svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66

17 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มีรายงานระบุว่า เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ถือเป็นเดือนที่ร้อนสุดในรอบ 174 ปี และสถานการณ์ล่าสุด "เอลนีโญเร่งเครื่อง" มาแล้ว โดยกำลังเอลนีโญอยู่ระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ช่วง ส.ค. 2566-มี.ค. 2567 บางส่วนของภาคกลางและอีสานตอนล่าง ระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 2566

รายงานความเคลื่อนไหวล่าสุด รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Witsanu Attavanich เกี่ยวกับสถานการณ์เอลนีโญ มีรายละเอียดระบุไว้ดังนี้

คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66

คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66

อัปเดตน้ำท่วมน้ำแล้ง เอลนีโญเร่งเครื่อง!

พฤษภาคม 2566 ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 3 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมด้วยกันในรอบ 174 ปี! กำลังเอลนีโญจะอยู่ในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ช่วง ส.ค. 66–มี.ค. 67 และจะลดกำลังลง โดยภาคใต้ ตะวันออก และบางส่วนของภาคกลางและอีสานตอนล่าง ต้องระวังน้ำท่วมช่วง ก.ค.-ก.ย.66 ขณะที่ฝนจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติในภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนบนตั้งแต่ ต.ค. 66 เป็นต้นไป

คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66

ทางด้าน องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) เผยรายงานว่า เดือนพฤษภาคม 2566 เป็นเดือนที่โลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 3 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมด้วยกันในรอบ 174 ปี! โดยอุณหภูมิพื้นผิวโลกภาพรวมในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 0.97°C สูงกว่าค่าเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20 ที่ 14.8°C (ภาพที่ 2) และอุณหภูมิผิวน้ำทะเล (Ocean) ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมด้วยกันในรอบ 174 ปี! ส่วนอุณหภูมิพื้นดิน (Land) ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 8 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมด้วยกันในรอบ 174 ปี!

คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66
สำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย รวบรวมข้อมูลและพบว่า ค่าเฉลี่ยจาก 7 แบบจำลองทั่วโลกบ่งชี้ว่ากำลังเอลนีโญจะเพิ่มแบบเร่งตัว โดยความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเล (SST Anomaly) จะเพิ่มขึ้นเป็น +1.4°C ใน ก.ค. 66 สู่ +1.9°C ใน ก.ย. 66 และ +2.1°C ใน พ.ย. 66 (3 ภาพด้านซ้ายของภาพที่ 3)



โดยแบบจำลองจาก ศูนย์พยากรณ์อากาศระยะปานกลางแห่งยุโรป (ECMWF) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิผิวน้ำทะเลจะสูงทำให้เอลนีโญอยู่ในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก (>1.5°C) ช่วง ส.ค.–มี.ค. 67 และจะลดลงไปสู่ระดับอ่อนถึงปานกลางใน พ.ค. 67 (ภาพที่ 3 ขวาสุด) หวังว่าจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปี 67 ไม่อย่างงั้นเอลนีโญอาจจะยืดเยื้อไปถึงปี 68 คงต้องรอติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ทาง International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้พยากรณ์ว่าช่วง ก.ค.-ต.ค. 66 ฝนจะตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติในภาคใต้ ตะวันออก และบางส่วนของภาคกลางและอีสานตอนล่าง (แถบสีเขียว) ซึ่งยังต้องระวังน้ำท่วม ขณะที่พื้นที่อื่นๆ ฝนมีแนวโน้มเท่ากับค่าเฉลี่ยปกติ (พื้นที่สีขาว) และช่วง พ.ย. 66 เป็นต้นไป ฝนจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติในภาคเหนือ (เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก) และภาคใต้ (ประจวบฯ ตอนล่าง ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และพังงา) (แถบสีเหลือง) (ภาพที่ 4) และอากาศร้อนกว่าปกติทั่วประเทศจากนี้ถึงอย่างน้อย ธ.ค. 66 และคาดว่าปีหน้า (2567) จะร้อนกว่าปีนี้

"เตรียมรับมือกับเอลนีโญระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากด้วยความไม่ประมาท อากาศร้อนกว่าปกติต้องระวังโรคฮีตสโตรก หรือโรคลมแดดกันด้วยนะครับ เกษตรกรต้องระวังผลผลิตเสียหายให้มากทั้งจากฝนที่อาจจะมากกว่าปกติในบางพื้นที่ช่วง ก.ค.-ก.ย. และฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ ต.ค. 67 เป็นต้นไป รักษาสุขภาพกันนะครับ"

คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66

ขอขอบคุณที่มา : FB Witsanu Attavanich 

ชมคลิป >> สถานการณ์เอลนีโญ 

คาด เอลนีโญระดับรุนแรง ช่วง ส.ค. 66-มี.ค. 67 เตือนระวังน้ำท่วม ก.ค.-ก.ย. 66

logoline