svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

'หิวบ่อย หิวเร็ว' อาการผิดปกติหรือเปล่า?

14 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เช็กระดับความหิว ปัจจัยสำคัญด้านร่างกายและสุขภาพ พร้อมร่วมหาคำตอบ “หิวบ่อย หิวเร็ว กินไม่หยุด” เป็นอาการผิดปกติใช่หรือไม่?

มนุษย์กับอาหารเป็นเรื่องที่ตัดจากกันไม่ได้ จึงเป็นปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ซึ่งต้นเหตุความหิวอาจเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนควบคุมความอิ่มในร่างกายไม่สมดุล เกิดเป็นความเครียด ความเศร้า ใช้อาหารบำบัดความเครียด ทว่า การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องก็อาจกลับทำให้ร่างกายหิวมากขึ้นและหิวเร็วขึ้น

\'หิวบ่อย หิวเร็ว\' อาการผิดปกติหรือเปล่า? เช็กระดับความหิว

หลายครั้งที่เกิดความสับสนระหว่างความหิว และอาการกระหายน้ำ ความรู้สึกอยากทานอะไรสดชื่นๆ และจบลงที่ขนม หรือของว่างพลังงานสูง แต่ก็ยังไม่หายหิวอยู่ดี นั่นเป็นเพราะร่างกายอาจจะแค่กระหายน้ำไม่ได้หิวอย่างที่เข้าใจ

ถ้ามีอาการแบบนี้ แนะนำให้เริ่มจากการดื่มน้ำเปล่าก่อน ถ้าหากยังมีอาการหิว ค่อยหาอาหารมื้อหลักที่มีประโยชน์มารับประทาน หรือให้เลือกเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำมาดื่ม

  • ความหิวที่มาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง

อาหารบางประเภท รับประทานแล้วรู้สึกว่าอิ่มได้ไม่นาน เผลอแป๊บเดียวก็หิวอีกแล้ว ความหิวแบบนี้ มีสาเหตุมาจากอาหารที่ทานเข้าไปนั้นทำให้หิวมากขึ้น และหิวเร็วขึ้น เช่น อาการประเภทข้าว แป้งขาว น้ำตาล, อาหารที่มีโซเดียมสูง ฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว, น้ำผลไม้ที่แยกกากใยออกจนหมด รวมถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ทำให้ควบคุมความหิวได้ยากขึ้น

\'หิวบ่อย หิวเร็ว\' อาการผิดปกติหรือเปล่า?

  • ความหิวที่มาจากปัจจัยด้านร่างกายและสุขภาพ

สำหรับสาวๆ อาการหิวที่มากกว่าปกติ อาจเป็นอาการของช่วงก่อนวันมีประจำเดือน (PMS) หรือ เป็นสัญญาณเตือนว่าเรากำลังตั้งครรภ์ก็ได้ โดยในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีความต้องการอาหารมากขึ้น ทำให้หิวบ่อยขึ้น

นอกจากนี้ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ส่งผลต่อความหิวได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า การนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลกับการหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ตัวการควบคุมความหิว ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากขึ้น ในขณะที่ทำให้ระดับการหลั่งฮอร์โมนเลปติน (leptin) ที่ควบคุมความอิ่มลดลง

อาการหิวที่มากกว่าปกติ อาจเป็นอาการของโรคต่างๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น โรค Hypoglycaemia หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งโดยมากจะพบอาการนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ใช้ อินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำจะส่งผลให้อยากอาหารมากขึ้น หิวหนักขึ้น หิวเร็วขึ้น หรืออาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ และหน้ามืดได้ นอกจากนี้ ความหิวอาจเป็นอาการของโรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ได้ด้วย ถ้าหากมีอาการหิวโดยมีสาเหตุจากโรคเหล่านี้ แนะนำให้มาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

  • ความหิวที่เกิดจากปัจจัยทางอารมณ์

ความเครียดมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนควบคุมความอิ่ม (Leptin) และฮอร์โมนควบคุมความหิว (Ghrelin) ซึ่งร่างกายแต่ละคนจะมีการหลั่งฮอร์โมนไม่เท่ากัน

\'หิวบ่อย หิวเร็ว\' อาการผิดปกติหรือเปล่า?

  • ความหิวจาก PMS อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน

PMS (Premenstrual Syndrome) คืออาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ

ก่อนวันนั้นของการมีประจำเดือนมักมีอาการแสดงให้รู้ตัว โดยสามารถแบ่งได้เป็นอาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม และอาการทางด้านร่างกาย ดังนี้

อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่ มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่าย มีความตึงเครียดและไม่มีสมาธิ มีอารมณ์เศร้า ร้องไห้กับเรื่องเล็ก ๆ วิตกกังวล มีความต้องการหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal) มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia)

อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ เจ็บเต้านม ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสีย น้ำหนักตัวเพิ่ม เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีสิวขึ้น

PMS รับมือหรือบรรเทาได้อย่างไร?

ในช่วงก่อนมีประจำเดือนเราสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งยาใดๆ  เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด พยายามอย่าเครียด นอนหลับให้เพียงพอ งดการดื่มเหล้า กาแฟ และชา เป็นต้น

  • ความหิวเพราะโรคกินไม่หยุด

โรคกินไม่หยุด Binge Eating Disorder (BED) คืออาการรับประทานอาหารปริมาณมากผิดปกติโดยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ผู้ที่มีอาการโรคกินไม่หยุดนี้ มักมีการรับประทานอาหารปริมาณมากกว่าปกติแม้ไม่รู้สึกหิว และไม่สามารถควบคุมการรับประทานของตนเองได้

สาเหตุของโรคกินไม่หยุด ใครบ้างที่เข้าข่าย

สาเหตุของอาการโรคกินไม่หยุด ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ เช่น

  • โรคอ้วน โดยพบว่าผู้ที่มีอาการโรคกินไม่หยุด มักมีโรคอ้วนเป็นโรคประจำตัว
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ขาดความมั่นใจในรูปร่าง และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเองต่ำ
  • เสพติดการลดน้ำหนัก เครียดกับการลดน้ำหนัก หรือเคยล้มเหลวในการลดน้ำหนัก
  • เคยผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีความเกี่ยวข้องกับโรคการกินผิดปกติ
  • มีภาวะทางจิต อาทิ โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคไบโพลาร์ โรคกลัว (Phobias) และภาวะป่วยทางจิตหลังเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder: PTSD)

อาการของโรคกินไม่หยุด

สังเกตผู้มีอาการเสี่ยง “โรคกินไม่หยุด (BED)” มักมีพฤติกรรมเหล่านี้

  • รับประทานอาหารมากกว่าปกติ แม้ไม่หิว
  • หยุดรับประทานไม่ได้แม้จะอิ่มแล้วก็ตาม
  • รับประทานอาหารปริมาณมากๆ อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน
  • อาจมีอาการข้างต่นตั้งแต่ 1-3 ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ป่วยมักรู้สึกผิด เศร้า โกรธ ละอายใจ รังเกียจ หรือโทษตนเองที่รับประทานมากเกินไป

\'หิวบ่อย หิวเร็ว\' อาการผิดปกติหรือเปล่า?

กินไม่หยุดกับปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่อาจตามมา

หากคุณมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ หรือโรคกินไม่หยุด อาจส่งผลให้คุณเป็นมีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

  • โรคความดันโลหิตสูง 
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน 
  • เบาหวานชนิดที่ 2 
  • ภาวะทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล 
  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อไทรอยด์
  • อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ไม่ตก จึงทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นด้วย

การรักษาโรคกินไม่หยุด

สำหรับการักษาโรคกินไม่หยุด แพทย์อาจเลือกวิธีการรักษาที่สอดคล้องกับอาการและสาเหตุของโรคมากที่สุด คือ การใช้ยา หรือ การเข้ารับจิตบำบัด หากท่านพบว่าตนเองหรือคนในครอบครัวมีอาการเสี่ยง หรือเข้าข่ายอาการของโรคกินไม่หยุด (BED) สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

logoline