svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

อัปเดต 5 เรื่องจริงของค่าฝุ่น PM2.5 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 4 ล้านราย

11 ธันวาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดเรื่องจริงยิ่งน่ากลัวของปัญหาฝุ่น PM2.5 คนกรุงอ่วมแค่ไหน รัฐบาลปรับเกณฑ์ค่าฝุ่นใหม่อย่างไร และปัญหานี้เป็นปัจจัยที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 4 ล้านรายจริงหรือ อยากรู้ต้องอ่าน!!

เรื่องที่ 1

เชื่อหรือไม่! ค่าฝุ่น PM2.5 ที่คนกรุงเทพฯ สูดเข้าไปตลอดปี 2022 เทียบกับจำนวนควันบุหรี่ที่เข้าปอดมากถึง 1,224 มวน

ค่าฝุ่นข้างต้นอ้างอิงจากเว็บไซต์ The World Air Quality Index Project ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และได้นำมาเปรียบเทียบกับปริมาณการสูบบุหรี่ตามทฤษฎีของ Dr. Richard A. Muller นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ซึ่งคำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือ PM 2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่าค่าฝุ่น (PM 2.5) 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน

นอกจากนี้ ยังมีการเปรียบเทียบถึงปี 2021 ว่า "คนเชียงใหม่" สูด PM2.5 เท่ากับการสูบบุหรี่มากถึง 1,379 มวน

เรื่องที่ 2

รัฐบาลปรับเกณฑ์ค่าฝุ่น PM2.5 ใหม่ใกล้เคียงมาตรฐาน WHO

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยกิจกรรมในชีวิตประจำวันของประชาชน ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ปีนี้สถานการณ์เอลนีโญทวีความรุนแรงส่งผลให้อากาศร้อน-แล้งมากขึ้น จึงเสี่ยงเกิดไฟป่ามากกว่าปีที่ผ่านมา และท้ายที่สุดก็วนกลับมาสร้างปัญหาหมอกควันข้ามแดนตามวงรอบเดิม ซึ่งทำให้คณะกรรมการสิ่งแวตล้อมแห่งชาติ ได้ปรับเกณฑ์ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ใหม่ให้เข้มขันขึ้น โดยระบุ “ไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร” เพื่อสุขภาพของคนไทย และใกล้เคียงกับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงเห็นว่าพื้นที่คุณภาพอากาศสีส้มและสีแดงเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรับเกณฑ์เข้มข้นขึ้นนั่นเอง

อัปเดต 5 เรื่องจริงของค่าฝุ่น PM2.5 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 4 ล้านราย

โดยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองอย่างจริงจัง พร้อมถอดบทเรียนการแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในแต่ละปี เพื่อทบทวนและปรับแนวทางรับมือในปีถัดไปอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่สำหรับทุกคน โดยที่ประชุมคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน มีมติเห็นชอบ 6 มาตรการเร่งด่วนแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 และ 3 แนวทางสนับสนุนการลดฝุ่น PM 2.5 จากการทำงานบูรณาการร่วมกันของหลายกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตเผาและการบริหารจัดการการเผา, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัตการนำระบบรับรองผลผลิตทางการเกษตรแบบไม่เผามาใช้กับการปลูกอ้อย ข้าว ข้าวโพตเลี้ยงสัตว์, กระทรวงอุตสาหกรรม มีมาตรการไม่รับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ด้านกระทรวงการคลัง ได้พิจารณาสิทธิประโยชน์ของภาลเอกชน เพื่อสังคมและสิ่งแวตล้อม โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วม สามารถยกเว้นภาษีเงินได้, รายงานESG/SDGs และ Carbon Credit, กระทรางพาณิชย์ มีการพิจารณาเพิ่มเงื่อนไข เรื่องการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า และกระทรางพลังงาน ได้กำหนดการผสิต-จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพสิงให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5

ท้ายที่สุด รัฐบาลจะผลักดันให้พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ....เป็นร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ผ่านที่ประชุมสภาฯ ให้สำเร็จ เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุม ทั้งเชิงป้องกัน แก้ไข และแนวทางจัดการหมอกควันข้ามแดนอย่างเป็นรูปธรรม โดยขณะนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบส่งสภาฯ พิจารณาต่อแล้ว

อัปเดต 5 เรื่องจริงของค่าฝุ่น PM2.5 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 4 ล้านราย

เรื่องที่ 3

ฝุ่น PM2.5 ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคอันตรายคร่าชีวิตทั่วโลกกว่า 4 ล้านคน

รายงานของเว็บไซต์ State of Global Air ระบุว่าการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังอันตรายหลายโรค รวมทั้งโรคหัวใจ และมะเร็งปอด เป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกในปี 2562 มากกว่า 4 ล้านราย เพิ่มขึ้นมากกว่าสิบปีที่แล้วถึงประมาณ ร้อยละ 23

นอกจากนี้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง 69 อย่างที่ถูกพิจารณาว่ามีศักยภาพทำให้เกิดโรคเรื้อรังอันตรายของคนทั่วโลกนั้น ฝุ่น PM 2.5 นับเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงลำดับที่ 6 ตามหลัง ความดันเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และปัจจัยอื่นๆ แต่เมื่อเทียบกับปัจจัยเสี่ยงจากสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงสุดที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ

ขณะนี้ ทวีปเอเชีย และแอฟริกา กลายเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเสียชีวิตจากปัจจัยเสี่ยง สัมผัสฝุ่น PM 2.5 สูงสุดในโลก โดยจีนและอินเดีย เป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการสูดดมฝุ่น PM 2.5 มาระยะยาว มากที่สุดในปี 2562 โดยที่จีนมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ล้าน 4 แสน 2 หมื่นราย และอินเดีย 980,000 ราย

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานาน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังอันตรายกำลังสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในทวึปเอเชีย หลังจากช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และภูมิภาคโอเชียเนีย มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากปัจจัยเสี่ยงสูดดมฝุ่น PM 2.5 ได้สูงขึ้น

อัปเดต 5 เรื่องจริงของค่าฝุ่น PM2.5 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 4 ล้านราย

เรื่องที่ 4

ชี้ 5 อันดับอาการป่วยจากสัมผัสฝุ่น PM2.5

จากข้อมูลเฝ้าระวังการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 เชิงรุกผ่านทางเว็บไซต์ 4Health ในต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝุ่น ครึ่งปีแรกของปี 2566 พบว่า ร้อยละ 77 ประชาชนมีอาการที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัส PM2.5 โดยอาการที่พบมากสุด ดังนี้ 

อันดับ 1.ระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 35 

อันดับ 2.ระบบตา ร้อยละ 32  

อันดับ 3.ระบบหู คอ จมูก ร้อยละ 19 

อันดับ 4.ระบบผิวหนัง ร้อยละ 9 

อันดับ 5.ระบบหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 5 

การจับสัญญาณเตือนผลกระทบฝุ่น PM 2.5 ทั้งไอเรื้อรัง ระคายเคืองตา คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ย้ำฝุ่นขนาดเล็กมากเข้าเส้นเลือดกระจายไปส่วนต่างๆ ร่างกายได้ ส่งผลกระทบหลายระบบ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ทั้งนี้ PM 2.5 ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังด้วยฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กมาก ทำให้ฝุ่นสามารถเข้าสู่ร่างกายจากหลอดลมไปหลอดเลือด และกระจายไปส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย เมื่อได้รับเป็นระยะเวลานานจนเกิดการสะสมทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

โดยกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้หลายระบบ สำหรับระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพองเกิดอาการกำเริบของโรค เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหอบหืดในคนปกติ รวมทั้งหอบหืดในเด็ก และในระยะยาวจะทำให้สมรรถภาพปอดลดลง จนเกิดเป็นโรคถุงลมโป่งพองในผู้ไม่สูบบุหรี่

นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งปอดอีกด้วย ระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ในหญิงตั้งครรภ์หากสูดดมฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์อีกด้วย สัญญานที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 คือ มักมีอาการไอเรื้อรัง ระคายเคืองตา คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ผิวหนังเป็นตุ่มหรือผื่นนูนแดง ดังนั้นเราควรป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศ หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติของร่างกายให้รีบมาพบแพทย์ทันที

อัปเดต 5 เรื่องจริงของค่าฝุ่น PM2.5 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 4 ล้านราย

เรื่องที่ 5

คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในปี 2567 จะมีความรุนแรงมากขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตือนค่าฝุ่น PM 2.5 กลับมาสูงขึ้น พบเกินค่ามาตรฐานในระดับสีส้ม หรือเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพหลายจังหวัด สถานการณ์อาจยาวไปถึงปลายเมษายน 2567 ย้ำประชาชนตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน เนื่องจากสถานการณ์เอลนีโญที่มีกำลังแรงตั้งแต่ปลายฤดูฝนปี 2566 ถึงฤดูร้อนปี 2567 ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงกว่าค่าปกติ อากาศร้อนและแล้งมากขึ้น ปริมาณฝนรวมของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าค่าปกติ ร้อยละ 10 ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์ไฟป่าในปี 2567 มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในประเทศและหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเริ่มพบสถานการณ์ตั้งแต่ปลายปี 2566 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบางพื้นที่ จากนั้นช่วงมกราคม-ปลายเมษายน 2567 พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือจะมีแนวโน้มสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเผา ไฟไหม้ป่า และหมอกควันข้ามแดน ซึ่งเมื่อต้นปี 2566 พบค่า PM 2.5 สูงสุดถึง 537 มคก./ลบ.ม. ที่ จ.เชียงราย สูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 14 เท่า 

  • คุณภาพอากาศ 51-100 ระดับสีเหลือง (ปานกลาง ทำกิจกรรมกลางแจ้งได้)
  • คุณภาพอากาศ 101-200 ระดับสีส้ม (เริ่มมีผลต่อสุขภาพ ลดการทำกิจกรรมนอกบ้าน และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน)
  • คุณภาพอากาศ 200 ขึ้นไป ระดับสีแดง (มีผลกระทบต่อสุขภาพ เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน)

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ได้ที่ Air4Thai หรือ App Life Dee และปฏิบัติตนตามระดับสีค่าฝุ่นสูง ประชาชนทั่วไป ลดหรือจำกัดการทำกิจกรรมนอกบ้าน

กลุ่มเสี่ยง ควรลดเวลาการทำกิจกรรมนอกบ้าน ถ้าออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น และหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

ผู้มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม

นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นประจำ สถานที่ที่มีกลุ่มเสี่ยง เช่น สถานศึกษา สถานดูแลผู้สูงอายุ ควรมีมาตรการในการดูแลสุขภาพ เช่น แจ้งเตือน ลดหรืองดกิจกรรมกลางแจ้ง เฝ้าระวังสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ จัดทำห้องปลอดฝุ่นในเป็นที่พักในช่วงค่าฝุ่นสูง ที่สำคัญ สถานศึกษาควรให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อให้สามารถป้องกันตนเองและบอกต่อในครอบครัวและชุมชนได้ 

 

logoline