svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

“ภาวะความเครียด” กับ “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” หลายคนอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

25 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“ภาวะความเครียด” ไม่ว่าจะมาจากหน้าที่การงาน สภาพแวดล้อมรอบตัว รู้หรือไม่ว่าส่งผลกับร่างกายมากมาย หนึ่งในนั้นพบว่าทำให้มีปัญหาในเรื่องของ “เส้นผม” ตามมา โดยเฉพาะ "โรคผมร่วงเป็นหย่อม" Alopecia Areata หรือที่เรียกกันติดปากว่า "โรค AA"

วันนี้จะพาไปรู้จัก "โรคผมร่วงเป็นหย่อม" Alopecia Areata หรือ "โรค AA" ให้มากยิ่งขึ้น โดยได้ “แพทย์หญิงธาริณี ก่อวิริยกมล” แพทย์ชำนาญเฉพาะทางโรคเส้นผมและการผ่าตัดปลูกถ่ายผมจาก "Dr.Tarinee Hair Clinic” มาให้ข้อมูลความรู้

ความเครียดนั้นก่อให้เกิดการหลั่งของสารบางอย่าง ทำให้ภูมิหรือภาวะร่างกายเปลี่ยนแปลง จนเกิดผมร่วงตามมา เช่น มีภาวะเครียดมากๆ จากการสูญเสียคนในครอบครัว มีเรื่องราวกระทบจิตใจแรงๆ หรือภาวะเครียดที่เกิดจากการเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย จะเกิดผมร่วงชนิดทีโลเจน Telogen Effluvium และความเครียดยังสามารถนำพาให้เกิดโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้  

โรคผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia Areata

"โรคผมร่วงเป็นหย่อม" Alopecia Areata นอกจากถูกกระตุ้นด้วยภาวะเครียดแล้ว ยังสามารถเกิดได้อีกหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การใช้ยาบางประเภท การขาดสารแร่ธาตุวิตามิน เกิดจากเม็ดเลือดขาวทำลายรากผม เพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้เส้นผมตรงรากมีขนาดเล็กลงแล้วร่วงออกไป

อาการที่พบ 

คือผมร่วงแบบเป็นวงเล็กๆ ขนาดเท่าเหรียญบาท บางคนอาจมีขนาดใหญ่รวมกันหลายวง เกิดได้ที่ศีรษะ รวมถึง ขนตา, หนวด ก็พบได้เช่นกัน ความอันตรายไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ คนไข้จะกังวล ปัจจุบันพบว่าคนไข้เป็นโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ   

วิธีการรักษา

  • ตามมาตรฐานจะแบ่งออกเป็นช่วงอายุ ในวัยเด็กรักษาด้วยการทายา เพราะจะมีความปลอดภัยมากกว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผมร่วงด้วย บางรายที่เป็นมาก อาจต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาการรักษาด้วยยารับประทานหรือยาฉีดต่อไป
  • พิจารณาพื้นที่ที่เป็นว่ามากน้อยแค่ไหน บางรายเป็นแค่เหรียญบาทอาจหายเองได้โดยที่คนไข้เองก็ไม่รู้ตัว หรือถ้าเป็นขนาดเล็ก อาจทายาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ หรือฉีดยาสเตียรอยด์ลดการอักเสบเฉพาะจุด ยานี้จะมีผลเฉพาะจุดที่รักษาไม่ได้มีผลต่อร่างกาย ถ้าเป็นวงใหญ่หรือเป็นหลายครั้ง อาจต้องใช้ยากลุ่มทาเพื่อกระตุ้นภูมิให้มีภูมิขึ้นมาแล้วให้ผมค่อยๆ ขึ้นมาใหม่ หรือกินยาฉีดยากดภูมิ อันนี้เป็นเคสที่รักษายาก อาจจะต้องรักษากันนานอย่างต่อเนื่อง บางรายอาจมีการตรวจเลือดเพิ่มเติม

นอกจากนี้เมื่อทำการรักษาแล้ว อาจพบได้ว่าผมที่ขึ้นมาใหม่จะเป็นสีขาว นั่นเพราะเม็ดเลือดขาวที่ทำลายรากผมนั้นได้ทำลายเม็ดสีไปด้วย บางคนจะพบว่าเวลาผมขึ้นมาใหม่จะเป็นสีขาวก่อน แต่เดี๋ยวผมก็จะค่อยๆ กลายเป็นสีดำ เหมือนเราเจ็บป่วย ร่างกายจะค่อยๆ ฟื้นตัว หลายคนที่เป็นแล้วมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก อย่างที่บอกไปแต่ต้นว่าเกิดได้จากภาวะความเครียดที่ไปกระตุ้น

โรคผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia Areata

“แพทย์หญิงธาริณี ก่อวิริยกมล” ให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของโควิดว่า คนไข้บางส่วนหลังเป็นโควิด ก็พบว่ามีอาการของผมร่วงได้มากขึ้นอีกด้วย และยังเสริมเรื่องของเทรนด์การปลูกผมที่กำลังมาแรงในช่วงเวลานี้

แพทย์หญิงธาริณี ก่อวิริยกมล แพทย์ชำนาญเฉพาะทางโรคเส้นผมและการผ่าตัดปลูกถ่ายผมจาก Dr.Tarinee Hair Clinic
“เมื่อประมาณสามปีที่แล้ว คนเริ่มรู้จักการปลูกผมเยอะขึ้น เริ่มเปิดใจมากขึ้น อาจไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลูกผมมานาน ก่อนหน้านั้นจะเป็นเฉพาะกลุ่ม เช่นชาวต่างชาติ หรือกลุ่มที่เป็นทรานสเจนเดอร์ก็อยากเปลี่ยนรูปผมจากผู้หญิงเป็นชายจากชายเป็นหญิง ก่อนหน้านี้แน่นอนว่าผู้ชายจะเข้ามาปรึกษาปัญหาผมร่วงผมบางเยอะกว่าผู้หญิง แต่ปัจจุบันมีเท่าๆ กัน อาจเพราะสื่อเข้าถึงได้ง่าย คนไข้ผู้หญิงที่มีปัญหาผมเว้าด้านหน้าเป็นรูปตัวM พอทราบว่าปัญหาตรงนี้สามารถแก้ไขได้ก็เข้ามาปรึกษากันเยอะ” 

แยกให้ออกระหว่าง “ผมร่วง” และ “ผมบาง”

“ผมร่วง” มีตั้งแต่ภาวะเจ็บป่วยไม่สบายที่ทำให้ผมร่วงเยอะในช่วงๆ หนึ่ง หรือการขาดวิตามินแร่ธาตุบางอย่าง เช่น เลือดจาง ขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินดี ทำให้การสร้างของผมไม่ดีก็ทำให้ผมร่วงได้ ในแต่ละวันโดยธรรมชาติผมจะร่วงอยู่ที่ประมาณ 100-150 เส้น ถ้าสระผมจะร่วงเยอะกว่านั้น เพราะผมเปียกผมจะอ่อนแอมากกว่าเดิม ผมอาจจะร่วงได้เกือบ 200 เส้น

“ผมบาง” คือเราจะเห็นหนังศีรษะของเรามากขึ้นหรือแสกกว้างขึ้น ไม่ว่าคุณผู้หญิงหรือผู้ชาย อาจเป็นแสกตรงกลางหรือเป็นตรงขวัญ เกิดจากการที่อายุมากขึ้นหรือกรรมพันธุ์ บวกกับฮอร์โมนตัวหนึ่งที่เป็นฮอร์โมนเพศ ทำให้เส้นผมเส้นที่เป็นเส้นอ้วนใหญ่ๆ กลายเป็นเส้นเล็กลง คิดถึงว่าผมเส้นใหญ่ๆ ปิดหนังศีรษะเราอยู่ พอเป็นเส้นเล็กลงเราก็เห็นหนังศีรษะได้ง่ายขึ้น

แนวทางการรักษาของทาง “Dr.Tarinee Hair Clinic” ถือเป็นคลินิกแบบครบวงจร เพราะมีทั้งการรักษาโรคเส้นผม ผิวหนัง และศัลยกรรมปลูกผมปลูกคิ้ว ภายใต้เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดในเวลานี้ ที่สำคัญ “แพทย์หญิงธาริณี ก่อวิริยกมล” ดูแลเองทุกเคส

“เมื่อรู้สึกว่าผมร่วงมากกว่าเดิมก็ต้องเข้ามารับคำปรึกษา หมอจะตรวจว่าผมที่ร่วง เกิดจากผมขาด ผมหัก หรือผมหลุดร่วงมาทั้งราก ส่วนการรักษาจะแตกต่างกันออกไป อันดับแรกต้องพิจารณาว่า คนไข้ผมร่วงผมบางจากอะไร ทำการวินิจฉัยพูดคุย สอบถามประวัติครอบครัว ส่องกล้องตรวจ ดูความรุนแรงที่เป็นว่ามากน้อยแค่ไหน ดูความสะดวกและไลฟ์สไตล์ของคนไข้ บางคนไม่ชอบกินยาบางคนไม่ชอบทายา การรักษาต้องใช้ความขยันหมั่นเพียร เพราะเป็นการปลุกให้เส้นผมที่ไม่เคยขึ้นหรือเส้นผมที่เล็กให้ขึ้นมาในช่วงสามสี่เดือน เพราะฉะนั้นคนไข้ต้องมีความอดทน ต้องขยันกินยาขยันทายา เคสที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล ผมบางจนไม่มีรูขุมขุนแล้ว หรือบางตำแหน่งผู้หญิงผู้ชายที่เว้าเป็นตัวM ก็พิจารณาเป็นเรื่องของการปลูกผม”

เทคนิคการปลูกผม

“NON SHAVE” หรือ “LONG HAIR TRANSPLANT” คือการเจาะเซลล์รากผมขนาดเล็ก หรือใช้หัวเจาะที่สามารถดึงเส้นผมและเซลล์รากผมมาปลูกบริเวณที่มีปัญหาได้ โดยยังคงเส้นผมเดิมไว้อยู่ คนไข้ผู้หญิงจะชอบวิธีนี้ เพราะแผลเล็กจนมองแทบไม่เห็น ไม่ต้องตัดผมสั้น ผมยาวมาปิดบริเวณที่ปลูกผมได้เลย ไม่ต้องพักฟื้น วันรุ่งขึ้นสามารถไปทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ  

“MINIMAL SHAVE  FUE” การย้ายเซลล์รากผมที่มีความยาวของเส้นผม มาปลูกในบริเวณที่ต้องการดูแล โดยไม่ต้องโกนผมเป็นบริเวณกว้าง มีตัดผมสั้นเล็กน้อยในบริเวณที่จะต้องเจาะกอผม แต่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน

“ปัญหาของคนไข้ทุกวันนี้มาจากปัญหาผมร่วงผมบางเป็นหลัก ปัจจุบันวงการหมอปลูกผมจะคอยช่วยกันอัปเดตความรู้กันตลอดทั้งของไทยและในสมาคมปลูกผมนานาชาติ มองว่าประเทศไทยเป็น Medical Hub ที่ดีและดีมากขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาของเส้นผม คือ เรื่องของการใช้เซลล์รักษา คิดว่าปีหน้าเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น แม่นยำขึ้น และออกมาให้เราเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผม จะมีตัวที่ช่วยให้ประสิทธิภาพของการปลูกผมดีขึ้น รวมถึงโปรแกรมในการวิเคราะห์สภาพเส้นผมและหนังศีรษะจะมีพัฒนาออกมาใหม่มากขึ้นค่ะ”

“Dr.Tarinee Hair Clinic” ติดถนนใหญ่ ปากซอยลาดพร้าว 19 อาคาร Move Amaze โทร. 088-951-9193

Web : DrTarineehairclinic.com

Line : @drtarinee  

logoline