกลขนาดนี้ ขอย้อนไปถึงความอันตรายของการว่ายน้ำในทะเลเปิด ที่ในอดีตก็เคยมีนักว่ายน้ำไปท้าทาย ด้วยการความรู้เกี่ยวกับร่างกายและการว่ายน้ำทางไกลในทะเลไม่กว้างขวางเหมือนปัจจุบัน

การข้ามเส้นท้าตายในอดีต

ในปี 1953 เจสัน เซอร์กานอส (Jason Zirganos) นักว่ายน้ำในแหล่งน้ำเปิดชื่อดังแห่งยุคได้ว่ายน้ำในทะเลบอสฟอรัส (Bosphorus) ณ อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เมื่อขึ้นจากน้ำ สติสัมปชัญญะของเขาเลือนรางเหลือเพียงครึ่งเดียว และต้องใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมงกว่าจะคืนสติกลับมาเต็มร้อย ในครั้งนั้นความรู้เกี่ยวกับอาการซึ่งเกิดจากสภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำว่าปกติ (Hypothermia) ยังไม่เคยมีมาก่อน คนจึงคาดเดากันว่าเขาอาจถูกวางยา ปีต่อมาเซอร์กานอสในวัย 46 ปีจึงได้ท้าทายตัวเองอีกครั้งด้วยการว่ายน้ำในทะเลไอริช ซึ่งน้ำทะเลมีอุณหภูมิ 8 – 11 องศาเซลเซียส หลังจากว่ายน้ำไปได้ 6 ชั่วโมง และเหลือระยะทางเพียงไม่กม. จะถึงจุดหมาย ตัวเขาก็เขียวไปหมดแล้วก็หมดสติไป เขาถูกนำตัวขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็ว และการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนคือการใช้มีดพกเจาะเปิดหน้าอก หมอต้องนวดกระตุ้นหัวใจซึ่งเต้นเร็วแต่ไม่เป็นจังหวะโดยตรง แต่ความพยายามนั้นก็ล้มเหลว เซอร์กานอสเสียชีวิตตรงนั้นเอง

รับมือกับน้ำในมหาสมุทร

ชะตากรรมของเซอร์กานอสนำไปสู่ความรู้เรื่องอาการของร่างกายในสภาวะอุณหภูมิลดต่ำลง จึงมีการศึกษาปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเจอกับความเย็นของน้ำในมหาสมุทร เมื่ออุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส กล้ามเนื้อแขนขาจะหดกลับเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายแกนกลางไว้ให้มากที่สุด จึงทำให้การว่ายน้ำทำได้ยากลำบาก กล้ามเนื้อแขนจะทำงานอยู่ได้ 40 นาที ในน้ำอุณหภูมิราว 20 องศาเซลเซียส ซึ่งนี่เกิดขึ้นได้แม้สวมใส่เว็ทสูทเนื้อหนาสำหรับว่ายน้ำเย็นก็ตาม แม้ฮูเปอร์จะมีแข็งแรงพอที่จะต้านทานได้ แต่การว่ายน้ำในมหาสมุทรหลายๆ ชั่วโมง ก็น่าจะทำให้ประสิทธิภาพการว่ายน้ำของเขาลดลงราว 20 เปอร์เซ็นต์เลย

ไม่เพียงแค่นั้น เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงเพียง 1 องศา จาก 37 เหลือ 36 องศาเซลเซียส ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อแขนขาลดลงเช่นกัน เมื่อนั้นการระบบการเผาผลาญพลังงานจะเปลี่ยนจากการใช้ออกซิเจนมาใช้พลังงานในกล้ามเนื้อแทน ซึ่งจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากกรดแลคติกซึ่งเป็นของเสียจากการเผาผลาญพลังงานนั้น ทำให้ร่างกายต้องต่อสู้กับความเมื่อยล้าอย่างหนัก

อีกทั้งร่างกายจะสูญเสียความร้อนไปเรื่อยๆ อุณหภูมิแขนขาจะเย็นกว่าอุณหภูมิแกนกลางร่างกาย เมื่อร่างกายพยายามรักษาสมดุลให้ทำการว่ายน้ำไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ร่างกายพยายามเฉลี่ยอุณหภูมิไปให้แขนขา และหากอุณหภูมิแกนกลางร่างกายลดต่ำจนถึง 30 – 33 องศาเซลเซียสแล้วก็จะทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายสามารถว่ายน้ำไปได้เรื่อยๆ แต่สติสัมปชัญญะเลือนลง เหมือนเคลิ้มล่องลอยอยู่ในความฝัน ซึ่งอาการนี้นักปีนเขาสูงอย่างเทือกเขาหิมาลัยเรียกกันว่า ภาวะความตายอันแสนหวาน (Sweet Death) คือเหมือนอยากจะนอนหลับสู่ความสบายอย่างที่สุด ซึ่งนั่นก็คือความตายนั่นเอง นี่แหละคือการต่อสู้กับความเย็นที่ฮูเปอร์ต้องเจอ

การเติมพลังงานระหว่างว่าย

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการโหลดพลังงานให้เพียงพอ หรือการกินอาหารนั่นเอง การว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรนี้ ฮูเปอร์ต้องทานอาหารให้ได้ 12,000 กิโลแคเลอรี่ต่อวัน นั่นหมายถึงการทานอาหารของผู้ชาย 5 คนเลยทีเดียว และเพื่อให้ว่ายได้อย่างต่อเนื่อง ทุกๆ ชั่วโมงเขาต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้ได้ 90 กรัม จากแหล่งที่หลากหลายด้วย

นอกจากนี้ยังต้องคิดถึงเครื่องดื่มระหว่างทาง ที่ไม่แค่เติมความกระหายน้ำแต่ยังต้องปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับร่างกายด้วย ทั้งเครื่องดื่มชูกำลังหรือซุปอุ่นๆ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิของแกนร่างกายไปสู้กับความเย็นของน้ำด้วย

การฟื้นฟูร่างกาย

ความท้าทายของฮูเปอร์ในครั้งนี้เทียบเท่ากับการวิ่งมาราธอน (42 กม.) 43 ครั้งภายใน 51 วัน เหมือนที่ดาราตลกนักวิ่งมาราธอน เอ็ดดี้ อิซซาร์ด (Eddie Izzard) ทำเมื่อปี 2009 ซึ่งสำหรับร่างกายคนทั่วไปแล้ว เมื่อวิ่งมาราธอน 1 ครั้ง ควรจะพัก 2-3 สัปดาห์เพื่อฟื้นฟูร่างกาย แต่คนที่ท้าทายขีดจำกัดของร่างกายก็เลือกที่จะทำตรงข้ามกัน การวิ่งมาราธอนต่อเนื่องวันแล้ววันเล่า เป็นการทำร้ายร่างกายอย่างดุเดือด เหมือนที่ฮูเปอร์กำลังทำอยู่ เขากำลังว่ายน้ำ 10 ชั่วโมงต่อวัน ทุกวัน เป็นเวลาเกือบ 5 เดือน ซึ่งหมายถึงว่าเขามีเวลาพักร่างกายระหว่างการว่ายเพียง 14 ชั่วโมงเท่านั้น แม้ว่าการว่ายน้ำจะไม่มีแรงกระแทกเหมือนการวิ่ง แต่การว่ายน้ำเป็นเวลานานก็อาจทำให้ข้อต่อของเขาทำงานหนัก ซึ่งเขาใช้กลยุทธ์การป้อนคาร์โบไฮเดรตเข้าไปฟื้นฟูร่างกาย และแบ่งการว่ายต่อวันออกเป็น 2 เซสชั่น เพื่อไม่ให้ร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป นอกจากนี้เขายังมีทีมซัพพอร์ตที่ติดตามดูอยู่ห่างๆ แต่ไม่ได้พายเรือประกบ เพื่อให้การว่ายน้ำครั้งนี้เป็นไปอย่างโปร่งใสที่สุด

ฮูเปอร์ ศึกษาเรื่องนี้มาอย่างดี เขาพาตัวเองไปเสี่ยงอันตรายท่ามกลางสภาวะสุดขั้ว แต่เขาเตรียมการมาทั้งชีวิตเพื่อสิ่งนี้ หากเขาทำสำเร็จเขาจะเป็นคนแรกที่ก้าวข้ามทุกสภาวะอันตรายในห้วงมหาสมุทร เป็นมนุษย์สุดแกร่งผู้สร้างสถิติที่ยากจะมีคนพิชิตได้

ข้อมูลอ้างอิง: www.swimthebigblue.com / www.independent.co.uk

ขอขอบคุณที่มา: เฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha 

logoline