svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

"ฮามาส" ขบวนการก่อการร้ายระคายใจอิสราเอล

08 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เหตุการณ์ที่กลุ่มฮามาสเข้าโจมตีอิสราเอล ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก นอกจากจะกลายเป็นสงครามนองเลือดที่สุดในรอบ 50 ปีแล้ว ชื่อของ "ฮามาส" (Hamas) ได้กลับมาสู่ความสนใจของโลกอีกครั้ง

นับตั้งแต่เกิดสงครามยมคิปปูร์ เมื่อแนวร่วมอาหรับที่มีอิยิปต์กับซีเรียเป็นแกนนำ เปิดฉากจู่โจมที่ตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลในดินแดนที่อิสราเอลยึดครอง ในวันยมคิปปูร์ (Yom Kippur) ระหว่างวันที่ 6 -25 ตุลาคม ปี 2516 ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนายูดายของชาวยิว ทั้งยังตรงกับวันรอมฎอนของชาวมุสลิมด้วยนั้น เหตุการณ์ที่กลุ่มฮามาสเข้าโจมตีอิสราเอลรอบทิศทางในหลายเมือง ทั้งทางบก ทางทะเลและทางอากาศ เมื่อวันเสาร์ (7 ตุลาคม 2566) และอิสราเอลได้โจมตีโต้แบบทันควันด้วยศักยภาพที่มี ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่าย ตัวเลขผู้บาดเจ็บล้มตายมีเป็นจำนวนมาก นอกจากจะกลายเป็นสงครามนองเลือดที่สุดในรอบ 50 ปีแล้ว ชื่อของ "ฮามาส" (Hamas) ได้กลับมาสู่ความสนใจของโลกอีกครั้ง...

ปฏิบัติการครั้งนี้ของ "ฮามาส" ถือว่าอุกอาจและเซอร์ไพรส์ ด้วยการส่งนักรบบุกเข้าไปในชุมชนชาวยิว ใกล้กับฉนวนกาซา ฆ่าพลเมืองไม่เลือกหน้าและจับตัวประกันตอนที่ข้ามกลับไป เหตุใดกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้จึงกล้าเหิมเกริมขนาดนี้ ต้องย้อนกลับไปดูที่ "บุคคล" และ "สถานที่" ที่เกี่ยวข้อง...

\"ฮามาส\" ขบวนการก่อการร้ายระคายใจอิสราเอล

ฮามาสคืออะไร?

"ฮามาส" มีความหมายว่า "ขบวนการอิสลามเพื่อการต่อต้าน" Islamic Resistance Movement) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ ที่ถือกำเนิดจากการต่อต้านอิสราเอลในปี 2530 เป็นกลุ่มเคร่งศาสนานิกายสุหนี่ สืบทอดอุดมการณ์จากขบวนการภราดรภาพมุสลิมของอียิปต์ และได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านที่นับถือนิกายชีอะห์ ขบวนการฮามาสเปิดที่ทำการในอิหร่านเมื่อปี 2536 

ผู้ก่อตั้งฮามาสคือ ชีค อาหมัด อิสมาอิล ฮะซัน ยาซีน ผู้นำทางศาสนา ในการลุกฮือขึ้นต่อต้านอิสราเอลครั้งแรก มีจุดประสงค์หลักเพื่อยุติการยึดครองทางทหารของอิสราเอล ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (เวสต์แบงก์) และกาซา แต่ความต้องการที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า คือสร้างรัฐปาเลสไตน์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งบนแผ่นดินเดิม ก่อนที่จะเป็นรัฐอิสราเอลในปี 2491 ฮามาสสามารถสร้างความนิยมในหมู่ชาวปาเลสไตน์ที่ยากจน ด้วยการจัดหาความจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลและศูนย์ทางศาสนา และที่แตกต่างจากกระบวนการทางการเมืองปาเลสไตน์อื่น ๆ 

\"ฮามาส\" ขบวนการก่อการร้ายระคายใจอิสราเอล

ฮามาสไม่ยอมเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ( Palestine Liberation Organization) หรือ PLO และต่อต้านการเซ็นสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล แม้จะเคยทำสัญญาสงบศึกกันหลายครั้ง ส่วนเงินทุนในปฏิบัติการของฮามาส เชื่อว่ามาจากการบริจาคของชาวปาเลสไตน์ทั้งใน-ต่างประเทศ และจากประเทศอาหรับอื่น ๆ โดยเฉพาะ "อิหร่าน" ที่สนับสนุนทั้งการเงินและการฝึกและจัดหาอาวุธให้ 

ในสายตาของประะเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ อังกฤษและสหภาพยุโรป ต่างขึ้นบัญชีดำฮามาสเป็น "กลุ่มก่อการร้าย" จากการที่มีหน่วยรบเป็นของตัวเองที่มี่ชื่อว่า "กองพันอิซซุดดิน อัลกอสซัม"  (Izz ad-Din al-Qassam Brigades) ที่มีสมาชิกหลายพันคน และผ่านการทำศึกกับอิสราเอลหลายครั้ง ทั้งยังร่วมกับกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ของปาเลสไตน์ ยิงจรวดโจมตีอิสราเอลหลายต่อหลายครั้ง

\"ฮามาส\" ขบวนการก่อการร้ายระคายใจอิสราเอล

ฉนวนกาซาสำคัญอย่างไรในความขัดแย้ง

ฉนวนกาซามีอาณาเขตทอดยาว 41 กิโลเมตร กว้าง 10 กิโลเมตร อยู่ระหว่างอิสราเอล อิยิปต์และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีประชากรประมาณ 2.3 ล้านคน ซึ่งโดยสภาพภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สภาพชีวิตของผู้คนที่ฉนวนกาซาคือ อิสราเอลควบคุมน่านฟ้าเหนือฉนวนกาซาและแนวชายฝั่ง และคอยกำกับดูแลว่าใครและสินค้าใดบ้าง ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าและออกผ่านการข้ามพรมแดน ส่วนอียิปต์คอยควบคุมผู้ที่ผ่านเข้าออกตามพรมแดนติดกับฉนวนกาซา ตามข้อมูลของสหประชาชาติระบุว่า ประชากรราว  80% ในกาซา ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากนานาชาติ และประชากรราว 1 ล้านคน ต่องพึ่งพาอาหารบรรเทาทุกข์รายวัน 

\"ฮามาส\" ขบวนการก่อการร้ายระคายใจอิสราเอล

ปาเลสไตน์คืออะไร และเหตุการณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องอะไรกับปาเลสไตน์?

ทุกครั้งที่เกิดความขัดแย้งจะมีการพูดถึงเวสต์ แบงค์ กับกาซา ที่รู้จักกันในฐานะดินแดนปาเลสไตน์ ตลอดจนเยรูซาเลมตะวันออกและอิสราเอล ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่าปาเลสไตน์มาตั้งแต่สมัยโรมัน แต่ทั้งหมดนี้ถูกระบุว่าเป็นดินแดนของอาณาจักรชาวยิวในพระคัมภีร์ (Bible) และชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดของพวกเขาในสมัยโบราณ

พรมแดนอิสราเอลที่อธิบายไว้ในแผนที่

อิสราเอลได้รับการประกาศให้เป็นรัฐเมื่อปี 2491 แม้ว่าดินแดนตรงนั้นยังคงถูกเรียกว่า "ปาเลสไตน์" โดยผู้ที่ไม่ยอมรับสิทธิในการดำรงอยู่ของอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ยังใช้ชื่อปาเลสไตน์เป็น "คำที่ใช้ครอบคลุมในวงกว้าง" (umbrella term) เวลาพูดถึงเวสต์แบงก์ กาซา และเยรูซาเลมตะวันออก

\"ฮามาส\" ขบวนการก่อการร้ายระคายใจอิสราเอล

logoline