svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

อินเดียมีผู้เสียชีวิต 7 ราย ขณะพายุไซโคลนใกล้ขึ้นฝั่ง

14 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อินเดียและปากีสถานอพยพประชาชนหลายหมื่นคน ก่อนที่พายุไซโคลนรุนแรงลูกแรกของปีนี้จะพัดขึ้นฝั่งในวันพฤหัสบดี และในอินเดียมีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 ราย

อินเดียมีผู้เสียชีวิต 7 ราย ขณะพายุไซโคลนใกล้ขึ้นฝั่ง ทางการรัฐคุชราตของอินเดีย เปิดเผยว่า ประชาชนเกือบ 38,000 คนได้รับการอพยพออกจากบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งเพื่อความปลอดภัย การขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกันทลา และท่าเรือมุนดรา ต้องระงับชั่วคราว คนงาน 50 คนได้รับการอพยพออกจากแท่นขุดเจาะนอกชายฝั่ง รวมทั้งรถไฟหลายขบวนต้องหยุดวิ่ง ประชาชนได้รับคำเตือนให้หลีกเลี่ยงเข้าใกล้ชายหาด และชาวประมงได้รับคำแนะนำให้งดนำเรือออกจากฝั่ง นอกจากนี้โรงเรียนต้องงดการเรียนการสอน

ทางการรัฐคุชราต คาดว่า พื้นที่ใน 8 เขตทั่วรัฐจะได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน “บีปอร์จอย” ที่คาดว่า จะพัดขึ้นฝั่งในบริเวณระหว่างเมืองมันทวี รัฐคุชราต และนครการาจีในแคว้นสินธ์ของปากีสถานในวันพฤหัสบดี (15 มิถุนายน 2566) ด้วยความเร็วลมต่อเนื่องสูงสุดที่ 125-135 กม./ชม. และความเร็วลมกระโชกที่ 150 กม./ชม.  อินเดียมีผู้เสียชีวิต 7 ราย ขณะพายุไซโคลนใกล้ขึ้นฝั่ง

อินเดียมีผู้เสียชีวิต 7 ราย ขณะพายุไซโคลนใกล้ขึ้นฝั่ง พายุ “บีปอร์จอย” มีความรุนแรงเทียบเท่ากับพายุเฮอร์ริเคนระดับ 2 หลังมีความเร็วลมสูงถึง 168 กม./ชม. ในทะเลอาหรับเมื่อวันอังคาร

ขณะนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 รายในอินเดีย สืบเนื่องจากฝนตกหนัก และกระแสลมแรงจากอิทธิพลของพายุ “บีปอร์จอย” โดยเด็กชาย 4 รายจมน้ำเสียชีวิตนอกชายฝั่งเมืองมุมไบ

อินเดียมีผู้เสียชีวิต 7 ราย ขณะพายุไซโคลนใกล้ขึ้นฝั่ง ส่วนในปากีสถาน หน่วยงานบรรเทาภัยพิบัติแห่งขาติเตรียมอพยพประชาชนราว 80,000 คนในแคว้นสินธ์ภายในเช้าวันพุธ หลังจากพยากรณ์อากาศ คาดว่า พายุจะทำให้เกิดฝนตกหนักและลมแรงในเมืองการาจี, ไฮเดอราบัด, ทันโด อัลลายาร์, ชาฮีด เบนาซีราบัด และสังหะ และเรือประมงได้รับคำเตือนให้งดออกจากฝั่ง

พายุบีปอร์จอยจะเป็นพายุไซโคลนลูกใหญ่ลูกแรกที่พัดขึ้นฝั่งปากีสถาน นับจากภัยพิบัติน้ำท่วม ที่คร่าชีวิตประชาชนกว่า 1,700 รายในปีที่แล้ว และผู้เชี่ยวชาญ เตือนว่า พายุลูกล่าสุดจะส่งผลกระทบในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น และอาจทำให้ประชากรเกือบหนึ่งในสามจาก 247 ล้านคน ประสบกับน้ำท่วมครั้งใหม่ รวมถึงพื้นที่ที่ยังคงไม่ฟื้นตัวจากอุทกภัยในปีที่แล้ว 

logoline